Page 78 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 78

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         67


                  อินทรียวัตถุที่ท่าให้โครงสร้างดินมีเสถียรภาพเพิ่มปริมาณช่องว่างรวมและขาดของช่อง  จึงเพิ่มการซึมน้่าและ

                  ความจุในการอุ้มน้่าของดิน (Brady and Weil, 2002)
                        5.4 ปรับปรุงสมบัติทางชีวภาพของดิน

                            เนื่องจากปุ๋ยคอกเป็นแหล่งพลังงานและสารอาหารของจุลินทรีย์  ดังนั้นการใส่ปุ๋ยคอกลงในดินจึง

                  มีผลต่อการเพิ่มชนิดและจ่านวนของจุลินทรีย์ดินรวมทั้งกิจกรรมของจุลินทรีย์ด้วย ตารางที่ 4.11  แสดงผล
                  ของการใส่ปุ๋ยคอกในดินต่อปริมาณคาร์บอนและไนโตรเจนในชีวมวล (biomass  C  and  biomass  N)  กับ

                  กิจกรรมของเอนไซม์ดีไฮโดรจีเนส (dehydrogenase,       DHA)         ฟอสฟอรัสโมโนเอสเทอเรส
                  (phosphomonoesterase, PME) และโปรเตส (protease)


                  ตารางที่ 4.11 ผลการใช้ปุ๋ยคอกต่อกิจกรรมของเอนไซม์และชีวมวลของจุลินทรีย์ดิน

                                                                               3)
                                                                2)
                                                   1)
                                                                                             4)
                                                                                                          5)
                      พืช          ปุ๋ย        DHA          PME         Protase     Biomass C   Biomass N
                                 ควบคุม         12.2         1.4          8.6           2.3         14.3
                   กะหล่่าปลี    ปุ๋ย NPK       8.0          1.3          7.8          191          12.9
                                 ปุ๋ยคอก        40.2         2.5          13.5         362          43.8

                                 ควบคุม         9.5          1.5          12.8         184           7.7
                   พริกหวาน      ปุ๋ย NPK       6.0          1.5          12.9         180           8.2

                                 ปุ๋ยคอก        26.0         2.2          17.5         268          20.1

                                          2)
                                                                                        4)
                                                                  3)
                                                                                            5)
                  หน่วยที่ใช้ 1) TPF/gsoil/24 h  micromol PNP/g soil/24h nmolleucine/g soil/24h และ mg/kg dry soil
                  ที่มา : Jung and Yang (2000)
                        5.5 ผลของสารฮิวมิกต่อกระบวนการทางสรีระและการเจริญเติบโตของพืช
                            การใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยอินทรีย์อื่นๆ อย่างต่อเนื่องท่าให้อินทรียวัตถุในดินสูงขึ้น  ซึ่งส่งผลให้สมบัติ

                  ทางฟิสิกส์ เคมีและชีวภาพของดินดีขึ้นดังที่ได้กล่าวแล้ว  ส่าหรับอินทรียวัตถุในดินมีสารที่เป็นองค์ประกอบ

                  ส่าคัญคือ สารฮิวมิก (humic substances) และในสารฮิวมิกยังแยกได้เป็นฮิวมิน(humin)  กรดฮิวมิก(humic
                  acid) และกรดฟุลวิก(fulvic acid)  สมบัติของกรดฮิวมิก คือ มีสีน้่าตาลเข้มถึงด่า น้่าหนักโมเลกุลสูงถึง 300

                  กิโลดาลตัน  ส่วนกรดฟุลวิกมีสีเหลืองถึงแดง น้่าหนักโมเลกุล 2–50 กิโลดาลตัน  สารเชิงซ้อนทั้งสองมี
                  บทบาทต่อกระบวนการทางสรีระและการเจริญเติบโตของพืชหลายประการ ดังนี้

                            1) ผลของกรดฮิวมิกต่อกระบวนการทางสรีระของพืช มีดังนี้ ท่าให้อัตราการหายใจของมะเขือเทศ
                  ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลีและข้าวโพดสูงขึ้น  เมื่อฉีดพ่นสารละลายกรดฮิวมิกอัตรา 300 มิลลิกรัมต่อลิตรที่ใบชู

                  การ์บีด  ท่าให้ช่วยเพิ่มปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบและอัตราการสังเคราะห์แสงชองชูการ์บีด  ช่วยเพิ่มการสะสม

                  น้่าตาลในเซลล์รากข้าวโพด  จึงเพิ่มความดันออสโมซีส (osmotic  pressure)  ของเซลล์ท่าให้พืชทนแล้ง
                  กว่าเดิม  ส่าหรับยาสูบที่ได้รับกรดฮิวมิกมีปริมาณของสารอัลคาลอยด์ในใบเพิ่มขึ้น และช่วยเพิ่มการซึมผ่าน

                  เยื่อหุ้มเซลล์ (membrane  permeability) ของราก  โดยมีบทบาทในการเพิ่มการสูบโปรตอน (proton

                  pump) ของเยื่อรากพืชจึงมีอัตราการดูดธาตุอาหารสูงขึ้น (Tan, 2003)
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83