Page 75 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 75

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         64


                        5.3 ปรับปรุงสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน

                            ปุ๋ยคอกมีผลต่อสมบัติทางฟิสิกส์ของดินอย่างเด่นชัด กล่าวคือ การใช้อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้เกิด
                  เม็ดดินมากขึ้น  เพิ่มเสถียรภาพของเม็ดดิน  ความเป็นประโยชน์ของน้่าในดิน และลดความหนาแน่นรวมของ

                  ดิน  ผลเหล่านี้ปรากฏชัดเจนในดินเนื้อหยาบ  ส่าหรับดินเนื้อละเอียดนั้นปุ๋ยอินทรีย์ช่วยให้การซาบซึมน้่าดีขึ้น

                  (ยงยุทธและคณะ, 2551) ดังนี้
                            1) การเกิดเม็ดดินและเสถียรภาพของเม็ดดินซึ่งมี 2 กระบวนการ ดังนี้

                               1.1) การเกิดเม็ดดิน (soil  aggregate  formation)  มีล่าดับชั้นของการเกิดดังนี้คือ เม็ดดิน
                  ขนาดโตกว่า 1 มม. เกิดจากการรวมมวล (aggregation) ของเม็ดดินขนาดเล็ก และเม็ดดินขนาดเล็กก็เกิดจาก

                  การรวมมวลของอนุภาคดินจ่านวนมาก  ซึ่งอินทรียวัตถุและจุลินทรีย์ดินมีบทบาทในการเกิดเม็ดดิน ดังนี้
                                   ก) ดินเหนียวและดินเหนียว – ฮิวมัสโคเมน (clay  and  clay  –  humus  domains)

                  ขนาดประมาณ 0.003 มิลลิเมตร  เกิดจากการจับตัวของอนุภาคดินเหนียวและอนุภาคดินเหนียวกับฮิวมัส

                  รวมตัวกันเป็นกลุ่ม  แล้วเชื่อมยึดเข้ากับสารอินทรีย์ชิ้นเล็กๆ และอนุภาคขนาดทรายแป้งมีออกไซด์ของเหล็ก
                  และอะลูมิเนียมเป็นสารเชื่อมอีกอย่างหนึ่ง

                                   ข) กลุ่มอนุภาคข้างต้นท่าการรวมตัวกันจึงมีขนาดใหญ่ขึ้นได้เป็นเม็ดดินจุลภาคย่อยขนาด

                  ประมาณ 0.03 มิลลิเมตร  ภายในประกอบด้วยทรายแป้งที่มีฮิวมัสห่อหุ้มและชั้นอินทรียสารที่มีดินเหนียว
                  พอกอยู่โดยรอบรวมทั้งมีออกไซด์ของเหล็กและอะลูมิเนียมช่วยเชื่อมยึดด้วย

                                   ค) เม็ดดินขนาดจุลภาคย่อยรวมตัวกันเป็นเม็ดดินจุลภาคขนาดประมาณ 0.3 มิลลิเมตร
                  มีทราย  กลุ่มอนุภาคทรายแป้งและชื้นส่วนเล็กๆ ของสารอินทรีย์รวมกัน  โดยมีการเชื่อมของสารเหนียวจาก

                  จุลินทรีย์ (microbialgum) และสารที่ขับออกมาจากรากพืช  ขณะเดียวกันขนรากพืชและใยรา  (fungal
                  hyphae) ก็พันรัดอยู่ทั่วไป

                                   ง) เม็ดดินจุลภาคต่างๆ เม็ดรวมเป็นกลุ่ม เรียกว่า เม็ดดินมหัพภาค (macroaggregate)

                  ขนาดประมาณ 3.0 มิลลิเมตร  มีใยราและรากขนาดเล็กแทรกอยู่ด้วย
                               1.2) เสถียรภาคของเม็ดดิน (soil aggregate stability) เกิดจากการเกาะกลุ่มและเชื่อมโยง

                  กันเข้าของอนุภาคทราย  ทรายแป้งและดินเหนียวเป็นเม็ดดิน  ต้องอาศัยสิ่งที่เชื่อมให้อนุภาคต่างๆ เกาะกัน
                  เป็นเม็ดดินที่มีเสถียรภาพ ได้แก่ แร่ดินเหนียวพวกอะลูมิโนซิลิเกต  ออกไซด์ของเหล็กและอะลูมิเนียม

                  แคลเซียมคาร์บอเนต  ดินเหนียว  ฮิวมัสโดเมน  อินทรียวัตถุและจุลินทรีย์ดิน  โดยความเสถียรของเม็ดดิน

                  มากขึ้นจาก 26, 22, 29 และ 22 เป็น 56, 33, 33 และ 24 เปอร์เซ็นต์  ส่าหรับดินที่มีโครงสร้างดีเหมาะแก่
                  การเจริญเติบโตของพืชย่อมต้องมีเม็ดดินขนาด 1 ถึง 10 มิลลิเมตร  ซึ่งมีเสถียรภาพในน้่า (water-stable

                  aggregates) คือ คงสภาพอยู่ได้แม้จะน่าไปร่อนด้วยตะแกรงในน้่า มีรูพรุนขนาดใหญ่ (> 75 ไมโครเมตร)
                  เพียงพอ  ส่าหรับการระบายอากาศและช่องว่างขนาดเล็ก (0.2-30 ไมโครเมตร) มากพอที่จะกักเก็บน้่าไว้ให้

                  พืชใช้สอย  ช่องว่างระหว่างเม็ดดินก็ควรจะระบายน้่าส่วนเกินออกไปได้สะดวก (Tisdall and Oades, 1982)

                  มีรายงานวิจัย พบว่า การใส่ปุ๋ยคอกเป็นประจ่าช่วยให้เกิดเม็ดดินมากขึ้น  เพิ่มความเสถียรของเม็ดดิน  ความ
                  เป็นประโยชน์ของน้่าในดินเพิ่มขึ้นและลดความหนาแน่นรวมของดิน  ซึ่งได้ท่าการทดลองในดินชนิดต่างๆโดย

                  ท่าการใส่ปุ๋ยคอกในอัตราต่างๆลงไป  ซึ่งปุ๋ยคอกท่าให้สมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้นหลังจากใส่ปุ๋ยคอกลงไป
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80