Page 142 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 142

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        131


                         6.1 ชนิดและองค์ประกอบของวัสดุหมัก  วัสดุจากเศษปลาจะย่อยยากกว่าวัสดุผักและผลไม้

                  เนื่องจากปลามีองค์ประกอบของโปรตีนและส่วนของกระดูกปลา  ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายนานขึ้น
                  ในขณะที่วัสดุหมักที่เป็นเศษพืชจะใช้ระยะเวลาในการหมักสั้นกว่า  เนื่องจากองค์ประกอบของวัสดุหมักจาก

                  ผักและผลไม้มีปริมาณเซลลูโลสต่่า  แต่วัสดุจากปลาจะมีแร่ธาตุที่อยู่ในรูปเป็นประโยชน์มากกว่า  นอกจากนี้

                  ในวัสดุผักหรือผลไม้จะมีองค์ประกอบของน้่าตาลอยู่มากกว่าวัสดุประเภทเนื้อสัตว์  สารประกอบของน้่าตาลที่
                  อยู่ในวัสดุผักและผลไม้นี้จะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการหมักได้ดี  ยีสต์จะใช้น้่าตาลที่มีอยู่ในองค์ประกอบ

                  ของวัสดุหมักแล้วแปรสภาพให้เป็นของเหลวเป็นการถนอมผลิตภัณฑ์ไว้  โดยผ่านกระบวนการหมัก
                         6.2 ความอวบน้ําของวัสดุหมัก  วัสดุที่มีความชื้นสูงหรืออวบน้่า  จะท่าให้กระบวนการหมักด่าเนิน

                  การย่อยสลายได้ดี เช่น วัสดุเหลือใช้ จากผักกาดขาว ฟักเขียวและมะเขือเทศ  เมื่อน่าไปผ่านกระบวนการ
                  หมักในสภาพที่เป็นของเหลวแล้วในช่วง 1 – 3 วันแรกของการหมัก  จะมีของเหลวออกมาจากวัสดุผักได้ง่าย

                  โดยผ่านกระบวนการทางชีวเคมี  หรือถ้าเป็นวัสดุเหลือใช้จากผลไม้ เช่น แตงโม มะละกอ มะม่วง สับปะรด

                  ส้ม ล่าไย ลิ้นจี่และผลไม้อีกหลายชนิด  วัสดุเหลือใช้ดังกล่าวนี้มีความชื้นสูงประมาณ 70 – 90 เปอร์เซ็นต์ จะ
                  ท่าให้สารละลายจากพืชปลดปล่อยออกได้รวดเร็ว  ในกรณีของวัสดุเหลือใช้ที่ได้มาจากสัตว์ เช่น ปลาหรือหอย

                  นั้น  สารละลายที่จะถูกสกัดออกมาจะใช้ระยะเวลานานกว่าพืชผักและผลไม้  เนื่องจากสัตว์มีองค์ประกอบ

                  ของโมเลกุลที่ซับซ้อนมากกว่าในเซลล์พืช  และนอกจากนี้ความชื้นจะต่่ากว่าเซลล์พืช
                         6.3 แหล่งอาหารคาร์บอนของจุลินทรีย์  ในกระบวนการหมักน้่าตาลเป็นแหล่งอาหารคาร์บอนที่

                  ส่าคัญของจุลินทรีย์ในการด่าเนินกิจกรรม เช่น กากน้่าตาล  น้่าตาลทรายแดง  น้่าตาลทรายขาว  น้่าอ้อยสด
                  และน้่าตาลสด  ดังนั้น ในการหมักนอกจากจะเกิดกิจกรรมการย่อยสลายจุลินทรีย์แล้ว  ความเข้มข้นของ

                  น้่าตาลยังมีผลต่อการเกิดกระบวนการ plasmolysis เพราะท่าให้เซลล์พืชหรือสัตว์แตกออกและได้สารละลาย
                  ถูกสกัดออกมาเพิ่มขึ้น  เนื่องจากวัสดุผลไม้มีองค์ประกอบของน้่าตาลในปริมาณที่มากกว่าวัสดุหมักชนิดอื่น

                  ดังนั้นในการหมักวัสดุจากสัตว์ควรใช้ผลไม้ร่วมด้วย  เพราะจะท่าให้การด่าเนินกิจกรรมของจุลินทรีย์ดีขึ้น

                         6.4  การระบายอากาศ  โดยทั่วไปแล้วกระบวนการหมักวัสดุลักษณะสดนี้จะเกิดขึ้นในสภาพที่ไม่มี
                  ออกซิเจนมากกว่ามีออกซิเจนและได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO ) ในระหว่างการหมัก ดังนั้นจะต้องให้มี
                                                                          2
                  การระบาย CO  ออกไป  จึงไม่ควรปิดฝาให้สนิท และควรมีการกวนวัสดุหมักทุก 7 วัน
                               2
                         6.5 ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง  มีความเกี่ยวข้องในกระบวนการหมัก  เนื่องจากกิจกรรมของ

                  จุลินทรีย์  โดยกลุ่มจุลินทรีย์พวก acetic หรือ lactic bacteria  จะปลดปล่อยกรดอินทรีย์พวก acetic หรือ

                  lactic  acid ในกระบวนการหมัก  ท่าให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่างเริ่มแรกมีค่าประมาณ 5 และสิ้นสุด
                  ขบวนการจะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 3 – 4

                         6.6 อุณหภูมิ  จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการหมักดังกล่าวนี้ เป็นจุลินทรีย์ที่เจริญได้ดีใน
                  อุณหภูมิปกติหรือระหว่าง 30 – 35 องศาเซลเซียส และไม่ต้องการแสง

                         6.7 ความชื้น  ในกระบวนการหมักจะต้องมีความชื้นสูง  โดยมีการเติมน้่าให้ท่วมวัสดุหมัก  ซึ่งเป็น

                  สภาพที่มีความเหมาะสมในกระบวนการหมักโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์  เพื่อท่าให้สารละลายในวัสดุหมัก
                  ออกมาจากเซลล์
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147