Page 69 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 69

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         58


                  ไนโตรเจนที่พืชดูดได้มีความสัมพันธ์กับ C:N เรโชของปุ๋ยอินทรีย์เหล่านั้น  จากการศึกษาปุ๋ยอินทรีย์ 13 ชนิด

                  นี้ที่มีค่าC:N  เรโช ระหว่าง 6.6 ถึง 21.7 นั้น  การทดลองในช่วงเวลา 67 วัน สรุปได้ว่า ปุ๋ยอินทรีย์ที่มี C:N
                  เรโชต่่ากว่า 13  ปลดปล่อยไนโตรเจนออกมาให้พืชในช่วงสั้นได้ดีกว่าพวกมีค่า 13–15  และที่สูงกว่า 15 จะ

                  ปลดปล่อยได้น้อย  ดังนั้น C:N เรโชของปุ๋ยอินทรีย์จึงเป็นข้อมูลที่ส่าคัญอย่างหนึ่งในการประเมินผลของปุ๋ยต่อ

                  พืชในช่วงสั้น (Hartz et al., 2000; Qlan and Schoenau, 2002)
                         2. ธาตุฟอสฟอรัสในปุ๋ยคอก  มีทั้งที่เป็นอนินทรียสารและอินทรียสาร  มูลแกะมีฟอสฟอรัส

                  ประมาณร้อยละ 1  ในจ่านวนนี้เป็นอนินทรียสารร้อยละ 82 และอินทรียสารร้อยละ 18 ของที่มีอยู่  หากแจง
                  ฟอสฟอรัสในอินทรียสารจะได้ 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ประกอบเป็นฟอสโฟลีฟิด (phospholipids) ร้อยละ 0.3

                  ส่วนที่ 2 อยู่ในโปรตีนร้อยละ 12.1  ส่วนที่ 3 อยู่ในอินทรียสารซึ่งละลายในกรดไตรคลอโรแอซิติกร้อยละ 3.1
                  และส่วนที่ 4 ประกอบเป็นสารอินทรีย์อื่นๆ อีกร้อยละ 2.5 ของฟอสฟอรัสทั้งหมด  ส่วนมากสัตว์ได้รับ

                  ฟอสฟอรัสจากการกินพืช กระดูกและเกลือฟอสเฟส  ส่าหรับฟอสฟอรัสที่สัตว์ปีกได้รับจากอาหารส่วนมากอยู่

                  ในรูปของเกลือไฟเทตหรือเกลือของกรดอินโนซิทอลเฮ็กซาฟอสฟอริก (inositalhexaphosphoric acid)  ซึ่ง
                  สัตว์ย่อยและดูดซึมไปใช้ได้น้อย ดังนั้นเกลือไฟเทตส่วนใหญ่จึงถูกขับออกมาพร้อมกับอุจจาระ  เมื่อเกลือนี้อยู่

                  ในดินจะถูกจุลินทรีย์ย่อยแล้วปลดปล่อยฟอสเฟตไอออนออกมาให้พืชใช้ประโยชน์ได้  โดยปกติสารประกอบ

                  อินทรีย์ฟอสเฟตในดินมีอยู่ 3 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 คือ เกลืออินโนซิทอลเฮ็กซาฟอสเฟต  ประเภทที่  2
                  คือ ฟอสโฟลิพิด  และประเภที่ 3 คือ กรดนิวคลีอิก  นอกจากนี้อาจพบฟอสโปรตีนและน้่าตาลฟอสเฟต

                  (sugar  phosphate) ด้วย  ในบรรดาสารประกอบเหล่านี้มีอินโนซิทอลเฮ็กซาฟอสเฟตประมาณร้อยละ 50
                  ของอินทรีย์ฟอสเฟตทั้งหมด  ในแง่ของความเป็นประโยชน์นั้น  พืชสามารถใช้ฟอสฟอรัสจากกลีเซอรอล

                  ฟอสเฟต (glycerol  phosphate)    น้่าตาลฟอสเฟตม  อินโนซิทอลเฮ็กซาฟอสเฟตและกรดนิวคลีอิก  ซึ่ง
                  จุลินทรีย์ย่อยสลายรวดเร็วได้ดีทัดเทียมกับปุ๋ยอนินทรีย์ฟอสเฟต  ดังนั้นส่วนของฟอสฟอรัสในปุ๋ยคอกที่พืชใช้

                  เป็นประโยชน์ค่อนข้างง่าย คือ ฟอสฟอรัสในรูปเหล่านี้  ส่วนพวกที่มีโมเลกุลใหญ่และสลับซับซ้อนกว่าก็จะถูก

                  จุลิทรีย์ดินย่อยสลายด้วยเวลาที่นานขึ้นแล้วพืช  จึงได้รับประโยชน์ในภายหลัง (Dual,  1977;  Sikora  and
                  Enkiri, 2003 and 2005)

                         3. ธาตุโพแทสเซียมในปุ๋ยคอก  จะอยู่ในรูปของเกลือที่ละลายน้่าง่ายและเป็นประโยชน์แก่พืช
                  ดังนั้นหากกองปุ๋ยคอกไว้ในที่แจ้งธาตุโพแทสเซียมก็จะถูกฝนชะออกไป

                  4. การจัดการปุ๋ยคอกและนําไปใช้

                        ปุ๋ยคอกมีรูปแบบการใช้ 2 แบบ คือ ปุ๋ยคอกที่เป็นของแข็ง และปุ๋ยคอกที่เป็นของเหลว  โดยมีวิธีการใช้

                  ปุ๋ยคอกอยู่ 3 วิธี ดังนี้
                         4.1 ปุ๋ยคอกที่เป็นของแข็งไปใช้โดยตรง  การน่ามูลสัตว์แบบสดสามารถน่าไปใช้ในสวนไร่นาได้เลย

                  แต่การใช้แบบนี้ต้องค่านึงชนิดของดินและพืชที่ปลูก  เพราะการน่ามูลสัตว์แบบสดใส่ลงในดินที่ปลูกพืชอาจท่า
                  ให้พืชเหี่ยวหรือตายได้  เนื่องจากความร้อนและอินทรียสารบางชนิดซึ่งสะสมระหว่างที่มูลสัตว์สลายตัวจาก

                  รายงานของ  Harry  et  al. (1974) ว่า การใส่มูลโคโดยตรงอัตรา 6 ตันต่อไร่  ท่าให้เพิ่มปริมาณธาตุอาหาร
                  ให้กับพืช  โดยให้ธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียมค่อนข้างสูง คือ 44 และ 40.5 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ  เมื่อ

                  เทียบกับฟอสฟอรัสซึ่งจะให้ธาตุอาหารค่อนข้างต่่า คือ 19.4 เปอร์เซ็นต์  ฉะนั้นการใช้ปุ๋ยคอกแบบใช้โดยตรง
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74