Page 28 - บทบาทของหญ้าแฝกในการบำบัดสารปนเปื้อนในน้ำและสิ่งแวดล้อม
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       23







                            Xiao  et  al. (2009) ศึกษาการบ าบัดน้ าเสียขั้นสูงโดยการผสมผสานบึงประดิษฐ์แบบน้ าไหล
                       ใต้ผิวชั้นกรองในแนวดิ่งกับหญ้าแฝกทางตอนเหนือของประเทศจีนเนื่องจากสภาพธรรมชาติของน้ า
                       ท้ายเขื่อนหรือน้ าดิบนั้นจะปนเปื้อน และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และก่อให้เกิดความ
                       เสี่ยงต่อสุขภาพ แต่ก็มีบ่อยครั้งที่มีการใช้น้ าโดยไม่ผ่านกระบวนการบ าบัด ในการศึกษาครั้งนี้

                       มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพการบ าบัดน้ าเสียระบบบึงประดิษฐ์แบบน้ าไหลใต้ผิวชั้นกรอง
                       ในแนวดิ่งกับหญ้าแฝก Integrated Vertical Flow Constructed Wetland (IVFCW) ซึ่งเป็นระบบ
                       บ าบัดน้ าเสียที่ท าได้ง่าย และปลอดภัยต่อการใช้งาน โดยสร้างระบบบ าบัดบึงประดิษฐ์แบบน้ าไหล
                       ใต้ผิวชั้นกรองในแนวดิ่งกับหญ้าแฝก  (IVFCW) ขึ้นในปี 2008  ซึ่งตั้งอยู่ติดกับสถานีบ าบัดน้ าเสียของ

                       มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเหมืองแร่ในจีน และถูกน ามาใช้ส าหรับการบ าบัดน้ าเสียขั้นที่ 2  ในเขต
                       เทศบาลเมือง น้ าเสียที่ผ่านการบ าบัดในขั้นแรกที่โรงบ าบัดทางชีวภาพของมหาวิทยาลัยแล้ว
                       จะถูกส่งไปยังบึงประดิษฐ์ที่มีขนาด 1 เมตร x 1 เมตร x 0.75 เมตร ซึ่งเป็นการบ าบัดขั้นที่ 2 ส าหรับ
                       บึงประดิษฐ์แบบน้ าไหลใต้ผิวชั้นกรองในแนวดิ่งที่ปลูกหญ้าแฝกไว้ภายใน ซึ่งตัวกรองหรือพื้นผิว

                       ส าหรับให้หญ้าแฝกยึดเกาะนั้นจะประกอบด้วยกรวด 15  เซนติเมตร ถ่านหินตะกรัน 30  เซนติเมตร
                       และกรวดจากบนลงล่างอีก 10 เซนติเมตร จากการทดลองพบว่าการบ าบัดน้ าเสียแบบน้ าไหลใต้ผิวชั้น
                       กรองในแนวดิ่งกับหญ้าแฝก  (IVFCW) มีประสิทธิภาพในการก าจัดของเสียในรูปซีโอดี ร้อยละ  71

                       แอมโมเนียไนโตรเจนร้อยละ 67  และไนโตรเจนทั้งหมดร้อยละ 80  หลังจาก 5  วัน ที่มีการให้อัตรา
                       ภาระการรับน้ าทางชลศาสตร์ ที่ 0.6-0.8 ลูกบาศก์เมตรต่อตารางเมตรต่อวันในช่วงฤดูร้อน แต่ในช่วงที่
                       อุณหภูมิต่ าประสิทธิภาพการก าจัดสารมลพิษมีอัตราที่ต่ ากว่า เมื่อเทียบกับในช่วงฤดูร้อน และ
                       ที่อุณหภูมิ 10  องศาเซลเซียส นั้นมีประสิทธิภาพการบ าบัดสูงสุด โดยมีประสิทธิภาพในการก าจัด
                       ของเสียในรูปซีโอดี แอมโมเนียไนโตรเจน และไนโตรเจนทั้งหมดร้อยละ 51.71  19.87  และ  29.76

                       ตามล าดับ
                            เบญจนี (2545) ศึกษาคัดเลือกพืชน้ าที่สามารถทนทานและบ าบัดน้ าเสียชุมชนจากเขตเทศบาล
                       สกลนคร โดยปลูกพืชในระบบบึงประดิษฐ์เป็นระยะเวลา 14  สัปดาห์ พืชที่ท าการทดลองมีทั้งหมด

                       20 ชนิด เป็นพืชเหนือผิวน้ า 15 ชนิด และพืชใต้ผิวน้ า 5 ชนิด แบ่งแปลงทดลองเป็น 4 หน่วย และ
                       มีน้ าเสียที่มีการบ าบัดเบื้องต้นในอนุกรมบ่อเติมออกซิเจน และบ่อบ่มแล้ว รวม 2 ระบบในแต่ละหน่วย
                       แบ่งเป็น 3  หน่วยย่อยต่อเนื่อง คือ หนองน้ าตื้น  หนองน้ าลึก  หนองน้ าตื้น ในหนองน้ าตื้นปลูก
                       พืชน้ าประเภทที่มีใบโผล่ชูพ้นเหนือผิวน้ า และรากจับยึดดิน คละกัน 5-9 ชนิด รวมพืชที่ปลูกทั้งหมด

                       15  ชนิด และในหนองน้ าลึกปลูกพืชประเภทมีใบโผล่เหนือหรือระดับผิวน้ า รากมีดินหรือไม่มีดิน
                       2-4 ชนิด คละกันรวมพืชที่ปลูกทั้งหมด 5  ชนิด ในระยะแรกให้น้ าดีพืชมีการปรับตัวและเจริญได้ดี
                       และต่อมาเมื่อให้น้ าเสียจนครบระยะเวลา 14 สัปดาห์ พบว่าหนองน้ าตื้นพืชที่สามารถมีชีวิตรอด และ
                       เจริญเติบโตได้ดีมี 5  ชนิด ได้แก่ ธูปฤาษี พุทธรักษา แห้ว ทรงกระเทียม และกกอียิปต์ ส าหรับ
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33