Page 48 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 48
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
37
ตารางที่ 2.4 ปริมาณพื้นที่ผิวหน้าของอินทรียวัตถุ เมื่อเปรียบเทียบกับดินชนิดต่าง ๆ
ชนิด พื้นที่ ตร.ซม. / ดิน 1 กรัม
ดินทรายหยาบ 23
ดินทรายละเอียดปานกลาง 90
ดินทรายละเอียดมาก 230
ดินฝุ่น 450
ดินเหนียว 8,000,000
อินทรียวัตถุ 8,000,000
ที่มา: ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน (2551)
6.3 ช่วยเพิ่มความต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (buffer capacity)
เนื่องจากอินทรียวัตถุในดินมีประจุลบเป็นจ่านวนมากและมีความสามารถในการดูดซับประจุ
บวกได้สูง จึงมีผลท่าให้ดินที่มีอินทรียวัตถุสูงมีความต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
ได้ดี ซึ่งแสดงให้เห็นได้ ดังภาพที่ 2.5
+
+
Adsorbed H Soil solution H
(reserved acidity) (active acidity)
ภาพที่ 2.5 ความต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
ที่มา: ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน (2551)
ปฏิกิริยานี้เป็น equilibrium reaction ฉะนั้นไม่ว่าจะมีการเพิ่มสารประกอบที่มีสมบัติเป็นกรด
หรือด่างลงในดิน ปฏิกิริยาดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นทันทีเพื่อรักษา equilibrium โอกาสที่กรดหรือด่างจะสะสม
อยู่ในสารละลายดิน จึงมีน้อยมากและเป็นเหตุให้ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย
เท่านั้น ถ้าดินมีอินทรียวัตถุสะสมในปริมาณที่เหมาะสม (คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2541; ส่านัก
เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)
6.4 ช่วยลดความเป็นพิษของธาตุบางชนิด
เนื่องจากฮิวมัสที่ได้จากการสลายตัวของอินทรียวัตถุจะรวมตัวกับธาตุเหล่านี้ เช่น เหล็ก อะลู
มินั่มและแมงกานีส ซึ่งมีมากในดินกรด เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่มีความคงตัว เพราะฮิวมัสมี
functional group คือ carboxylic acid, phenolic, alcohol และenolic hydroxyls ท่าให้ธาตุที่เกิด
รวมตัวเป็นสารประกอบเชิงซ้อน โดยฮิวมัสจะอยู่ในรูปที่ไม่ละลายน้่าท่าให้ความเป็นพิษของเหล็ก อะลูมินั่ม
และแมงกานีสลดน้อยลง (ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)