Page 47 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 47
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
36
กรัมของฮิวมัส ซึ่งสูงกว่า CEC ของแร่ดินเหนียว ประมาณ 2 – 30 เท่า ในดินโดยทั่วไปปริมาณของประจุ
บวกที่ถูกดูดซับโดยอินทรียวัตถุในดินจะอยู่ในช่วงประมาณ 30 – 90 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณที่ดินดูดซับได้
ทั้งหมด
ความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารประจุบวกมาจากประจุลบจ่านวนมากของอินทรียวัตถุซึ่ง
ส่วนใหญ่เกิดจากการ dissociation ของสารประกอบบางกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง carboxylic group และ
phenolic OH group ดังภาพที่ 2.3
-
+
R COOH R COO + H
carboxylic group
-
OH O
+ H +
phenolic OH group
ภาพที่ 2.3 ความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารของ carboxylic group และ phenolic OH group
ที่มา: คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา (2541)
อินทรียวัตถุในดินยังมีประจุบวกอยู่บางส่วน ท่าให้มีความสามารถในการดูดซับธาตุอาหาร
ประจุลบ ซึ่งประจุบวกดังกล่าวเกิดมาจากกระบวนการเติมโปรตอนของ amine group บนอนุภาค
อินทรียวัตถุ ดังภาพที่ 2.4
+
+
R C NH + H R C NH
2
3
ภาพที่ 2.4 กระบวนการเติมโปรตอนของ amine group บนอนุภาคอินทรียวัตถุ
ที่มา: คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา (2541)
ความสามารถในการดูดซับประจุบวกและประจุลบของอินทรียวัตถุ จึงมีความส่าคัญมากในการ
ป้องกันมิให้อาหารพืชที่ใส่ลงไปในดินในรูปปุ๋ยเคมีหรือธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในดินตามธรรมชาติถูกดูดซับไว้ที่
ผิวอินทรียวัตถุ ท่าให้ลดการสูญเสียธาตุอาหารไปกับกระบวนการชะล้างโดยเฉพาะดินทรายหรือดินเนื้อ
หยาบ ซึ่งท่าให้ประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหารของพืชเป็นไปได้ดียิ่งขึ้นและเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
การใช้ปุ๋ยเคมีนอกจากอินทรียวัตถุมีปริมาณพื้นที่ผิวต่อหน่วยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับดินเหนียว แต่แตกต่าง
กับดินทรายอย่างมาก ดังตารางที่ 2.4 (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541; ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทาง
ดิน, 2551)