Page 66 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 66

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         55


                  กิโลกรัม และ 73 กิโลกรัมต่อน้่าหนักไก่ 1000 กิโลกรัม ตามล่าดับ  โดยพบว่าการเลี้ยงไก่ไข่แบบขังกรงจะมี

                  ธาตุไนโตรเจนมากกว่าการเลี้ยงไก่เนื้อในวัสดุรองพื้นคอก และปริมาณธาตุอาหารในมูลไก่แบบต่างๆ  ดังแสดง
                  ไว้ในตารางที่ 4.5  นอกจากนี้พบว่าธาตุอาหารในมูลไก่จะมีค่ามากกว่ามูลชนิดอื่นๆ  ดังรายงานของยงยุทธ

                  และคณะ (2551) ว่า การใส่มูลไก่อัตราไร่ละ 1500 กิโลกรัม (น้่าหนักแห้ง) ให้ธาตุไนโตรเจน 43.3 กิโลกรัม

                  (มี 11.2 กิโลกรัมNH -N)  ธาตุฟอสฟอรัส  16  กิโลกรัม   ธาตุโพแทสเซียม 26.4  กิโลกรัม  ธาตุแคลเซียม
                                   4
                  26.2 กิโลกรัม  แมกนีเซียม 7.2 กิโลกรัม  ธาตุซัลเฟอร์7.2 กิโลกรัม  ธาตุแมงกานีส 0.3 – 0.8 กิโลกรัม  ธาตุ

                  ทองแดง 0.3 – 0.98 กิโลกรัม และธาตุสังกะสี 0.3 – 0.8 กิโลกรัมต่อไร่  ซึ่งเพียงพอส่าหรับพืชไร่หลายชนิด

                  ตารางที่ 4.5 ความเข้มข้นของธาตุอาหารในมูลไก่ที่ถ่ายใหม่ๆ มูลไก่ขังกรงและมูลไก่ในวัสดุรองพื้นคอก



                      ธาตุ          มูลไก่ที่ถ่ายใหม่ๆ      มูลไก่ไข่ (ขังกรง)   มูลไก่เนื้อในวัสดุรองพื้นคอก

                                   พิสัย       เฉลี่ย      พิสัย       เฉลี่ย       พิสัย        เฉลี่ย


                  N (%)           3.7–8.8       6.1       1.3–6.5       4.4        1.2–7.7        3.9

                  NH  (%)         0.4–1.1       0.6       1.2–2.9       1.5        0.1–2.0        1.1
                     4
                  P (%)          1.2– 2.9       2.2       0.1–5.1       1.9        0.7–3.6        1.9


                  K (%)           1.2–2.7       2.0       0.7–4.7       2.8        0.8–4.9        2.4

                  S (%)              -           -        0.1 –1.5      0.7        0.1–1.5        0.7

                  Ca (%)         5.2–14.9       8.1      0.2–26.7      10.4        0.7–8.3        2.4


                  Mg, (%)         0.6–1.3       1.0       1.0–1.5       1.4        0.1–1.9        0.7

                  B, (มก./กก.)       -           -           -           -         23–125         54

                  Cu (มก./กก.).      -           -        2–1053        160        21–845         377


                  Mn(มก./กก.)        -           -        4–1061        296        88–772         355

                  Zn (มก./กก.)       -           -        10–937        226        61–777         341


                  - ไม่มีข้อมูล
                  ที่มา: Sims and Wolf (1994)

                         ส่าหรับธาตุอาหารในปุ๋ยคอกที่ได้จากผลการวิเคราะห์ทางเคมี  เป็นการแสดงปริมาณทั้งหมดของธาตุ
                  อาหารหลัก  ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุว่าแต่ละธาตุมีปริมาณเท่าใด  ส่วนความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร

                  ไม่อาจบอกได้จากการวิเคราะห์  แต่จะต้องทดสอบในแปลงทดลองเท่านั้น  โดยกระบวนการ mineralization

                  (Warman and Cooper, 2000; Tewolde et al., 2005)  โดยในที่นี้จะกล่าวเฉพาะธาตุอาหารหลัก ดังนี้
                         1) ธาตุไนโตรเจนในปุ๋ยคอก มีอยู่ 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นส่วนที่พืชใช้ประโยชน์ได้ง่าย เช่น

                  แอมโมเนียม ไอออน ไนเทรตไอออนหรือยูเรีย  ส่วนที่ 2 เป็นอินทรียสารซึ่งปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71