Page 31 - บทบาทของหญ้าแฝกในการบำบัดสารปนเปื้อนในน้ำและสิ่งแวดล้อม
P. 31

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       26







                       เนื่องจากเป็นน้ าเสียที่มีโลหะหนักปนเปื้อนจ านวนมาก และพบว่าความสูงและน้ าหนักของหญ้าแฝก
                       พันธุ์ก าแพงเพชร 2  และพันธุ์ศรีลังกามากกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี และหญ้าแฝกสามารถลดค่าบีโอดี
                       ซีโอดี ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมได้สูงถึง 71   55   84    97    และ  48  เปอร์เซ็นต์
                       ตามล าดับ นอกจากนี้ยังพบว่าหญ้าแฝกสามารถลดปริมาณโลหะหนักในน้ าเสียได้อีกด้วย เช่น

                       ลดตะกั่วจากน้ าเสียโรงงานแบตเตอร์รี่ได้ 5.78  มิลลิกรัมต่อลิตร ลดสังกะสีจากน้ าเสียโรงงานผลิต
                       โคมไฟได้ 6.83  มิลลิกรัมต่อลิตร ลดเหล็ก และทองแดงจากน้ าเสียโรงงานหมึกพิมพ์ได้ 8.00  และ
                       11.43 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามล าดับ ดังนั้นหญ้าแฝกจึงมีศักยภาพในการบ าบัดน้ าเสียที่มาจากโรงงาน
                       อุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี

                            ชาลินี และคณะ (2550) ศึกษาประสิทธิภาพของหญ้าแฝกพันธุ์สงขลา 3  และธูปฤาษี ในการ
                       บ าบัดโครเมียม และอาร์เซนิคในระบบบึงประดิษฐ์ โดยท าการทดลองกับน้ าเสียสังเคราะห์ที่มีความ
                       เข้มข้นของโครเมียมอยู่ในช่วง 7.44-11.68 มิลลิกรัมต่อลิตร และอาร์เซนิคมีค่าอยู่ในช่วง  0.98-1.19
                       มิลลิกรัมต่อลิตร ทดลองระยะเวลาต่อเนื่อง 100 วัน โดยเก็บตัวอย่างน้ าทุกๆ 7  วัน พบว่า ความ

                       เข้มข้นของโครเมียมของน้ าเสียในบ่อทดลองที่ปลูกด้วยหญ้าแฝกพันธุ์สงขลา 3  และบ่อที่ปลูกด้วย
                       ธูปฤาษีมีค่าลดลงมากกว่าร้อยละ 98  ส่วนบ่อควบคุมมีค่าต่ าสุดอยู่ คือร้อยละ 69.3  และธูปฤาษี
                       เป็นพืช ที่มีความเหมาะสมในการบ าบัดโครเมียมมากกว่าหญ้าแฝกพันธุ์สงขลา 3  เนื่องจากสามารถ

                       เจริญเติบโตได้ดีกว่า และมีแมลงศัตรูพืชรบกวนน้อยกว่า ส าหรับประสิทธิภาพในการบ าบัดอาร์เซนิค
                       พบว่าพืชทั้ง  2  ชนิด มีประสิทธิภาพต่ าในการบ าบัดอาร์เซนิค อย่างไรก็ดีพืชทั้งสองชนิดสามารถ
                       เจริญเติบโตได้ดี และไม่พบพืชตายเนื่องจากน้ าเสียที่ปนเปื้อนโครเมียมและอาร์เซนิค
                            สุมล และคณะ (2552) ศึกษาการบ าบัดน้ าเสียโรงงานฟอกย้อมโดยต้นธูปฤาษี ในเชิงการบ าบัดสี
                       จากอุตสาหกรรมฟอกย้อม พบว่า ต้นธูปฤาษี (Typha anguo tifolia Linn.) มีประสิทธิภาพในการ

                       บ าบัดสีจากน้ าเสียสังเคราะห์ที่ประกอบด้วยสีย้อมชนิดรีแอคทีฟอะโซ 141 (azo eractive 141) และ
                       มีการตอบสนองต่อระดับความเข้มข้นของสีที่เป็นพิษต่อพืช คือ 25.33  มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถลด
                       ค่าความเป็นกรด-ด่าง เฉลี่ยจาก 9 เป็น 8 สามารถบ าบัดสีย้อมได้ร้อยละ 60 ในระยะเวลา 14  วัน

                       และยังสามารถลดค่าซีโอดี และละปริมาณของแข็งแขวนลอยทั้งหมดได้อีกด้วย และพบว่าต้นธูปฤาษี
                       ใบแคบที่ปลูกในน้ าเสียสังเคราะห์ที่มีสีฟอกย้อม และธูปฤาษีมีกลไกการหลีกเลี่ยงสภาวะเครียดจาก
                       สีย้อมและเกลือผ่านกลไกพิเศษ เช่น การสะสมเกลือในราก การหลุดร่วงของใบแก่ หรือการสร้าง
                       โลหะในรูปของแคลเซียม เหล็ก หรือซิลิกอนที่จับกับสี นอกจากนี้ยังพบว่าแคลเซียมซิลิเกต แคลเซียม

                       ออกซาเลต ไซลอกเซนและเอไมด์ ในต้นธูปฤาษีใบแคบ มีบทบาทส าคัญในการบ าบัดสีย้อมจากน้ าเสีย
                       สังเคราะห์โรงงานฟอกย้อมอีกด้วย
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36