Page 46 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         35


                  6. อิทธิพลของอินทรียวัตถุที่มีต่อสมบัติทางเคมีของดิน

                        6.1 เป็นแหล่งธาตุอาหารของพืช
                            เนื่องจากขบวนการย่อยสลายของสารอินทรีย์จะปลดปล่อยธาตุอาหารพืชออกมาโดยกิจกรรมของ

                  จุลินทรีย์ดิน  ดังนั้นจึงมีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและจุลธาตุค่อนข้างครบถ้วนที่พืชใช้ในการ

                  เจริญเติบโต  ถึงแม้ธาตุอาหารจะมีปริมาณไม่มากเมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมี  แต่ธาตุอาหารเหล่านี้จะค่อยๆ
                  ปลดปล่อยให้เป็นประโยชน์ต่อพืชในระยะยาว  โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจนซึ่งเป็นธาตุหลักจากการสลายตัวของ

                  อินทรียวัตถุ พบว่า ธาตุไนโตรเจนมาจากอินทรียวัตถุในดินถึง 95 เปอร์เซ็นต์  แต่จะปลดปล่อยออกมาอย่าง
                  ช้าๆ  ซึ่งปริมาณธาตุไนโตรเจนทั้งหมดสามารถทราบได้จากปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ดังตารางที่ 2.3  พื้นที่

                  1 ไร่  ดินที่ระดับความลึก 15 เซนติเมตร  และมีความหนาแน่นดินรวม 1.3 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร จะมี
                  เนื้อดิน 312,000 กิโลกรัมต่อไร่  ธาตุไนโตรเจนในอินทรียวัตถุจะถูกปลดปล่อยออกมาประมาณ 2 – 5

                  เปอร์เซ็นต์ หรือเฉลี่ย 4 เปอร์เซ็นต์ต่อฤดูกาลเพาะปลูก  ดังนั้นเมื่อดินมีอินทรียวัตถุ 0.5 เปอร์เซ็นต์  จะมีธาตุ

                  ไนโตรเจน 90 กิโลกรัมต่อไร่  จะถูกปลดปล่อยออกมาเพียง 4 เปอร์เซ็นต์ หรือ 3.6 กิโลกรัมไนโตรเจน  ซึ่งไม่
                  เพียงพอแก่การเจริญเติบโตของพืช  จึงจ่าเป็นต้องเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุหรือปุ๋ยเคมีเพื่อให้เพียงพอกับความ

                  ต้องการของพืช (ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน,  2551)  และอินทรียวัตถุยังมีผลทางอ้อมต่อความเป็น

                  ประโยชน์ของธาตุอาหารพืช ได้แก่ 1) กรดอินทรีย์หรือกรดคาร์บอนิคที่เกิดขึ้นจากคาร์บอนไดออกไซด์  ซึ่ง
                  ได้มาจากการย่อยสลายและยังสามารถช่วยละลายสารประกอบของธาตุอาหารพืชบางชนิดให้เป็นประโยชน์

                  ต่อพืช เช่น ละลายธาตุฟอสฟอรัสในดิน  2) การเกิดสารอินทรีย์ที่มีสมบัติเป็นสารคีเลต  จากการสลายตัวของ
                  อินทรียวัตถุที่จะรวมตัวกับประจุของจุลธาตุ  ซึ่งเป็นโลหะกลายเป็นคีเลตและเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น

                  (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541)
                  ตารางที่ 2.3 ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดในอินทรียวัตถุระดับต่างๆ



                              อินทรียวัตถุในดิน (%)                      ไนโตรเจนทั้งหมด (กก.ต่อไร่)


                                      0.5                                            90
                                      1.0                                           180

                                      2.0                                           360
                                      3.0                                           540

                                      4.0                                           720

                                      5.0                                           900

                  ที่มา: ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน (2551)

                          6.2 ช่วยให้ดินมีความสามารถดูดซับธาตุอาหารพืชได้สูง

                                เนื่องจากอินทรียวัตถุมีพื้นที่ผิวหน้าสัมผัสมากและมีประจุลบเป็นส่วนใหญ่  ดังนั้นจึงมี

                  ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกได้มาก กล่าวคือ มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก
                  (CEC) ได้สูงกว่าดินเหนียวชนิดอื่นๆ   เนื่องจากอินทรียวัตถุที่สลายตัวได้ดีแล้ว CEC สูงถึง 300 meg ต่อ 100
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51