Page 64 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 64

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         53


                  โพแทสเซียมพบอยู่ในสิ่งขับถ่ายที่เป็นของแข็ง  ส่าหรับปัสสาวะแม้จะมีธาตุอาหารบางธาตุน้อยกว่า  แต่อยู่ใน

                  รูปที่เป็นประโยชน์ง่ายกว่า  ดังนั้นจึงควรจัดการให้มีการสูญเสียปัสสาวะจากคอกสัตว์น้อยที่สุด  ผลการ
                  วิเคราะห์ธาตุอาหารหลักในมูลสัตว์ พบว่า มีไนโตรเจน 2.0 – 5.0 เปอร์เซ็นต์  ฟอสฟอรัส  0.5  –  2.0

                  เปอร์เซ็นต์ และโพแทสเซียม 1.0 – 3.0 เปอร์เซ็นต์  ส่วนจุลธาตุบางธาตุ เช่น เหล็กและสังกะสี จะมีสูง  หาก

                  มีผสมผสานประกอบของธาตุเหล่านี้ลงไปอาหารสัตว์  ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าปุ๋ยคอกจึงเป็นแหล่งส่าคัญของธาตุ
                  อาหารพืช (ยงยุทธและคณะ, 2551)

                  ตารางที่ 4.2 ปริมาณของธาตุอาหารในมูลสัตว์ 4 ชนิด



                    น้ํา/ธาตุอาหาร        โคนม              โคเนื้อ             ไก่               สุกร

                        น้่า,%             75                 80                35                72

                        N, %               2.4               1.9                4.4               2.1


                        P, %               0.7               0.7                2.1               0.8

                        K, %               2.1               2.0                2.6               1.2

                       Ca, %               1.4               1.3                2.3               1.6


                       Mg, %               0.8               0.7                1.0               0.3

                        S, %               0.3               0.5                0.6               0.3

                     Fe, มก./กก.          1,800             5,000              1,000             1,000


                     Mn, มก./กก.           165                40               413                182

                     Zn, มก./กก.           165                8                480                390

                     Cu, มก./กก.           30                 2                172                150


                     B, มก./กก.            20                 14                40                75

                     Mo, มก./กก.            -                 1                 0.7               0.6


                  ที่มา: Bredy and Well (2002)

                         แต่ยกเว้นมูลค้างคาว  เนื่องจากค้างคาวเป็นสัตว์ป่าที่อาศัยตามถ้่ารวมกันเป็นฝูงใหญ่ และถ่ายมูลไว้
                  ตามพื้นถ้่าปริมาณมาก  ท่าให้มูลค้างคาวมีสมบัติหลายอย่างที่แตกต่างจากมูลสัตว์เลี้ยงทั่วไป  ดังรายงานของ

                  ยงยุทธและคณะ (2551) ว่า มูลค้างคาวที่จ่าหน่ายในประเทศเปรูมีปริมาณธาตุอาหาร ดังตารางที่ 3

                  นอกจากนี้มีความเป็นกรดเป็นด่าง 4.0 – 5.6  ค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน 5 – 8  ปริมาณ
                  อินทรียวัตถุ 40 – 60 เปอร์เซ็นต์  กรดฟุลวิก 15 – 20 เปอร์เซ็นต์ และมีเชื้อรา แบคทีเรียและแอคติโตมัยซีส

                  ที่เป็นประโยชน์อยู่มาก  ส่าหรับมูลค้างคาวและหินฟอสเฟตที่เกิดจากมูลค้างคาวที่พบในประเทศไทย มี
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69