Page 43 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         32


                  ตารางที่ 2.2 ค่า C/N ratio ของสารอินทรีย์ต่างๆ โดยประมาณ


                               ชนิดของสารประกอบ                                  C/N ratio


                                   จุลินทรีย์ดิน                                 5 – 15


                                   อินทรียวัตถุในดิน                             10 – 15

                                   ปุ๋ยหมัก                                      15 – 25

                                   ฟางข้าว                                       80 - 120


                                   ต้นข้าวโพด                                    40 – 70

                                   กากอ้อย                                       140 – 200


                                   ขี้เลื่อย                                     200 – 300


                  ที่มา: ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน (2551)

                  .         4.3 อุณหภูมิในดิน

                             อุณหภูมิมีผลควบคุมกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินโดยตรง  อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะเร่งอัตราการ
                  สลายตัวของสารอินทรีย์ได้มาก  ดังนั้นดินในเขตร้อนชื้น เช่น ประเทศไทยจะมีอินทรียวัตถุค่อนข้างต่่าเมื่อ

                  เปรียบเทียบกับประเทศในเขตหนาวหรือเขตอบอุ่น (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา,  2541  )  จุลินทรีย์บาง
                  ชนิดเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิต่่า  บางชนิดเจริญเติบโตได้ดีในอุณหภูมิสูง ความรวดเร็วในการสลายตัวของ

                  อินทรียวัตถุขึ้นอยู่กับความสามารถในการย่อยสลายของจุลินทรีย์ดินที่เจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมินั้น ๆ

                  นอกจากนี้แล้วอุณหภูมิยังมีผลต่อปฏิกิริยาต่างๆ อีกด้วย  โดยทั่วไปแล้วอุณหภูมิที่จัดว่าเหมาะสมในการ
                  สลายตัวของอินทรียวัตถุอยู่ระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส (อรรถและคณะ, 2548)

                         4.4 การระบายอากาศของดิน
                             กระบวนการสร้างพลังงานที่มีประสิทธิภาพที่สุดของจุลินทรีย์ คือ กระบวนการหายใจโดยใช้

                  ก๊าซออกซิเจน  ดังนั้นสภาพการระบายอากาศของดินจึงมีผลต่อกิจกรรมย่อยสลายเศษพืชของจุลินทรีย์

                  โดยตรง  เพราะท่าให้การย่อยสลายเกิดขึ้นได้รวดเร็วและสมบูรณ์  ส่วนใหญ่จะสลายตัวจนกลายเป็นก๊าซ
                  คาร์บอนไดออกไซด์  จุลินทรีย์ประเภทที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่มีอากาศ (aerobic  condition) ได้แก่

                  เชื้อรา  แบคทีเรียที่ต้องการอากาศและแอกติโนไมซีสต์เป็นจุลินทรีย์กลุ่มหลักในการท่าให้เกิดการแปรสภาพ
                  ดังกล่าว  ในดินเนื้อหยาบหรือดินที่มีการไถพรวนบ่อยครั้งจะมีอัตราการสลายตัวของสารอินทรีย์รวดเร็วและมี

                  ระดับอินทรียวัตถุเหลืออยู่ในดินค่อนข้างต่่าเพราะดินมีการระบายอากาศดี  ในทางตรงกันข้ามดินที่อยู่ใน
                  สภาพขาดอากาศหรือมีน้่าท่วมขังอัตราการสลายตัวของสารอินทรีย์จะลดลงอย่างมากและเกิดขึ้นได้ไม่

                  สมบูรณ์  สารที่ได้จากกระบวนการดังกล่าวมักเป็น กรดอินทรีย์  แอลกอฮอร์และสารอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น

                  amine  mercaptan  aldehyde  ketone และเกิดก๊าซต่างๆ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจน
                  ก๊าซไข่เน่า (H S)  หรือแม้แต่ก๊าซมีเทน (CH )    จุลินทรีย์ประเภทที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่ไม่มีอากาศ
                              2
                                                       4
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48