Page 137 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 137

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        126


                         2.3 ความเป็นกรดเป็นด่างและค่าการนําไฟฟ้า

                             จากการวิจัยของออมทรัพย์และคณะ (2547) พบว่า ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้่าหมักทุก
                  ชนิดมีค่าเป็นกรด  โดยมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.6 – 4.7  เนื่องจากกระบวนการหมักวัสดุแต่ละชนิดจุลินทรีย์ที่

                  เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยสลายจะสร้างกรดอินทรีย์ในปริมาณมาก ได้แก่ กรดแลคติกและกรดอะซีติก

                  และพบว่าค่าการน่าไฟฟ้าของสารละลายน้่าหมักจากปลา ผักและหอยเชอรี่มีค่าใกล้เคียงกัน  และมีค่า
                  มากกว่าสารละลายน้่าหมักจากผลไม้และพืชพื้นเมือง  เหตุที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นผลมาจากเศษปลาและหอย

                  เชอรี่อาจมีแร่ธาตุโซเดียมหรือคลอรีน  จึงท่าให้มีค่าการน่าไฟฟ้าสูง ดังตารางที่ 7.4

                  ตารางที่ 7.4 ค่าความเป็นกรดเป็นด่างและค่าการนําไฟฟ้าน้ําหมักชนิดต่างๆ

                    วัสดุที่ใช้        ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง             ค่าการนําไฟฟ้า (เดลิซิเมนต่อเมตร)

                     หมัก         ต่ําสุด      สูงสุด        เฉลี่ย      ต่ําสุด       สูงสุด       เฉลี่ย

                      ปลา          4.0          4.7          4.4          20.3         27.0         21.6
                      ผัก          3.6          4.9          4.3           2.1         49.0         15.9

                     ผลไม้         3.4          3.9          3.6           1.4         16.8          3.8

                    หอยเชอรี่      4.3          4.9          4.7          17.4         45.0         29.2
                   พืชพื้นเมือง    3.6          4.1          3.8           1.7          2.9          2.2


                  ที่มา: ออมทรัพย์และคณะ (2547)

                         2.4 กรดฮิวมิก
                              น้่าหมักแต่ละชนิดจะมีองค์ประกอบของกรดฮิวมิกค่อนข้างแตกต่างกัน  กรดฮิวมิกเกิดขึ้นใน

                  ระหว่างกระบวนการหมัก  โดยช่วงแรกของการหมักจะเกิดการย่อยสลายของสารอินทรีย์จากวัสดุอินทรีย์แต่

                  ละชนิดเป็นไปอย่างรวดเร็ว  หลังจากนั้นการย่อยสลายจะเกิดช้าลงจนแปรสภาพเป็นสารฮิวมิก  ซึ่งเป็น
                  สารประกอบที่มีโครงสร้างซับซ้อนสลายตัวได้ยาก  สารฮิวมิกจะมีสมบัติเป็นสารคอลลอยด์ประกอบด้วย

                  ฮิวมิน กรดฟุลวิค และกรดฮิวมิก  โดยพบว่า ปริมาณกรดฮิวมิกในน้่าหมักจากไข่ไก่ นมและถั่ว มีค่ามากที่สุด

                  ส่วนน้่าหมักจากผักมีค่าน้อยที่สุด ดังตารางที่ 7.5

                  ตารางที่ 7.5 ปริมาณกรดฮิวมิกในน้ําหมักชนิดต่างๆ

                                  วัสดุที่ใช้หมัก                            กรดฮิวมิก (ร้อยละ)

                                       ผัก                                      0.02 – 0.14

                                      ผลไม้                                     0.03 – 1.00
                                      ปลา                                       0.02 – 0.59

                                    หอยเชอรี่                                   0.04 – 0.64
                                 ไข่ไก่ นมและถั่ว                               0.09 – 2.34


                  ที่มา: ออมทรัพย์และคณะ (2547)
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142