Page 70 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 70

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         59


                  นี้จึงเหมาะสมในการปรับปรุงพื้นที่ที่เป็นดินทราย  ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์โพแทสเซียมค่อนข้างต่่า เช่น ดินในภาค

                  ตะวันออกเฉียงเหนือ  การใส่ปุ๋ยคอกสดหรือแห้งก็ได้  โดยควรใส่ในอัตรา 1 – 3 ตันต่อไร่  ในขณะเตรียมดิน
                  แล้วไถกลบทิ้งไว้ 15 – 30 วัน ก่อนปลูกพืช  แต่ถ้าใส่ในดินที่มีพืชเจริญอยู่แล้ว  ควรน่ามูลสัตว์มาตากแห้ง

                  ก่อนสักระยะหนึ่งแล้ว  จึงน่าไปใส่ในดินบริเวณรอบทรงพุ่ม  จากแปลงทดสอบโดยการใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 3 ตัน

                  ต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16 – 20 – 0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ท่าให้ข้าวพันธุ์พื้นเมืองพันธุ์ กข.6  พันธุ์
                  เหลืองประทิว และข้าวฟ่างพันธุ์พื้นเมือง  มีผลผลิตสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับต่ารับการทดลองอื่นๆ ดังนี้ 460,

                  644, 624 และ 176 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล่าดับ  ดังแสดงไว้ในตารางที่ 4.7

                  ตารางที่ 4.7 ผลของการใช้ปุ๋ยคอกต่อผลผลิตข้าว


                                                                        ผลผลิต (กก./ไร่)
                     จังหวัด      พืชที่ทดสอบ
                                                   ไม่ใส่ปุ๋ย  ปุ๋ยคอก3 ตัน/ไร่  ปุ๋ยคอก3 ตัน/ไร่    ปุ๋ยเคมี
                                                                               ปุ๋ยเคมี10 กก./ไร่   20 กก./ไร่

                  หนองคาย       ข้าวพื้นเมือง             256      304               460             384
                                (พันธุ์ดอนยวน)

                  ยโสธร         ข้าวพันธุ์ กข.6      304           404               644             416


                  ตาก           ข้าวเหลืองประทิว     316           552               624             504

                  นครสวรรค์     ข้าวฟ่างพันธุ์       118           145               176             169

                                พื้นเมือง

                  ที่มา: ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน (2551)


                         4.2 การหมักปุ๋ยคอกก่อนนําไปใช้  การน่าสิ่งขับถ่ายของสัตว์ ได้แก่ มูลและปัสสาวะ  ไปใช้โดยตรง
                  ในแปลงพืชได้ทันทีอาจเป็นอันตรายต่อพืช  เพราะความร้อนและอินทรียสารบางชนิดที่เกิดขึ้นระหว่างที่มูล

                  สัตว์สลายตัว  ดังนั้น ควรมีการหมักมูลสัตว์ก่อนน่าไปใช้  เพื่อแปรสภาพอินทรียสารเดิมในมูลสัตว์ให้เป็นสาร

                  ฮิวมิกมากขึ้นและได้ปุ๋ยที่เหมาะแก่การใช้  ซึ่งแตกต่างจากการท่าปุ๋ยหมัก  เนื่องจากการท่าปุ๋ยหมักใช้ซากพืช
                  เป็นหลักและอาจใส่มูลสัตว์เป็นส่วนผสมในกองหมักเท่านั้น (Yang, 2000)  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสลายของ

                  มูลสัตว์ในกองหมัก ได้แก่ ความชื้น  อุณหภูมิ  สภาพกรดด่าง  การถ่ายเทอากาศ  ขนาดของชิ้นวัสดุและ
                  สัดส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจน  ส่าหรับความชื้นของมูลสัตว์หากสูงกว่า 65 เปอร์เซ็นต์  กิจกรรมของ

                  จุลินทรีย์ใช้ออกซิเจนจะลดลง  ท่าให้การสลายตัวของมูลสัตว์ช้าและมีกลิ่นเหม็น  ส่วนการถ่ายเทอากาศก็มี

                  ความส่าคัญมาก  ควรให้กองปุ๋ยมีช่องว่างไม่น้อยกว่า 30เปอร์เซ็นต์  เพื่อส่งเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์ใช้
                  ออกซิเจน  โดยปรกติมูลสัตว์มักมีความชื้นสูงกว่า 80เปอร์เซ็นต์  จึงควรเติมแกลบหรือขี้เลื่อยเพื่อปรับ

                  ความชื้นให้อยู่ระหว่าง 50 – 60 เปอร์เซ็นต์จึงเริ่มหมัก (ยงยุทธและคณะ, 2551)  โดยพบว่าปุ๋ยคอกที่หมัก
                  ก่อนการน่าไปใช้จะมีปริมาณธาตุอาหารค่อนข้างสูง  โดยให้ธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียมค่อนข้างสูง

                  ประมาณร้อยละ 42.0 และ 49.5  ตามล่าดับ  เมื่อเทียบกับฟอสฟอรัสซึ่งมีประมาณ 22.5 เปอร์เซ็นต์ (Harry

                  et  al., 1974)  ฉะนั้นการน่าปุ๋ยคอกซึ่งหมักแล้วไปใช้ในดินทราย เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ผลดีมาก
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75