Page 79 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 79

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         68


                            2) ผลของกรดฮิวมิกหรือกรดฟุลวิกต่อการเจริญเติบโตของพืช มีดังนี้ฮิวมิกความเข้มข้น 5–25

                  มิลลิกรัมต่อลิตร  ช่วยเร่งการยึดตัวของเซลล์ราก  ส่วนกรดฮิวมิกและกรดฟลุวิกความเข้มข้น 50– 100
                  มิลลิกรัมต่อลิตร  ช่วยกระตุ้นการแตกรากใหม่และการยึดตัวของราก (Brady  and  Well,  2002)  และการ

                  ตอบสนองของพืชต่อการใช้กรดฮิวมิกแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม  ดังตารางที่ 4.12

                  ตารางที่ 4.12 การตอบสนองของพืช 4 กลุ่ม ต่อการใช้กรดฮิวมิก

                        กลุ่ม                          ชื่อพืช                  ระดับการตอบสนอง


                  1. พืชคาร์โบไฮเดรตสูงมันฝรั่ง  ชูการ์บีด แครอด มะเขือเทศ         สูง
                  2. ธัญพืชข้าว               ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์        ปานกลาง

                  3. พืชโปรตีนสูง             ถั่วต่างๆ                            น้อย
                  4. พืชน้่ามัน               ละหุ่ง ทานตะวันในทางลบหรือไม่ตอบสนอง


                  ที่มา: Tan (2003)


                  6. การเก็บรักษา

                        การเก็บรักษาปุ๋ยคอกมีความส่าคัญมาก  หากเก็บรักษาไม่ดีจะท่าให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารได้ง่าย
                  ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์และการชะล้าง  โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน  ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม  การ

                  สูญเสียโดยจุลินทรีย์จะเกิดได้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับจุลินทรีย์ ได้แก่ อุณหภูมิ สภาพกรดด่างและ
                  ความชื้นเหมาะสม  จุลินทรีย์จะแปรสภาพไนโตรเจนจากอินทรียวัตถุจะเปลี่ยนเป็นแอมโมเนีย  ซึ่งจะระเหย

                  เป็นแก๊สหรือละลายน้่าสูญเสียไป  การเก็บปุ๋ยคอกในที่โล่งแจ้งไนโตรเจนในรูปไนเทรตจะถูกน้่าฝนชะล้าง

                  ออกไป  ในกรณีที่แอมโมเนียซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการ ammonification  ของสารอินทรีย์ถูกดูดซับอยู่ใน
                  กองมูลสัตว์  ซึ่งมีการถ่ายเทอากาศดีแอมโมเนียมก็จะถูกเปลี่ยนให้เป็นไนเทรต  ซึ่งเป็นแอนไอออนและมี

                  โอกาสถูกฝนชะออกไปจากกองปุ๋ย  นอกจากนี้ในบางขณะกองปุ๋ยมีความชื้นสูงเกินไปและบางส่วนของกอง
                  ขาดออกซิเจน  ไนเทรตจะถูกรีดิวซ์ให้กลายเป็นแก๊สไนโตรเจนออกไซด์หรือแก๊สไนโตรเจนแล้วระเหยไปด้วย

                        เพราะฉะนั้นการเก็บรักษาปุ๋ยคอกมีความส่าคัญมาก  หากเก็บรักษาไม่ดีจะท่าให้เกิดการสูญเสียธาตุ

                  อาหารได้ง่าย  ดังนั้น การเก็บรักษาควรใช้เศษหญ้า ฟางข้าว แกลบหรือขี้เลื่อยผสมในอัตราส่วนดังนี้ คือ ฟาง
                  ข้าว 1 ส่วนต่อปุ๋ยคอก 1 ส่วน  และเนื่องจากไนโตรเจนสูญเสียไปในรูปแอมโมเนียได้ง่าย  จึงจ่าเป็นต้องลด

                  อัตราการสูญเสียไนโตรเจน  โดยท่าให้แห้งโดยเร็วและเติมปุ๋ยฟอสเฟตลงไปประมาณ 5 – 10 กิโลกรัมต่อปุ๋ย
                  คอก 1 ตัน  เพราะปุ๋ยฟอสเฟตที่เพิ่มลงไป  นอกจากจะช่วยยกระดับฟอสฟอรัสในปุ๋ยแล้ว  ยังช่วยรักษา

                  ไนโตรเจนในปุ๋ยคอกไม่ให้สูญเสียไปอีกด้วย  การเก็บรักษาโดยทั่วไปมีหลักการอย่างคร่าวๆ ดังต่อไปนี้

                        6.1. เก็บในที่ร่ม  ถ้าจ่าเป็นที่จะต้องเก็บรักษาปุ๋ยคอกโดยวิธีการกองทิ้งไว้  ก็จ่าเป็นที่จะต้องท่าหลังคา
                  ให้  เพื่อป้องกันการชะล้างเอาธาตุอาหารออกไป  อย่างไรก็ตามการเก็บรักษาวิธีนี้  ก็ยังนับว่ามีการสูญเสียอยู่

                  มากพอสมควร  โดยเฉพาะการสูญเสียส่วนที่เป็นอินทรียวัตถุ  เพราะว่าเมื่อกองปุ๋ยทิ้งไว้น้่าจะระเหยออกไป
                  อากาศจะแทรกซึมเข้าไปในกองปุ๋ย  จุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศในการหายใจจะด่าเนินกิจกรรมได้ดีขึ้น  ทางที่

                  ดีไม่ควรเก็บปุ๋ยคอกด้วยวิธีนี้ไว้นานๆ
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84