Page 140 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 140

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        129


                  ผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นออกมาในปริมาณเล็กน้อย ได้แก่ glycerol, acetic acid, organic acids, amino acids,

                  purines,  pyrimidines และ alcohol    นอกจากนี้ยีสต์จะผลิตวิตามินและฮอร์โมนในระหว่างกระบวนการ
                  หมักด้วย  ในกระบวนการหมักนั้นจะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่่ามาก  แต่ยีสต์สามารถเจริญเติบโตได้ดีใน

                  สภาพที่เป็นกรดสูงระหว่าง 4.0 – 6.5  แอลกอฮอล์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการหมักเป็นปัจจัยหนึ่งที่ควบคุม

                  คุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์น้่าด้วย
                         3.2 กลุ่มแบคทีเรียผลิตกรดแลคติก (Lactic  acid  bacteria) เป็นแบคทีเรียแกรมบวกไม่มีการ

                  สร้างสปอร์ (endospore)  รูปร่างของเซลล์มีลักษณะเป็นท่อน จัดอยู่ใน Family Lactobacillaceae  มีการ
                  เจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่ไม่มีออกซิเจน ได้แก่ แบคทีเรียในสกุล Lactobacillus  sp. และใช้น้่าตาลเป็น

                  แหล่งอาหารและพลังงานโดยทั่วไปแล้วแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติกจะมีอยู่ในสภาพธรรมชาติ เช่น ในพืชผัก
                  ผลไม้ เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์นม  กรดแลคติกมีบทบาทในการถนอมอาหารหลายชนิด เช่น ผักดองต่างๆ

                  และผลิตภัณฑ์นมพวกท่าเนยแข็ง  จุลินทรีย์ดังกล่าวมีความสามารถทนทานต่อสภาพความเป็นกรดสูงอยู่

                  ในช่วงระหว่าง 2.0 – 3.5  ซึ่งสภาวะความเป็นกรดสูงนี้จะมีผลกระทบต่อการยับยั้งการเพิ่มจ่านวนเซลล์หรือ
                  ก่าจัดกลุ่มจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการเน่าเสียของอาหาร

                         3.3 กลุ่มจุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์ไนโตรเจน จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการแปรสภาพอินทรีย์

                  ไนโตรเจนให้เป็นอนินทรีย์ไนโตรเจนประกอบด้วย แบคทีเรีย  รา และแอคติโนมัยซีส  ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจาก
                  กระบวนการดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่จะได้แอมโมเนีย  จึงเรียกกลุ่มจุลินทรีย์เหล่านี้ว่า ammonifiers  กลุ่ม

                  แบคทีเรียในสกุล Bacillus  sp.  สามารถผลิต extracellular  enzyme  ออกมาภายนอกเซลล์ เรียกว่า
                  proteolytic enzyme (protease)  ท่าหน้าที่ย่อยโปรตีนให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลงเป็นกรดอะมิโน

                         3.4  กลุ่มจุลินทรีย์แปรสภาพฟอสฟอรัส  จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการแปรสภาพอินทรีย์ฟอสฟอรัส
                  และอนินทรีย์ฟอสฟอรัสในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เป็นรูปฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช  ประกอบด้วย

                  แบคทีเรียในสุกล Bacillus sp.และราในสกุล Aspergillus sp.  โดยจุลินทรีย์จะสร้างน้่าย่อยและกรดอินทรีย์

                  เพื่อละลายฟอสฟอรัสออกมาให้เป็นรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช  ซึ่งในองค์ประกอบเศษปลา พบว่า มี
                  สารประกอบฟอสฟอรัสทั้งในรูปอินทรียสารและอนินทรียสาร  ในส่วนของอินทรียสารฟอสฟอรัสอยู่ในเนื้อ

                  ปลาประมาณ 10 – 15 เปอร์เซ็นต์  ส่วนของอินทรียสารฟอสฟอรัสอยู่ในกระดูกและเกล็ดปลาประมาณ 85 –
                  90 เปอร์เซ็นต์  ดังนั้นจุลินทรีย์กลุ่มนี้จึงมีความเหมาะสมในการท่าหน้าที่ย่อยสลายอินทรียสารและอินทรีย

                  สารฟอสฟอรัสของเศษปลา  ท่าให้ได้ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและจุลินทรีย์  ในขณะเดียวกันจะได้

                  แคลเซ๊ยมออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชด้วย

                  4. วัตถุดิบสําหรับผลิตน้ําหมัก ประกอบด้วย

                         4.1 ชนิดของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร

                             วัสดุต้องมีลักษณะสด มี 2 ประเภท คือ
                             1) วัสดุเหลือใช้จากพืช  ได้แก่ เศษพืชผักต่างๆ  เศษผลไม้ และเศษอาหารจากบ้านเรือน

                             2) วัสดุเหลือใช้จากสัตว์ ได้แก่ เศษปลา  เศษหอย  รกหมู  หรือสัตว์ที่ตายแล้วแต่ยังไม่เน่า
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145