Page 49 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 49

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         38


                  7. อิทธิพลของอินทรียวัตถุที่มีต่อสมบัติทางชีวภาพของดิน


                         7.1 เป็นการเพิ่มแหล่งธาตุอาหารของจุลินทรีย์ในดิน
                             โดยปกติดินที่ใช้ในการเพาะปลูกทั่วไปมีอินทรียวัตถุอยู่จ่ากัดไม่เพียงพอกับความต้องการของ

                  จุลินทรีย์ในดิน  การใส่อินทรียวัตถุลงในดินจึงมีผลท่าให้ปริมาณและกิจกรรมจุลินทรีย์เพิ่มมากขึ้น เพราะ
                  อินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหารและแหล่งพลังงานที่ส่าคัญของจุลินทรีย์  โดยเฉพาะพวก heterotroph  ได้แก่

                  แบคทีเรีย เชื้อรา และแอคติโนมัยซิส  ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ประเภทที่มีปริมาณมากที่สุดในดินและมีบทบาทส่าคัญ

                  ในการย่อยสลายสารอินทรีย์จ่าพวกซากพืชและซากสัตว์  โดยเฉพาะกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการ
                  เปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในดิน เช่น การตรึงไนโตรเจน denitrification  การเกิดก๊าซมีเทน  รวมถึงกิจกรรม

                  ของจุลินทรีย์ไมโคไรซาที่บริเวณรากพืช  นอกจากนี้การเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ท่าให้เกิดกรดอินทรีย์หลาย

                  ชนิด  ซึ่งกรดอินทรีย์บางชนิดมีผลต่อการปลดปล่อยและเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอีกที
                  หนึ่ง (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541; ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)

                         7.2 ทําให้สภาพแวดล้อมในดินเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่เป็น
                  ประโยชน์ในดิน

                             เนื่องจากอินทรียวัตถุมีผลต่อสมบัติทางกายภาพและเคมีดิน ได้แก่ สภาพการระบายอากาศ
                  ความชื้น อุณหภูมิ ความเป็นกรดเป็นด่างและความจุแลกเปลี่ยนประจุในดิน  ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

                  และกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน  ท่าให้ปริมาณและกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินเพิ่มมากขึ้น (คณาจารย์ภาควิชา

                  ปฐพีวิทยา, 2541)
                         7.3 ช่วยควบคุมโรคพืชบางชนิดในดิน

                             เนื่องจากอินทรียวัตถุที่ใส่ลงไปในดินมีผลท่าให้ปริมาณและกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินเพิ่มมากขึ้น

                  โดยที่เชื้อจุลินทรีย์ในดินที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้จะมีบทบาทส่าคัญต่อการควบคุมปริมาณและก่าจัดของเชื้อจุลินทรีย์
                  ก่อให้เกิดโรคได้ เช่น สารปฏิชีวนะที่ขับออกมาจากเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด  การเกิดการแข่งขันกันระหว่าง

                  จุลินทรีย์ดินกับจุลินทรีย์ก่อเกิดโรคพืชและการที่เชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นศัตรูกับเชื้อโรคพืช เช่น เชื้อรา
                  Trichodermaviride มีความสามารถเข้าท่าลายผนังเซลล์ของสปอร์และเส้นใยของ เชื้อรา

                  Helminthosporiumsativum ซึ่งเป็นสาเหตุโรคใบไหม้ของข้าวสาลี และการที่เชื้อแอคติโนมัยซิสพวก
                  Streptomyces sp. บางชนิด  สามารถสร้างสารปฏิชีวนะท่าลายเชื้อรา Collectotrichum sp. ซึ่งท่าให้เกิด

                  โรคแอนแทรคโนสของพริก (ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)

                  8. สาเหตุที่จําเป็นต้องใส่อินทรียวัตถุลงในดิน

                         เพราะดินที่เหมาะสมในการปลูกพืชจะต้องมีองค์ประกอบต่างๆ คือ แร่ธาตุ 45 เปอร์เซ็นต์ อากาศ

                  25เปอร์เซ็นต์ น้่า 25 เปอร์เซ็นต์ และอินทรียวัตถุ 5เปอร์เซ็นต์แต่การเสื่อมคุณภาพของทรัพยากรดินของ

                  ประเทศไทยจนท่าให้พืชที่ปลูกไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดีและได้ผลผลิตในปริมาณต่่าซึ่งมีผลมาจากปริมาณ
                  อินทรียวัตถุในดินลดลงอยู่ในระดับต่่าถึงต่่ามาก เนื่องจาก

                         8.1 ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนและมีลมมรสุมฝนตกชุก ท่าให้จุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรียวัตถุได้ง่าย
                         8.2 เกษตรกรใช้พื้นที่ท่าเกษตรติดต่อกันมาเป็นระยะเวลานานโดยไม่มีการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54