Page 30 - บทบาทของหญ้าแฝกในการบำบัดสารปนเปื้อนในน้ำและสิ่งแวดล้อม
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       25







                       การเจริญลดลง โดยมีใบขนาดเล็กและรากสั้น ดังนั้นพืชทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถน าไปใช้ในการบ าบัดน้ า
                       เสียได้แต่น้ าเสียควรมีการปนเปื้อนแอมโมเนียไม่เกิน 5 มิลลิโมล
                            วิลาวัลย์ (2552) ศึกษาประสิทธิภาพของหญ้าแฝก 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สุราษฎร์ธานีและสงขลา 3
                       ปลูกด้วยเทคนิคแพลอยน้ าในการบ าบัดน้ าชะมูลฝอย รวมทั้งการเจริญเติบโตและปริมาณธาตุอาหาร

                       ได้แก่ ไนโตรเจนทั้งหมดและฟอสฟอรัสทั้งหมด โดยทดลองน้ าชะมูลฝอยทั้งหมด 3  ระดับ คือ น้ าชะ
                       มูลฝอยดิบ น้ าชะมูลฝอยที่ผ่านการบ าบัดแล้ว และน้ าคลอง ปลูกหญ้าแฝกเป็นลักษณะแพลอยน้ า
                       บ าบัดนาน 12 สัปดาห์ จากการทดลองพบว่าหญ้าแฝกทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพในการบ าบัดน้ าชะ
                       มูลฝอยไม่แตกต่างกันทางสถิติ และมีประสิทธิภาพการบ าบัดสูงกว่าชุดควบคุม (ไม่ปลูกพืช) โดย

                       ประสิทธิภาพในการบ าบัดน้ าชะมูลฝอยที่มีความเข้มข้นต่างกันให้ผลการทดลองที่ต่างกัน ดังนี้ น้ าชะ
                       มูลฝอยที่ผ่านการบ าบัดแล้วมีประสิทธิภาพในการบ าบัดค่าบีโอดี ฟอสฟอรัสทั้งหมดและครอไรด์สูงสุด
                       มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 84.77-86.36  86.46-89.58  และ 18.70-21.58  ตามล าดับ ส่วนหญ้าแฝกที่ปลูก
                       ในน้ าชะมูลฝอยดิบมีประสิทธิภาพในการบ าบัดของแข็งแขวนลอยสูงสุด มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.04-

                       98.19  และหญ้าแฝกที่ปลูกในน้ าคลองมีประสิทธิภาพในการบ าบัดค่าทีเคเอ็นสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ
                       95.40-96.76 ส าหรับการเจริญเติบโต และปริมาณธาตุอาหารในหญ้าแฝกพบว่าทั้ง 2 พันธุ์ สามารถ
                       เจริญเติบโตและสะสมอาหารได้ในน้ าชะมูลฝอยทุกระดับความเข้มข้น และมีแนวโน้มว่าหญ้าแฝก

                       พันธุ์สุราษฎร์ธานีเติบโตได้ดีในน้ าชะมูลฝอยดิบ ส่วนพันธุ์สงขลา 3  เจริญเติบโตได้ดีในน้ าชะมูลฝอย
                       ที่ได้รับการบ าบัดแล้วและน้ าคลอง
                            อัจจิมา (2546) ศึกษาการดูดซึมโลหะหนัก 3  ชนิด คือ สารหนู ตะกั่ว และแคตเมียม
                       ที่ปนเปื้อนในดิน และปริมาณโลหะหนักที่สะสมในส่วนต่างๆ ของหญ้าแฝกชุดดินปากช่อง โดยใช้
                       หญ้าแฝก 3  พันธุ์ คือ มอนโต ราชบุรี และสุราษฎร์ธานี โดยปลูกหญ้าแฝกในกระถาง และเตรียม

                       สภาวะการปนเปื้อนสารละลายมาตรฐาน สารหนู ตะกั่ว และแคตเมียมเป็นระยะเวลา 90 วัน พบว่า
                       หญ้าแฝกทั้ง 3  สายพันธุ์ สามารถดูดซึมโลหะหนักได้ โดยมีแนวโน้มไม่ต่างกัน ปริมาณโลหะหนัก
                       สะสมมากที่สุดอยู่ในราก รองลงมาคือส่วนใบและล าต้น และหญ้าแฝกพันธุ์มอนโตเจริญเติบโตทนต่อ

                       ความเป็นพิษของโลหะหนักได้มากที่สุด และพบกสารหนูตกค้างในดินปริมาณ 50.25  มิลลิกรัม
                       ต่อกิโลกรัม ตะกั่วตกค้างปริมาณ 50.16 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และแคตเมียมมีปริมาณตกค้างน้อยมาก
                       ไม่สามารถตรวจวัดได้
                            สุทธิรักษ์ และคณะ (2549) ศึกษาศักยภาพการใช้หญ้าแฝกในการบ าบัดน้ าเสียอุตสาหกรรม

                       จาก 4 แหล่ง ได้แก่ โรงงานนม โรงงานแบตเตอร์รี่ โรงงานผลิตโคมไฟ และโรงงานหมึกพิมพ์ โดยใช้
                       หญ้าแฝก 3 พันธุ์ ในการบ าบัดน้ าเสีย คือ ก าแพงเพชร 2 ศรีลังกา และสุราษฎร์ธานี พบว่าหญ้าแฝก
                       สามารถเจริญเติบโตได้ในน้ าเสียทั้ง 4 แหล่ง โดยแฝกที่ปลูกในน้ าเสียจากโรงงานนมมีการเจริญเติบโต
                       ดีกว่าน้ าเสียจากแหล่งอื่น และแฝกที่ปลูกในน้ าเสียจากโรงงานหมึกพิมพ์มีการเจริญเติบโตได้น้อยที่สุด
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35