Page 45 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 45
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
34
5. อิทธิพลของอินทรียวัตถุที่มีต่อสมบัติทางกายภาพของดิน
5.1 ส่งเสริมให้อนุภาคของดินจับตัวเป็นก้อน
เนื่องจากอินทรียวัตถุในดินเป็นสารประกอบที่ประสิทธิภาพสูงในการเกาะยึดหรือรวมตัวกับ
อนุภาคต่างๆ ในดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุภาคดินเหนียวหรือเซลจุลินทรีย์ได้เป็นอย่างดี การจับตัวนี้
บางส่วนก็เนื่องมาจากประส่วนที่แตกต่างกันระหว่างอินทรียวัตถุกับดินเหนียว หรือเป็นการเกาะยึดระหว่าง
ประจุลบของอนุภาคทั้งสอง โดยมี multivalent cation ต่างๆ เป็นตัวเชื่อมโยง นอกจากนี้การสร้างสาร
เชื่อมโดยจุลินทรีย์ในดินท่าให้ดินเหนียวเกาะยึดกันเป็นเม็ดดิน ซึ่งเมื่อรวมกลุ่มกันจ่านวนมากก่อให้เกิด
โครงสร้างของดินที่ดี สามารถดูดซับน้่าไว้ได้มาก ขณะเดียวกันก็ท่าให้ดินมีสภาพร่วนซุย ช่วยเพิ่มช่องว่างลด
ความหนาแน่นรวมของดิน มีการซึมซาบน้่าอากาศถ่ายเทได้สะดวก ระบายน้่าได้ดี และลดการชะล้างของ
เม็ดฝนบริเวณผิวดิน (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541; ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)
5.2 ทําให้ดินมีการอุ้มน้ําได้มากขึ้น
เพราะอินทรียวัตถุในดินมีความสามารถดูดซับน้่าไว้ได้ในปริมาณมาก คือ 6 – 20 เท่าของ
น้่าหนัก ทั้งนี้เนื่องจากเป็นอนุภาคเล็กและมีลักษณะเป็นสารคอลลอย์ จึงมีพื้นที่ผิวในการดูดซับน้่าไว้ได้มาก
เป็นพิเศษ นอกจากนี้อนุภาคของอินทรียวัตถุยังประกอบกันเป็นโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายฟองน้่า มีช่อง
ขนาดเล็กที่ดูดซับได้มากและมีประสิทธิภาพ (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541) สอดคล้องกับส่านัก
เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน (2551) รายงานว่า เนื่องจากอินทรียวัตถุมีพื้นที่ผิวมากท่าให้อุ้มน้่าได้เกิน 20 เท่า
ของน้่าหนักตัว จึงมีผลอย่างมากต่อการอุ้มน้่าในดิน การที่ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงย่อมมีผลท่าให้ดิน
สามารถอุ้มน้่าได้เพิ่มขึ้น จึงมีผลให้ความชื้นในดินคงอยู่ได้นานกว่าดินที่ขาดอินทรียวัตถุและมีผลอย่างมากต่อ
ความเป็นประโยชน์ของน้่าในดินที่มีพืชน่าไปใช้ในการเจริญเติบโต
5.3 สามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิดินอย่างฉับพลัน
เพราะอินทรียวัตถุมีพื้นที่ผิวจ่านวนมาก โดยอินทรียวัตถุ 1 กรัม มีปริมาณพื้นที่ผิว 8,000,000
ตารางเซนติเมตร ท่าให้สามารถเก็บความร้อนไว้ที่ตัวได้มาก จึงท่าหน้าที่เป็นฉนวนต่อความร้อนของ
แสงแดดไม่ให้แสงแดดส่องถึงผิวดินโดยตรง ลดการกระทบกระเทือนต่อรากพืชและการระเหยของน้่าในดิน
(ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)
5.4 สีของดิน
อินทรียวัตถุท่าให้สีของดินเปลี่ยนเป็นสีน้่าตาลถึงสีด่า เนื่องจากฮิวมัสที่ได้จากการสลายตัวของ
อินทรียวัตถุมีสีน้่าตาลเข้มและมีขนาดของอนุภาคละเอียด มีพื้นที่ผิวจ่านวนมาก จึงสามารถคลุกเคล้ากับ
ส่วนอื่นๆ ของดินได้ดีมาก โดยทั่วไปดินที่มีสีน้่าตาลหรือสีด่าถือได้ว่าเป็นดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง (ส่านัก
เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551) ดินที่มีอินทรียวัตถุสูงมักมีสีคล้่า (สีน้่าตาลเข้มถึงสีด่า) มีส่วนท่าให้อุณหภูมิ
ของดินโดยรวมสูงขึ้น เนื่องจากดินมีสีคล้่าดูดกลืนรังสีความร้อนได้ดีกว่าดินสีจาง (คณาจารย์ภาควิชา
ปฐพีวิทยา, 2541)