Page 73 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 73

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         62


                  ลักษณะการสนองของพืชต่อธาตุอาหารไนโตรเจนในปุ๋ยคอกระยะยาว  เมื่อใส่ปุ๋ยเหล่านี้เพียงครั้งเดียวหรือใส่

                  เป็นประจ่าทุกๆปี  ซึ่งสรุปได้ว่าปุ๋ยคอกเป็นปุ๋ยที่มีลักษณะที่สามารถให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช  ให้
                  กิจกรรมของจุลินทรีย์ดินด่าเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพและควบคุมความชื้น  และจากการทดลองของ

                  Panchaban and Pipatveevat (1975)  โดยท่าการทดลองการใช้ปุ๋ยคอกอัตรา 800 และ 1,600 กิโลกรัม

                  ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยไนโตรเจนอัตรา 8 และ16 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยฟอสฟอรัสอัตรา 8 และ16 กิโลกรัมต่อไร่
                  พบว่า ปุ๋ยคอกสามารถเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้กับดิน

                        5.2 ปรับปรุงสมบัติทางเคมีของดิน
                                ปริมาณอินทรียวัตถุในปุ๋ยคอกนั้นมีผลทางตรงในแง่ของธาตุอาหารพืช  ดังรายงานของส่านัก

                  เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน (2551) ว่า การใช้ปุ๋ยคอกอัตรา 4 ตันต่อไร่ร่วมกับปุ๋ยเคมีอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ใน
                  ผักกาดหัว  มีผลท่าให้คุณสมบัติทางเคมีของดินเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ กล่าวคือ ท่าให้ดินมี

                  อินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นจาก 0.81 เป็น 1.04  เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มธาตุไนโตรเจนในดินจาก 0.039 เป็น 0.073

                  เปอร์เซ็นต์  และเพิ่มปริมาณธาตุอาหารฟอสฟอรัส  โพแทสเซียม  แคลเซียม  แมกนีเซียม  และก่ามะถัน ให้
                  สูงขึ้นจาก 15.92, 178.8, 164.5, 158,15.9 เป็น 17.79, 254, 188.5, 221.0 และ 24.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

                  ตามล่าดับ  ซึ่งมีทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช  ส่วนผล

                  ทางอ้อม ได้แก่
                           1) ทําให้ดินมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (CEC) เพิ่มขึ้น  เพราะเมื่อปุ๋ยคอกถูก

                  จุลินทรีย์ดินย่อยสลายก็ปลดปล่อยธาตุต่างๆ ในรูปอนินทรีย์  แล้วเหลือสารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนและ
                                                                                                          -1
                  ลักษณะคงทนเรียกว่า ฮิวมัส  ซึ่งฮิวมัสมีขนาด 0.1–1.0 ไมโครเมตร และ  CEC  100  –  500  cmol   kg
                                                                                                      c
                  ดังนั้นการใส่ปุ๋ยคอกมีผลต่อการเพิ่ม CEC ของดิน  และมีค่า CEC มากน้อยเท่าไรขึ้นอยู่กับอัตราที่ใส่ในแต่ละ
                  ครั้งและความต่อเนื่องของการใช้ด้วย (ยงยุทธและคณะ,  2551)  สอดคล้องกับรายงานของ Sequi  and

                  Calcinai (1978) ว่า ผลการใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 1.6 ต้นต่อไร่ต่อปีเป็นเวลา 10 ปี ในดินร่วนปนทรายแป้งที่ปลูก
                                                                                                          -1
                  ฝ้าย และดินร่วนปนทรายที่ใช้ปลูกข้าวสาลี พบว่า ค่า  CEC  ทั้งสองเพิ่มขึ้นเป็น 1.10 และ 0.4 cmol   kg
                                                                                                      c
                  ตามล่าดับ  ส่วนการใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 3.5, 7.0 และ 10 ตันต่อไร่ เป็นเวลา 5 ปี ในดินเหนียว  ซึ่งมีค่า CEC
                                    -1
                  เดิม 20.02 cmol  kg   และปลูกข้าวโพดโดยตลอด ปรากฏว่าปุ๋ยคอกช่วยให้ค่า CEC ของดินเพิ่มจากแปลง
                                 c
                                                         -1
                  ที่ไม่ใส่ปุ๋ยคอก 0.38, 0.76 และ 0.78 cmol kg  ตามล่าดับ  และรายวิจัยของ Kanwar and Prihar (1962)
                                                      c
                  ว่า การใส่ปุ๋ยคอกในดินร่วนปนทรายและดินร่วนปนซิลต์  มีผลท่าให้ค่า CEC ของดินมีค่ามากว่าการไม่ใส่ปุ๋ย

                  คอก  โดยแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ยคอกในดินร่วนปนทรายและดินร่วนปนซิลต์ มีค่า CEC ของดิน คือ 5.50 และ 9.90
                           -1
                  cmol  kg  ตามล่าดับ  ส่วนแปลงที่ไส่ปุ๋ยคอกในดินร่วนปนทรายและดินร่วนปนซิลต์มีค่า CEC ของดิน คือ
                       c
                                         -1
                  5.90 และ 11.00 cmol  kg  ตามล่าดับ (ยงยุทธและคณะ, 2551)
                                      c
                           2) ช่วยเพิ่มความต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH)  การใส่ปุ๋ยคอก
                  อัตราสูงอาจท่าให้ค่าpH ของดินลดลงเล็กน้อยในช่วงแรก  เนื่องจากมีกรดอินทรีย์สะสมจากการสลายตัวของ

                  สารอินทรีย์  แต่เมื่อกรดอินทรีย์ส่วนมากสลายตัวกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว  pH ของดินก็มีแนวโน้ม
                  จะกลับสู่ระดับเดิม  อย่างไรก็ตามดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุมากขึ้น  เนื่องจากการใส่ปุ๋ยคอกย่อมมีค่า CEC
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78