Page 144 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 144

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        133


                  9. หลักการพิจารณาลักษณะของน้ําหมักที่หมักสมบูรณ์แล้ว

                         น้่าหมักที่ผ่านกระบวนการหมักโดยสมบูรณ์แล้ว  สามารถน่าไปใช้ประโยชน์ได้มีลักษณะ ดังนี้ (กลุ่ม

                  อินทรียวัตถุและวัสดุเหลือใช้, 2545)
                         9.1 การเจริญของจุลินทรีย์น้อยลง  โดยสังเกตจากคราบเชื้อจุลินทรีย์ที่พบในช่วงแรกจะลดลง

                  แสดงว่า กระบวนการหมักสิ้นสุดลง
                         9.2  กลิ่นแอลกอฮอล์ลดลง  เนื่องจากจุลินทรีย์จ่าพวกยีสต์ได้ใช้น้่าตาลเสร็จสิ้นกระบวนการ

                  เปลี่ยนเป็นแอลกอฮอรล์  และจุลินทรีย์ได้ใช้แอลกอฮอล์ผลิตเป็นกรดอินทรีย์  ท่าให้การด่าเนินกิจกรรมการ

                  หมักลดลง
                         9.3 มีกลิ่นเปรี้ยวเพิ่มขึ้น  ซึ่งเกิดจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่ผลิตกรดอินทรีย์มากขึ้น  ลักษณะการเป็นกรด

                  สูงขึ้น
                         9.4 ไม่พบฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  เนื่องจากการด่าเนินกิจกรรมการย่อยสลายวัสดุของ

                  จุลินทรีย์มีน้อยมาก  ท่าให้ฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดน้อยมาก

                         9.5 ได้ของเหลวใสสีน้ําตาล  เป็นการแสดงว่ากิจกรรมการย่อยสลายของจุลินทรีย์เสร็จสิ้นสมบูรณ์
                         9.6 น้ําหมักมีคุณสมบัติเป็นกรดสูง  โดยมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 3 – 4  เนื่องจาก

                  จุลินทรีย์ในกระบวนการหมักได้ผลิตกรดอินทรีย์  จ่าพวกกรดแลคติกและกรดอะซีติก

                  10. ประโยชน์ของน้ําหมัก

                        ประโยชน์ของน้่าหมักมีผลต่อสมบัติทางเคมี ฟิสิกส์และชีวภาพบางประการของดินและการเจริญเติบโต

                  ของพืช ดังนี้
                        10.1 สมบัติทางชีวภาพของดิน

                               การใส่น้่าหมักลงในดินมีผลท่าให้ปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มขึ้น  เนื่องจากในน้่า
                  หมักมีแหล่งสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตและกิจกรรมของจุลินทรีย์ ได้แก่ แร่ธาตุ กรด

                  อินทรีย์ และฮอร์โมน  ซึ่งสอดคล้องกับรายงานกรมพัฒนาที่ดิน (2544) ว่า การไม่ใส่น้่าหมักและการใส่น้่า

                  หมักชนิดต่างๆ (เจือจางน้่าหมัก 1 ส่วนต่อน้่า 500 ส่วน) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่ ในดินชุดจัน
                  ทึก เป็นเวลา 21 วัน พบว่า การไม่ใส่น้่าหมัก  ใส่น้่าหมักจากปลา, ผัก, ผลไม้ และหอยเชอรี่  ก่อนการทดลอง

                  มีปริมาณจุลินทรีย์แบคทีเรียทั้งหมด  จุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนอิสระ  จุลินทรีย์แปรสภาพฟอสฟอรัสและยีสต์
                   ดังตารางที่ 7.8  และหลังจากใส่เป็นเวลา 21 วัน พบว่า การใส่ปุ๋ยหมักอย่างเดียวมีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด 4

                  ชนิด เพิ่มขึ้นเป็น 5.22, 2.13, 2.04 และ 3.33 log  No  ต่อกรัมของดิน  การเพิ่มขึ้นของจุลินทรีย์เนื่องจาก

                  การใส่ปุ๋ยหมักซึ่งเป็นแหล่งอาหารและพลังงานรวมทั้งเป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์  ส่วนการใส่น้่าหมักชนิดต่างๆ
                  ร่วมกับปุ๋ยหมัก พบว่า ปริมาณจุลินทรีย์ทั้ง 4 ชนิด มีจ่านวนเพิ่มขึ้นและมากกว่าการใส่ปุ๋ยหมักอย่างเดียว

                  โดยมีจ่านวนเพิ่มขึ้นเป็นระหว่าง 5.95 – 6.34, 2.43 – 4.19, 3.12 – 4.15 และ 3.89 – 4.45 log  No  ต่อ
                  กรัมของดิน ตามล่าดับ ดังตารางที่ 7.9
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149