Page 40 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         29


                  ในดินชั้นล่างหรือแหล่งน้่า  ต่อจากนั้นกรดฮิวมิกจะค่อยๆ ปลดปล่อยมาสู่สารละลายในดินที่ละน้อยพร้อมกับ

                  เกิดการสลายตัวโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินและหมดไปในที่สุด (ปิยะ, 2553)
                           2.5 กรดฟุลวิก เป็นสารประกอบฮิวมิกชนิดหนึ่ง  สามารถละลายในด่าง กรด และน้่า (Brady and

                  Weil, 2004)  มีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีน้่าตาล  มีโครงสร้างโมเลกุลไม่ซับซ้อนเท่ากับกรดฮิวมิก  มีมวลโมเลกุล

                  อยู่ในช่วง 1,000 – 10,000 ดาลตัน  โครงสร้างของกรดฟุลวิกประกอบด้วยหมู่ฟังก์ชั่นที่มีออกซิเจนจ่านวน
                  มากและหมู่คาร์บอกซิลมากกว่ากรดฮิวมิก  จึงท่าให้กรดฟุลวิกมีปฏิกิริยาที่ว่องไวสูงที่สุด (Stevenson,

                  1994)  จากลักษณะโครงสร้างของกรดฟุลวิกดังกล่าวและการละลายน้่าง่าย  ท่าให้กรดฟุลวิกมีความสามารถ
                  เคลื่อนย้ายในสิ่งแวดล้อมไปได้ไกล  และจากโครงสร้างโมเลกุลที่ค่อนข้างยืดหยุ่น  มีช่องเปิดภายในขนาด

                  ต่างๆ อยู่มากเปิดโอกาสให้สารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์อื่นๆ เข้าไปเกาะยึดภายในโมเลกุลได้ง่าย  โดยกรด
                  ฟุลวิกมีธาตุเป็นองค์ประกอบ ดังนี้ คาร์บอน  ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน ก่ามะถัน และเถ้า คือ 49.50,

                  4.50, 0.80, 44.90, 0.30 และ 2.40 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ และมีปริมาณ carboxylic group, phenol OH

                  group และ total acidity ดังนี้ 0.50, 9.10, 3.30 และ 12.40 มิลลิกรัมสมมูลต่อกรัม ตามล่าดับ (คณาจารย์
                  ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541)

                           บทบาทส่าคัญของกรดฟุลวิกส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช  เพราะว่ากรดฟุลวิก

                  เป็นโมเลกุลขนาดเล็กและมีฤทธิ์เป็นพิเศษในการละลายเกลือแร่และธาตุโลหะเมื่อสารละลายนั้นอยู่ในน้่า
                  เกลือแร่ที่เป็นธาตุโลหะเมื่อละลายจะแตกตัวเป็นไอออน  หลังจากนั้นจะเข้ารวมตัวอยู่กับโครงสร้างของกรด

                  ฟุลวิกกลายเป็นสารชีวะเคมีที่ออกฤทธิ์และเคลื่อนที่ได้  โดยที่กรดฟุลวิกจะแปลงแร่ธาตุและโลหะเหล่านี้ให้
                  กลายเป็นสารเชิงซ้อนกับโมเลกุลของกรดฟุลวิก  ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างไปจากเดิมไปสู่รูปแบบใหม่ของชีวะ

                  สารที่พร้อมจะดูดซึมได้ง่ายๆ  นอกจากนี้ยังมีความสามารถเป็นเลิศต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศและ
                  สามารถละลายซิลิก้าที่มาสัมผัสด้วย (Ong  et  al.,  1970)   จากที่กล่าวข้างต้นดังนั้น กรดฟุลวิกช่วยให้

                  สารอาหารพืชเกิดความพร้อมใช้และท่าให้ดูดซึมได้ง่ายยิ่งขึ้น  โดยยอมให้เกลือแร่ต่างๆก่อตัวขึ้นใหม่และ

                  ยืดเวลาให้สารอาหารที่จ่าเป็นส่าหรับพืช  โดยกรดฟุลวิกช่วยเตรียมแร่ธาตุต่างๆ ให้ท่าปฏิกิริยากับเซลล์และ
                  ช่วยให้แร่ท่าปฏิกิริยากันเอง  แล้วแตกตัวออกอยู่ในรูปของไอออนแล้วถูกท่าให้หมดฤทธิ์ในการยึดติดอยู่กับ

                  กรดฟุลวิกด้วยอิเลคโตรไลท์ของกรดฟุลวิก (Christman  et  al.,  1983)   กรดฟุลวิกยังสามารถละลายแปร
                  สภาพและช่วยในการเคลื่อนย้าย เกลือแร่ วิตามิน โคเอนไซม์ ออกซิน ฮอร์โมนต่างๆ และสารปฏิชีวนะ

                  ธรรมชาติ  พบได้ทั่วไปในดินให้พร้อมใช้ส่าหรับพืช  โดยให้รากพืชง่ายต่อการดูดซึมและผ่านผนังเซลล์ได้อย่าง

                  ง่ายๆ (Prakash, 1971; Williams, 1963)  ซึ่งสารเหล่านี้มีผลในการกระตุ้นให้พืชเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์
                  และแข็งแรง และช่วยให้เกิดแบคทีเรีย เชื้อรา และแอติโนไมซิสเพื่อย่อยสลายซากพืชในดิน (Kanonova,

                  1966)   นอกจากนี้กรดฟุลวิกช่วยเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์หลายชนิด ได้แก่ อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส  ทรานซ์
                  แอมไมเนส์ และ อินเวอรเตช ( Khristeva et al., 1962)  และกรดฟุลวิกเป็นตัวกระตุ้นกลไกด้านพันธุกรรม

                  ของพืชให้ท่างานที่สูงขึ้น  พบว่าเมื่อเซลล์พืชได้รับกรดฟุลวิกจะสามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าเดิม เพราะมีการ

                  รับออกซิเจนที่มากขึ้นและกรดนี้จะช่วยให้มีการซึมผ่านรากได้ดี  ท่าให้รากพืชได้รับออกซิเจนเพิ่มขึ้น  โดย
                  ออกซิเจนมีหน้าที่ส่าคัญๆ ของเซลล์ในการช่วยเปลี่ยนรูปแบบการเมตาโบลิซึ่มของคาร์โบไฮเดรทให้เป็น
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45