Page 74 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 74

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         63


                  สูงขึ้นดังได้กล่าวมาแล้ว  เป็นเหตุให้เพิ่มความจุบัฟเฟอร์ buffering  capacity  ดินจึงต้านทานต่อการ

                  เปลี่ยนแปลง pH ของดินมากกว่าเดิม
                           3) ช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ธาตุฟอสฟอรัสในดิน  พืชใช้ประโยชน์จากปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ใส่ลงดิน

                  ได้ระหว่าง 15 ถึง 30 เปอร์เซ็นต์  นอกนั้นจะถูกตรึงอยู่ในดิน  การใส่ปุ๋ยคอกจะช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์

                  ของฟอสฟอรัสในดินและหินฟอสเฟต (Loria and Sawyer. 2005) ดังนี้
                           3.1) ปุ๋ยคอกมีสารประกอบอินทรีย์ฟอสเฟต เช่น สารไฟเทต  เมื่อมีการสลายตัวในดินก็จะ

                  ปลดปล่อยธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช

                           3.2) ปุ๋ยคอกมีการสลายตัวจะได้กรดฮิวมิก  ซึ่งกรดฮิวมิกซึ่งเป็นสารคีเลตที่มีสัมพรรค (affinity) สูง
                  ต่อเหล็ก อะลูมิเนียมและแมงกานีสไอออน  ท่าให้สามาถท่าปฏิกิริยาคีเลชั่นกับไอออนเหล่านั้นให้อยู่ในรูป

                  คีเลตได้ดี  จึงลดโอกาสของการตรึงฟอสเฟตของไอออนทั้งสามชนิดนี้  โดยเฉพาะดินกรดจัดที่มี เหล็ก

                  อะลูมิเนียมและแมงกานีสไอออนในสารละลายดินมาก  ดังนั้นธาตุฟอสฟอรัสในดินจึงมีประโยชน์เพิ่มขึ้น  ใน
                  บางกรณีกรดฮิวมิกอาจท่าปฏิกิริยากับ HA + (OH) - Al -H PO กลายเป็น homo – Fe-P complex  ซึ่ง
                                                             2
                                                                        4
                                                                    2
                  แม้จะเป็นสารประกอบเชิงซ้อน  แต่สามารถปลดปล่อยฟอสเฟตไอออนออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่ายกว่า
                  สารประกอบดิน (Tan, 2003)

                           ดังนั้น นอกจากปุ๋ยคอกจะให้ฟอสฟอรัสแก่ดินแล้ว  ยังเพิ่มความประโยชน์ของธาตุนี้ซึ่งมีอยู่เดิมใน

                  ดินและเพิ่มประสิทธิภาพใช้ปุ๋ยฟอสเฟตที่ใส่ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ดังภาพที่ 4.3 (ยงยุทธและคณะ, 2551)


                                                     สารประกอบอินทรีย์
                                                         ฟอสเฟต

                                    คาร์บอนไดออกไซด์            กรดคาร์บอนิก


                     ปุ๋ยคอก        กรดอินทรีย์               ละลายสารประกอบ             ฟอสเฟตไอออน

                                                             ฟอสเฟตที่ละลายยาก

                                    กรดฮิวมิก กรดฟูลิก                    ท่าปฏิกิริยาคีเลชันกับอะลูมิเนียม

                                    และกรดอินทรีย์ต่างๆ                        เหล็ก และแมงกานีส

                                 ภาพที่ 4.3 ผลของปุ๋ยคอกต่อความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดิน

                                  ที่มา: ยงยุทธและคณะ (2551)


                           3.3) กรดอินทรีย์ที่เกิดขึ้นระหว่างการสลายตัวของปุ๋ยคอก ได้แก่ กรดซิตริกกรดออกซาลิก และกรด

                  ตาตาริก  สามารถละลายสารประกอบฟอสฟอรัสในดินที่ถูกตรึงและปลดปล่อยธาตุฟอสฟอรัสในรูปที่เป็น
                  ประโยชน์เพิ่มขึ้น
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79