Page 44 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         33


                  (anaerobic condition) ได้แก่ แบคทีเรียไม่ต้องการอากาศ  เป็นจุลินทรีย์กลุ่มหลักในการท่าให้เกิดการแปร

                  สภาพดังกล่าว (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา,  2541  )  ดังนั้นการถ่ายเทอากาศจึงมีส่วนควบคุมการ
                  เจริญเติบโตและการย่อยสลายสารอินทรีย์ของของจุลินทรีย์ทั้ง 2 ประเภท

                         4.5 ความชื้นดิน

                             น้่ามีความส่าคัญในการด่ารงชีวิตของจุลินทรีย์และยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกิจกรรมของ
                  จุลินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นการท่างานของเอมไซด์  การละลายสารประกอบของธาตุอาหารต่างๆ ตลอดจนเป็นที่

                  อยู่อาศัยและช่วยในการเคลื่อนที่ของจุลินทรีย์นอกจากนี้น้่ายังมีผลต่อการถ่ายเทอากาศในดินด้วย  ดังนั้น
                  ระดับความชื้นของดินจึงมีความสัมพันธ์กับอัตราการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน  ระดับความชื้นที่เหมาะสม

                  ต่อการย่อยสลายอยู่ที่ค่าศักย์น้่า (water potential) ประมาณ -0.01 ถึง -0.05 MPa(megapascal)หรือดินมี
                  ความชื้นประมาณ 50 – 60 เปอร์เซ็นต์ของความจุความชื้นในดิน  หากมีความชื้นมากกว่า -0.01 MPa ไป

                  จนถึงสภาพอิ่มตัวด้วยน้่า (0 MPa) อัตราการสลายตัวจะลดลงอย่างรวดเร็ว  เนื่องจากจุลินทรีย์ในดินขาดก๊าซ

                  ออกซิเจน  แต่หากความชื้นของดินค่อยๆ ต่่ากว่าระดับที่เหมาะสมอัตราการย่อยสลายตัวจะค่อยๆ ลดลง
                  ตามล่าดับ  แต่ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความสามารถทนสภาพแห้งแล้งของกลุ่มจุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องและอัตราการ

                  ท่างานของเอนไซด์  สภาพดินที่มีความชื้นในดินค่อนข้างต่่าจุลินทรีย์ที่มีบทบาทในการย่อยสลายอินทรียวัตถุ

                  ได้แก่ เชื้อราและแอกติโนไมซีสต์เพราะส่วนใหญ่ทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีกว่าแบคทีเรีย (คณาจารย์
                  ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541 )  ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ ฉวีวรรณ (2556) ว่า แบคทีเรียส่วนใหญ่ต้องการ

                  ความชื้นในดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยู่ในช่วง 50 – 75 เปอร์เซ็นต์ของความจุความชื้นในดิน
                  ส่าหรับแอกติโนไมซีสต์ต้องการดินที่มีความชื้นน้อยกว่าและเชื้อราต้องการความชื้นน้อยที่สุด

                         4.6 ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
                             โดยทั่วไประดับความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เป็นกลาง 6 – 7  การย่อยสลายตัวของ

                  สารอินทรีย์จะเกิดขึ้นได้รวดเร็วกว่าช่วงที่เป็นกรดหรือด่างเกินไป  ดังนั้นการใส่ปูนเพื่อยกระดับความเป็นกรด

                  เป็นด่างของดินที่เป็นกรดให้เป็นกลาง  จึงส่งเสริมการสลายตัวของสารอินทรีย์ในดินไปด้วย  ระดับความเป็น
                  กรดเป็นด่างที่ต่่ากว่า 4.5 (กรดจัดมาก) หรือสูงกว่า 9.0 (ด่างจัดมาก) มีผลยับยั้งการสลายตัวของสารอินทรีย์

                  อย่างมาก  ส่าหรับความเป็นกรดเป็นด่างของดินระดับที่เป็นกรดค่อนข้างมาก เช่น ที่ระดับความเป็นกรดเป็น
                  ด่าง 5.5 หรือต่่ากว่ากิจกรรมของแบคทีเรียและแอกติโนไมซีสต์ส่วนใหญ่จะลดลงมาก  ในขณะที่เชื้อรายัง

                  ทนทานอยู่ได้  ดังนั้นกิจกรรมการย่อยสลายจึงเกิดจากเชื้อราเป็นส่วนใหญ่ (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา,

                  2541 )  ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ ฉวีวรรณ (2556) ว่า แบคทีเรียและแอคติโนไมซิสต์เจริญเติบโตได้ดีใน
                  ดินที่มีระดับความเป็นกรดเป็นด่างที่เป็นกลางส่วนเชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ในช่วงความเป็นกรดเป็นด่าง

                  ของดินที่กว้างกว่า  ดังนั้นในสภาพดินที่เป็นกรดเชื้อราจึงเจริญเติบโตได้ดีกว่าจุลินทรีย์กลุ่มอื่นๆ
                         4.7 ปริมาณธาตุอาหาร

                             การที่จุลินทรีย์ดินย่อยสลายอินทรียวัตถุก็เนื่องจากต้องการพลังงานและธาตุคาร์บอนส่าหรับ

                  สร้างเซลล์ใหม่  ในการสร้างเซลล์ใหม่ของจุลินทรีย์นั้นต้องการธาตุอาหารอื่นๆ อีกหลายชนิด ดังนั้นการที่
                  จุลินทรีย์จะท่าการย่อยอินทรียวัตถุได้เร็วหรือช้าเพียงไร  ขึ้นอยู่กับปริมาณธาตุอาหารต่างๆที่มีอยู่ในดินด้วย

                  การใส่ปุ๋ยลงไปในดินจึงมีผลท่าให้การสลายตัวของอินทรียวัตถุเร็วขึ้น (อรรถและคณะ, 2548)
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49