Page 42 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         31


                         4.2 อัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ของสารอินทรีย์

                             สารประกอบคาร์บอนและไนโตรเจนของสารอินทรีย์  เป็นสิ่งที่จ่าเป็นต่อการเจริญเติบโตของ
                  จุลินทรีย์  โดยจุลินทรีย์จะย่อยสลายสารอินทรีย์คาร์บอนจนกระทั่งเป็นโมเลกุลเล็กและน่าเข้าไปใยเซลล์

                  เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานและสร้างส่วนประกอบของเซลล์ส่วนสารประกอบไนโตรเจนจะถูกย่อยสลายเช่นกัน

                  และจุลินทรีย์ใช้เป็นแหล่งไนโตรเจน  เพื่อสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น สารโปรตีนและกรดนิวคลีอิก เป็น
                  ต้น  ดังนั้นปริมาณของคาร์บอนและไนโตรเจนของอินทรียวัตถุ เรียกว่าC/N ratioที่เพียงพอกับความต้องการ

                  ของจุลินทรีย์  จะท่าให้การย่อยสลายสารอินทรีย์มีประสิทธิภาพมากที่สุด  อินทรียวัตถุที่มี C/N  ratioที่
                  เหมาะสมกับความต้องการของจุลินทรีย์อยู่ในช่วงประมาณ 20 : 1 ถึง 30 : 1  โดยทั่วไปอินทรียวัตถุที่มี C/N

                  ratio กว้างจะสลายตัวได้ช้ากว่าอินทรียวัตถุที่มี C/N  ratioแคบ เช่น ฟางข้าวและหญ้าแห้งมี C/N  ratio
                  ประมาณ  80 : 1 จะสลายตัวได้ช้ากว่าพืชตระกูลถั่ว  ซึ่งมี C/N ratio ประมาณ 20:1 เป็นต้น (คณาจารย์

                  ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541, ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)  ในการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์

                  พบว่า 2 ใน 3 ส่วนของสารอินทรีย์คาร์บอนจะถูกออกซิไดส์ให้เป็นคาร์บอนไดออกไซต์ในกระบวนการสร้าง
                  พลังงานของจุลินทรีย์ที่เหลือ 1 ใน 3 ส่วนน่าไปใช้สร้างเซลล์ของจุลินทรีย์  ดังนั้นการย่อยสลายสารอินทรีย์

                  ค่า C/N ratioของพืชจึงลดลงไปเรื่อยๆ

                         ค่า C/N  ratioของเศษพืชเมื่อใส่ลงดินจะมีผลต่อปริมาณไนโตรเจนในดิน  โดยกระบวนการ
                  mineralization และ immobilization ของจุลินทรีย์ดิน ภาพที่ 2.1 ดังนี้

                         1)  C/N ratio มีค่ามากกว่า 30 : 1 มีผลท่าให้กระบวนการเกิด immobilization ของไนโตรเจน
                  จะสูงกว่ากระบวนการเกิด mineralization  เนื่องจากไนโตรเจนที่ได้จากการย่อยสลายสารอินทรีย์ไม่

                  เพียงพอกับความต้องการของจุลินทรีย์  ดังนั้นจุลินทรีย์ไปน่าเอาไนโตรเจนในดินมาใช้สร้างองค์ประกอบของ
                  เซลล์  ท่าให้ธาตุไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดินลดลงจนอาจท่าให้พืชเกิดการขาดธาตุไนโตรเจนได้

                         2)  C/N ratio มีค่าระหว่าง 30 : 1 ถึง 20 : 1 กระบวนการทั้งสองจะเกิดใกล้เคียงกัน

                         3)  C/N ratio มีค่าน้อยกว่า 20 : 1 มีผลท่าให้กระบวนการเกิด mineralization ของไนโตรเจนจะ
                  สูงกว่ากระบวนการเกิด immobilization  ท่าให้สารประกอบไนโตรเจนเหลือและถูกปลดปล่อยออกมาสู่ดิน

                  ต่อจากนั้นค่า C/N ratio จะยังลดลงไปเรื่อยๆ ตามอัตราการสลายตัวของสารอินทรีย์  แล้วค่อนข้างคงที่เมื่อ
                  C/N ratio มีค่าประมาณ 12 : 1 ถึง 10 : 1  ซึ่งเป็นค่า C/N ratio ของเซลล์จุลินทรีย์และอินทรียวัตถุในดิน

                  ดังตารางที่ 2.2 (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541 )

                                                                          mineralization


                       สารประกอบอินทรีย์ เช่น กรดอะมิโน                           สารอนินทรีย์ในดิน
                                                                                           +
                        และโปรตีนในเซลล์ของจุลินทรีย์ดิน                               (NH )
                                                                                          4

                                                         immobilization



                  ภาพที่ 2.2 กระบวนการ mineralization และ immobilization ของไนโตรเจนในดินโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์
                  ที่มา: คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา (2541)
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47