Page 41 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 41

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         30


                  น้่าตาลมากขึ้น  น้่าตาลนี้จะช่วยเพิ่มแรงดันออสโมซิสภายในผนังเซลล์ท่าให้พืชไม่เหี่ยวเฉาง่าย  ซึ่งจะช่วย

                  กระตุ้นการเจริญเติบโตต่อระบบภูมิคุ้มกันของพืชด้วย (Rashid, 1985; William, 1993; Kononova,1966)
                  3. แหล่งที่มาของอินทรียวัตถุในดิน (อรรถและคณะ, 2548 ; ทิพวรรณ, 2549)

                         3.1 จากการย่อยสลายตัวของซากพืชและซากสัตว์โดยเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ  จุลินทรีย์ที่ย่อยสลาย

                  อินทรียวัตถุได้มีหลายชนิด ที่ส่าคัญคือ แบคทีเรีย แอกติโนไมซีสต์ และรา
                         3.2 จากการย่อยสลายตัวของเศษชิ้นส่วนของพืชที่ไถ สับกลบ ลงไปในดิน เช่น ตอ ซัง เศษวัสดุของ

                  พืช หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว หรืออาจเป็นพืชที่ปลูกเพื่อไถกลบโดยเฉพาะ เช่น ปุ๋ยพืชสด
                         3.3 จากการสลายตัวของสิ่งขับถ่ายทั้งหลายจากคนและสัตว์

                         3.4 จากการสลายตัวของปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ที่ใส่ลงไปในดิน
                         3.5 จากเซลล์ของจุลินทรีย์ในดินที่ยังมีชีวิตอยู่หรือตายแล้ว รวมถึงสารที่จุลินทรีย์ในดินสังเคราะห์ขึ้น

                  4. ปัจจัยที่ควบคุมการสลายตัวของอินทรียวัตถุ

                         การสลายตัวของอินทรียวัตถุในดินจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ได้แก่
                         4.1 ธรรมชาติของสารประกอบอินทรีย์ในพืช

                              พืชประกอบด้วย น้่า สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์  ส่วนประกอบที่เป็นน้่าจะอยู่ระหว่าง 50 –

                  95 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับธรรมชาติและอายุของพืชชนิดนั้นๆ  พืชสีเขียวสดอยู่มีน้่าเป็นส่วนประกอบโดย
                  เฉลี่ย 75 เปอร์เซ็นต์  ส่วนที่ไม่ใช่น้่าประกอบด้วย คาร์บอน 11 เปอร์เซ็นต์ ออกซิเจน 10 เปอร์เซ็นต์

                  ไฮโดรเจน 2 เปอร์เซ็นต์ และเถ้า 2 เปอร์เซ็นต์   เมื่อวิเคราะห์ในรูปของสารประกอบอินทรีย์  ปรากฏว่าพืช
                  โดยทั่วไปประกอบด้วยสารประกอบอินทรีย์มากมายหลายชนิดและในปริมาณต่างๆ กัน ดังในตารางที่ 2.1


                  ตารางที่ 2.1 ชนิดและปริมาณของสารประกอบอินทรีย์ที่พบในพืช

                                          สารประกอบ                                      เปอร์เซ็นต์

                  1. คาร์โบไฮเดรท                                น้่าตาลและแป้ง            1 – 5
                                                                      เฮมิเซลลูโลส        10 – 20

                                                                      เซลลูโลส            20 – 50
                  2. ไขมัน, ขี้ผึ้ง, แทนนินฯ                                               1 – 8

                  3. ลิกนิน                                                               10 – 30

                  4. โปรตีน                     โปรตีนที่ละลายน้่าได้ และ crude proteins    1 – 15


                  ที่มา: คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา (2541)
                         สารประกอบเหล่านี้จะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายได้จากง่ายไปยาก ดังนี้ น้่าตาล, กรดอะมิโนและกรด

                  อินทรีย์ต่างๆ ที่ละลายน้่า, แป้งหรือโปรตีน,  เฮมิเซลลูโลส,  ลิกนิน, ไขมัน, ขี้ผึ้ง  และแทนนิน  ตามล่าดับ

                  (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541)
                         ดังนั้น พืชที่มีอายุมากการสะสมลิกนินภายในพืชก็มากด้วยท่าให้ย่อยสลายใช้เวลามากขึ้นและพืชที่มี

                  ไขมัน ขี้ผึ้งและแทนนินมากมีผลท่าให้การย่อยสลายใช้เวลามากขึ้น เช่น เปลือกยูคา
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46