Page 76 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 76

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         65


                  แล้ว ได้แก่ ความเสถียรของเม็ดดิน ความหนาแน่นของเม็ดดิน ความสามารถในการซับน้่าปริมาณน้่าที่เป็น

                  ประโยชน์  ซึ่งได้แสดงที่ตารางที่ 4.8  ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ  Snchez,  (1976) อ้างโดย กลุ่ม
                  อินทรียวัตถุและวัสดุเหลือใช้ (2545ก) พบว่า การใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 11.8 ตันต่อไร่ ในดิน Alluvialการใส่ปุ๋ย

                  คอกอัตรา 7.2 ตันต่อไร่ในดิน  Vertisol  และการใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 1.5 ตันต่อไร่ในดิน Redpozodic และ

                  Lateritic  มีผลท่าให้ความเสถียรของเม็ดดินมากขึ้นจาก 26,  22,  29  และ 22 เป็น 56, 33, 33 และ 24
                  เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ  และรายงานของ Jung  and  Yang  (2000) ได้ศึกษาผลการใช้ปุ๋ยคอกอัตรา 1,600

                  กิโลกรัมต่อไร่เป็นเวลา 5 ปี พบว่า การใช้ปุ๋ยคอกมีผลท่าให้การเกิดเม็ดดินมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี  โดยมีค่า
                  45.6 และ 33.6 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ  เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเมื่อใส่ปุ๋ยคอกตลอดจนปุ๋ยอินทรีย์อื่นๆ ลงไปใน

                  ดินการเปลี่ยนแปลงของปุ๋ยดังกล่าวจะเกิดสารเชื่อมชนิดชั่วคราวและถาวร  ดังนี้เกิดสารเชื่อมชั่วคราว ได้แก่
                  พอลิแซกคาไรด์ของจุลินทรีย์  ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากเติมปุ๋ยคอก  สารเชื่อมนี้จะถูกสร้างขึ้นเร็วและสลายตัวง่าย

                  เช่นเดียวกัน  และการใส่ปุ๋ยคอกช่วยให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ ในดิน เช่น รากพืช  รา  แบคทีเรียและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ

                  เจริญเติบโตได้ดี  ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีบทบาทในการประสานให้อนุภาคดินรวมกลุ่มกันโดยตรงและเกาะตัว
                  กลายเป็นเม็ดดิน  เมื่อจุลินทรีย์ตายลงเซลล์เหล่านั้นก็สลายตัวกลายเป็นสารเชื่อมเม็ดดินต่อไปอีกระยะหนึ่ง

                  นอกจากนี้อินทรียวัตถุในดินบางส่วนเป็นพวกแร่อินทรีย์  ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมตัวของฮิวมัสกับสารประกอบ

                  เหล็ก อะลูมิเนียม และแร่ดินเหนียวอะลูโนซิลิเกต  โดยสารประเภทนี้เชื่อมให้เกิดเม็ดดินที่คงทน
                  นอกจากนั้นเชื้อราไมคอร์ไรซายังสังเคราะห์โปรตีนชนิดหนึ่งชื่อโกลมาลินออกมาเชื่อมให้เม็ดดินมหัพภาคมี

                  เสถียรภาพระดับปานกลาง (ยงยุทธและคณะ, 2551)

                  ตารางที่ 4.8 อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยคอกระยะยาวต่อสมบัติทางกายภาพของดินในประเทศอินเดีย


                       ชนิดดิน    ปุ๋ยคอก   คาร์บอน  ความ    ความหนาแน่น  ช่องว่าง  การซึมซับน้ํา   น้ําที่เป็น
                                  (ตัน/ไร่)   (%)    เสถียร   รวมของดิน   ซึมน้ํา  (ลบ.ซม./ซม.)   ประโยชน์ต่อพืช
                                                    ของเม็ด  (ก./ลบ.ซม.)   (%)                  (0.1-15 บาร์)
                                                    ดิน (%)
                   Alluvial         0        0.2      26        1.47       46         0.43          28
                                   11.8      2.9      56        1.29       50         0.47          37
                   Vertisol         0        0.5      22        1.26       43         0.06          29
                                   7.2       0.6      33        1.18       56         0.10          31
                   Redpozodic       0        0.6      29        1.37       49         0.33          21
                                   1.5       0.7      33        1.30       51         0.05          23
                   Lateritic        0        0.3      22        1.53       42         1.68          13
                                   1.5       0.5      24        1.31       50         2.16          14

                  ที่มา: Snchez (1976) อ้างโดย กลุ่มอินทรียวัตถุและวัสดุเหลือใช้ (2545ก)

                            2) สมบัติทางฟิสิกส์ของดินด้านอื่นๆ  การใช้ปุ๋ยคอกและการใช้อย่างต่อเนื่อง  จะท่าให้ความ

                  หนาแน่นรวม และความเข้มแข็งลดลงแต่เพิ่มการเกิดเม็ดดิน ความพรุนและการถ่ายเทอากาศ ดังตารางที่ 4.8

                  ตารางที่ 4.9 และตารางที่ 4.10
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81