Page 135 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 135

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        124


                                                           บทที่ 7

                                            น้ําหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ําของชาวบ้าน

                  1. ความหมาย

                         น้ําหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ํา หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปของเหลวที่ได้มาจากการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้

                  จากพืชหรือสัตว์ลักษณะสดโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ในสภาพที่ไม่มีออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่  ผลิตภัณฑ์ที่ได้มี
                  ลักษณะเป็นของเหลวสีน้่าตาล  ซึ่งประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรท  กรดอินทรีย์  ฮอร์โมนหรือสารเร่งการ

                  เจริญเติบโตของพืช (ออกซิน จิบเบอร์เรลลิน และไซโตไคนิน)  วิตามิน  กรดอะมิโน  กรดฮิวมิกเอนไซด์
                  วิตามิน และแร่ธาตุ (กลุ่มอินทรียวัตถุและวัสดุเหลือใช้, 2545; ราเชนทร์และศิริธรรม, 2551; กรมพัฒนาที่ดิน

                  , 2558 )  แต่ส่วนใหญ่ที่พบจากการผลิตน้่าหมักหรือปุ๋ยอินทรีย์น้่าของชาวบ้านจะเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น  ที่

                  เกิดการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์อีเอ็มหรือจุลินทรีย์ในท้องถิ่นในการน่ามาหมักกับกากน้่าตาลและเศษพืช สัตว์
                  ซึ่งเป็นวัสดุหลักของท้องถิ่น  และน่ามาใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายท้องถิ่น  และมีการเรียกกันว่า “น้่า

                  หมัก”  ต่อมาเรียกว่า “ปุ๋ยอินทรีย์น้่าหรือปุ๋ยอินทรีย์เหลว”  ซึ่งส่วนใหญ่จะมีธาตุอาหารหลักและปริมาณ

                  อินทรียวัตถุไม่ผ่านเกณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์เหลวของกรมวิชาการเกษตร ดังตารางที่ 7.1 (สุนันทา, 2546)  ดังนั้น ปุ๋ย
                  อินทรีย์น้ําของชาวบ้าน  จึงควรเรียกว่า “น้ําหมัก” ตามเดิม

                  ตารางที่ 7.1 รายละเอียดการกําหนดสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์เหลวหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ํา

                  ลําดับที่               ลักษณะ                                 เกณฑ์กําหนด


                     1      ปริมาณอินทรียวัตถุ                    ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ โดยน้่าหนัก
                     2      อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N)     ไม่เกิน 20:1
                     3      ค่าการน่าไฟฟ้า                        ไม่เกิน 10 เดซิซีเมน/เมตร
                     4      ปริมาณธาตุอาหารหลัก

                            - ไนโตรเจน (total N)                  ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้่าหนัก
                            - ฟอสฟอรัส (total P O )               ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้่าหนัก
                                              2 5
                            - โพแทสเซียม (total K O)              ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้่าหนัก
                                               2
                                                                  หรือปริมาณธาตุอาหารหลักรวมกันไม่น้อยกว่า 1.5

                                                                  เปอร์เซ็นต์ โดยน้่าหนัก
                     5      ปริมาณโซเดียม                         ไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ โดยน้่าหนัก
                     6      ปริมาณสารพิษไม่เกินกว่าที่รัฐมนตรี
                            ประกาศก่าหนด


                  ที่มา: กรมวิชาการเกษตร (2552ก)
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140