Page 50 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 50

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         39


                         8.3 การบุกเบิกพื้นที่ตัดไม้ท่าลายป่าตลอดเวลาท่าให้อินทรียวัตถุในธรรมชาติลดน้อยลงไปเรื่อยๆ

                         8.4 ขาดมาตรการอนุรักษ์ดินและน้่าที่เหมาะสม ท่าให้อินทรียวัตถุถูกน้่าชะล้างลงสู่แม่น้่าล่าคลอง
                  ตลอดเวลา

                         8.5 สภาพดินของแต่ละท้องที่ ดินที่เป็นดินทรายเมื่อขาดอินทรียวัตถุดินไม่สามารถเกาะตัวกันได้ท่า

                  ให้น้่าและปุ๋ยสูญหายไปจากดินอย่างรวดเร็ว ส่วนดินเหนียวหากขาดอินทรียวัตถุดินจะแน่นทึบน้่าไม่สามารถ
                  ซึมผ่านไปได้ แร่ธาตุอาหารของพืชจึงถูกน้่าพัดพาไป เป็นต้น (อรรถและคณะ, 2548)

                  9. หลักการเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน

                     หลักการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินมี 3 วิธี คือ

                         9.1 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกวิธีนี้สามารถก่าหนดอัตราการใส่ได้

                         9.2 การปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ปอเทือง และโสนอัฟริกัน  เพื่อท่าการสับกลบเป็นปุ๋ยพืช
                  สด  วิธีนี้ไม่สามารถก่าหนดอัตราได้เพราะปริมาณของชีวมวลที่ได้แต่ละครั้งขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและอายุพืช

                  ปุ๋ยสด
                         9.3 การไถกลบเศษพืช เช่น การไถกลบตอซังข้าว ข้าวโพด หรือวัชพืช  วิธีนี้ไม่สามารถก่าหนดอัตรา

                  ได้เพราะปริมาณชีวมวลของเศษพืชที่ไถกลบแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ปลูก  ความมากน้อยของส่วนที่
                  ตกค้างในแปลงหลังเก็บเกี่ยวการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในดิน

                         โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดินให้สูงขึ้นหากปริมาณที่มีอยู่เดิมไม่สูงพอ  โดยพยายาม

                  เพิ่มขึ้นประมาณปีละ 0.5 เปอร์เซ็นต์ จนได้ไม่น้อยกว่า 2.5 เปอร์เซ็นต์  แต่ถ้าสามารถเพิ่มได้ถึง 3.0
                  เปอร์เซ็นต์จะมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง  โดยควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ทุกปีเพื่อชดเชยส่วนที่สลายไปในช่วงเวลาที่ผ่าน

                  มา  ถ้ารักษาอินทรียวัตถุในดินระดับนี้ไว้อย่างต่อเนื่องก็นับได้ว่าปรับปรุงดินจนมีศักยภาพสูง  ส่วนระดับธาตุ

                  อาหารที่ปลดปล่อยออกมาว่าเพียงพอกับพืชที่ปลูกหรือไม่  ควรท่าการวิเคราะห์ระดับธาตุอาหารที่เป็น
                  ประโยชน์ในดิน  ประกอบด้วยธาตุหลัก ธาตุรองและจุลธาตุ  เพื่อน่าผลที่ได้มาวิเคราะห์ความเชื่อมั่นว่า

                  เพียงพอกับพืชที่ปลูกอย่างแท้จริง ก่อนการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินควรท่าการประเมินระดับอินทรียวัตถุในดิน
                  ซึ่งระดับเกณฑ์มาตรฐานอินทรียวัตถุในดิน ดังตารางที่ 2.5  แล้วจึงก่าหนดเป้าหมายการเพิ่มและจัดหาปุ๋ย

                  อินทรีย์ มี 2 ขั้นตอน ดังนี้
                           1) การวิเคราะห์ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน

                             อินทรียวัตถุในดิน คือ ส่วนที่เป็นอินทรียสารในดิน  ซึ่งประกอบด้วย เศษซากพืชหรือสัตว์ที่ผ่าน

                  การย่อยสลายไปแล้ว  เซลล์และเนื้อเยื่อของจุลินทรีย์และอินทรียสารต่างๆ ซึ่งจุลินทรีย์สังเคราะห์ขึ้น  ในการ
                  วิเคราะห์ปริมาณอินทรียวัตถุในดินที่มีในดินบน (0 – 15 เซนติเมตร) ในพื้นที่ 1 ไร่ ต้องทราบค่าความ

                  หนาแน่นรวมของดินและค่าปริมาณอินทรียวัตถุในดินโดยได้จากเก็บตัวอย่างของดินบนในพื้นที่เป้าหมายและ

                  ส่งวิเคราะห์หาปริมาณอินทรียวัตถุ
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55