Page 138 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 138

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        127


                         2.5 ฮอร์โมน

                             จากการวิเคราะห์ฮอร์โมนในน้่าหมักแต่ละชนิด พบว่า มีความแตกต่างกันในชนิดของฮอร์โมนใน
                  น้่าหมักแต่ละชนิด  โดยน้่าหมักจากปลา หอยเชอรี่  ไข่ไก่ นมและถั่ว และผลไม้ จะมีปริมาณฮอร์โมน

                  จิบเบอเรลลินมาก  ส่วนน้่าหมักจากผักมีปริมาณน้อย  นอกจากนี้น้่าหมักจากผลไม้ และไข่ไก่ นม และถั่ว มี

                  ปริมาณฮอร์โมนไซโตไคนินมากกว่าน้่าหมักชนิดอื่นๆ ดังตารางที่ 7.6

                  ตารางที่ 7.6 ปริมาณฮอร์โมนน้ําหมักชนิดต่างๆ

                      ฮอร์โมน                                    วัสดุที่ใช้หมัก

                     (มก./ลิตร)        ผัก           ผลไม้           ปลา          หอยเชอรี่    ไข่ไก่ นมและถั่ว

                      ออกซิน      <0.10 – 3.00   0.13 – 1.40   <0.10 – 9.75     0.22 – 3.99     0.1 – 9.78

                    จิบเบอเรลลิน   9.1 – 38.1     5.2 – 215.5   16.9 – 620.2  15.1 – 323.0   39.7 – 217.7

                     ไซโตไคนิน     1.4 – 13.3     1.5 – 64.5      1.6 – 15.5     1.3 – 12.8     2.1 – 87.3

                  ที่มา: ออมทรัพย์และคณะ (2547)

                         2.6 เอนไซม์บางชนิด
                             ในกระบวนการหมักวัสดุอินทรีย์ลักษณะสดจะมีกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์บางชนิด  สามารถ
                  ผลิตเอนไซม์เพื่อแปรสภาพอินทรียสารให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชและจุลินทรีย์  โดยเอนไซม์ที่ผลิตได้

                  เช่น เอนไซม์เซลลูเลสท่าหน้าที่ย่อยสลายเซลลูโลส (ไฟเบอร์ที่พบในผักต่างๆ)  เอนไซม์โปรติเอส (protease)
                  ท่าหน้าที่ย่อยอาหารโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่ว  และเอนไซม์ฟอสฟาเทสท่าหน้าที่ปลดปล่อยธาตุ

                  ฟอสฟอรัสที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชให้เป็นประโยชน์ต่อพืช  จากรายงานกรมพัฒนาที่ดิน (2544) พบว่า น้่า

                  หมักจากปลาและหอยเชอรี่มีปริมาณเอนไซม์เซลลูเลสในปริมาณที่ต่่าน้่าหมักจากผักและผลไม้  โดยมีค่า
                  ระหว่าง 72.5 – 85.6, 43.6 – 68.4, 440.2 – 579.4 และ 470.5 – 592.8 มิลลิยูนิตต่อมิลลิกรัม ตามล่าดับ

                  ส่วนเอนไซม์ฟอสฟาเทส พบว่า น้่าหมักจากปลาและหอยเชอรี่มีปริมาณมากกว่าน้่าหมักจากผักและผลไม้
                  โดยมีค่าระหว่าง 379.2 – 406.8,  301.7 – 328.6,  57.3 – 69.0 และ 39.5 – 45.6 มิลลิยูนิตต่อมิลลิกรัม

                  ตามล่าดับ  ส่าหรับปริมาณเอนไซม์โปรติเอสจะท่าการวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนที่ปลดปล่อยออกมาจากเซลล์

                  พืชและสัตว์แทน  โดยปริมาณโปรตีนในน้่าหมักจากปลาและหอยเชอรี่มีปริมาณมากกว่าน้่าหมักจากผักและ
                  ผลไม้  โดยมีค่าระหว่าง 603.1 – 745.8, 702.5 – 763.9, 103.6 – 145.7 และ 114.6 – 128.9 ไมโครกรัม

                  ต่อมิลลิกรัม ตามล่าดับ
                         2.7 จุลินทรีย์

                             จากรายงานกรมพัฒนาที่ดิน (2543) พบว่า น้่าหมักจากปลา, ผัก, ผลไม้ และหอยเชอรี่ มี

                  ปริมาณจุลินทรีย์แบคทีเรียทั้งหมด  แบคทีเรียและราที่แปรสภาพฟอสฟอรัส และยีสต์ แต่มีปริมาณที่น้อยกว่า
                  ปุ๋ยหมัก  โดยมีปริมาณ  ดังตารางที่ 7.7
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143