Page 147 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 147

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        136


                  เจริญเติบโตของรากและล่าต้นพืชได้ดี  แต่อย่างไรก็ตามการใส่น้่าหมักจะมีผลตอบสนองของพืชเด่นชัด  ต้อง

                  มีการจัดการดินให้เหมาะสมทั้งในด้านกายภาพและเคมีของดินก่อน กล่าวคือ การปรับปรุงบ่ารุงดินด้วยปุ๋ย
                  อินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด  เพื่อให้ดินมีโครงสร้างที่ดี  มีการถ่ายเทอากาศ และธาตุอาหาร

                  ที่เพียงพอแก่การเจริญเติบโตของพืช  ดังรายงานกรมพัฒนาที่ดิน (2544) ว่า การไม่ใส่ปุ๋ยหมักและน้่าหมัก

                  การไม่ใส่น้่าหมักและการใส่น้่าหมักชนิดต่างๆ (เจือจางน้่าหมัก 1 ส่วนต่อน้่า 500 ส่วน) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมัก
                  อัตรา 4 ตันต่อไร่ ในดินชุดจันทึก  โดยน่าน้่าหมักชนิดต่างๆ รดลงดินในช่วงเริ่มต้นการทดลอง  หลังจากนั้น

                  ปลูกข้าวโพดหวานและฉีดพ่นน้่าหมักทุก 7 วัน หลังจากปลูกข้าวโพดหวาน 10 วัน พบว่า การไม่ใส่ปุ๋ยหมัก
                  และน้่าหมักต้นข้าวโพดหวานมีการเจริญเติบโตน้อยสุด คือ มีความกว้างใบและความสูง 1.15 และ 3.07

                  เซนติเมตร ตามล่าดับ  ส่วนการใส่ปุ๋ยหมักต้นข้าวโพดหวานมีความกว้างใบและความสูง 1.23 และ 3.82
                  เซนติเมตร ตามล่าดับ  ส่าหรับการใส่น้่าหมักจากปลา,  ผัก และผลไม้ร่วมกับปุ๋ยหมัก มีผลท่าให้ต้นข้าวโพด

                  หวานมีความกว้างใบและความสูงเพิ่มขึ้นและมากกว่าการใส่ปุ๋ยหมักอย่างเดียว  โดยเพิ่มขึ้นระหว่าง 1.45 –

                  1.47 และ 5.20–6.02เซนติเมตร ตามล่าดับ  ดังตารางที่ 7.12

                  ตารางที่ 7.12 ผลของน้ําหมักต่อการเจริญเติบโตข้าวโพดหวานอายุ 10 วัน ในชุดดินจันทึก

                          ตํารับการทดลอง               ความกว้างของใบ (ซม.)             ความสูง(ซม.)


                  1. ไม่ใส่ปุ๋ยหมักและน้่าหมัก                 1.15                         3.07

                  2. ใส่ปุ๋ยหมัก                               1.23                         3.82

                  3. ใส่ปุ๋ยหมัก + น้่าหมักจากปลา              1.45                         5.20

                  4.ใส่ปุ๋ยหมัก + น้่าหมักจากผัก               1.45                         5.28

                  5. ใส่ปุ๋ยหมัก + น้่าหมักจากผลไม้            1.47                         6.02


                  ที่มา: ดัดแปลงมาจากกรมพัฒนาที่ดิน (2544)
                        2) ด้านการส่งเสริมการงอกของเมล็ดพืช

                           เนื่องจากในน้่าหมักมีส่วนประกอบของฮอร์โมนออกซินและจิบเบอเรลลิน  ซึ่งมีผลต่อการยืดตัวของ

                  เซลล์รากที่งอกออกมาจากส่วนของเมล็ด  ดังรายงานกรมพัฒนาที่ดิน (2544) ว่า การไม่ใส่ปุ๋ยหมักและน้่า
                  หมัก  การใส่ปุ๋ยหมัก และการใส่ปุ๋ยหมักร่วมกับน้่าหมักชนิดต่างๆ (เจือจางน้่าหมัก 1ส่วนต่อน้่า 500 ส่วน)

                  โดยใช้ปุ๋ยหมักอัตรา 4 ตันต่อไร่ ในดินชุดจันทึก ต่อการงอกของเมล็ดข้าวโพดหวานและกวางตุ้ง พบว่า การไม่
                  ใส่ปุ๋ยหมักและน้่าหมักอัตราการงอกของเมล็ดข้าวโพดหวานและกวางตุ้ง คือ 66.67 และ 76.7 เปอร์เซ็นต์

                  ตามล่าดับ  ส่วนการใส่ปุ๋ยหมักอัตราการงอกของเมล็ดข้าวโพดหวานและกวางตุ้งมีค่ามากกว่า คือ 77.67 และ
                  86.7 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ  ส่วนการใส่น้่าหมักชนิดต่างๆ ร่วมกับปุ๋ยหมักมีผลท่าให้อัตราการงอกของเมล็ด

                  ข้าวโพดหวานและกวางตุ้งมากกกว่าการใส่ปุ๋ยหมักอย่างเดียว  โดยเพิ่มขึ้นระหว่าง 89.00 – 100.00 และ

                  90.60 – 93.30 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ  ดังตารางที่ 7.13
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152