Page 27 - บทบาทของหญ้าแฝกในการบำบัดสารปนเปื้อนในน้ำและสิ่งแวดล้อม
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       22







                       ของน้ าเสียต่างกันมีความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ โดยเมื่อใช้ระยะเวลากักเก็บ 7  วัน มี
                       ประสิทธิภาพการบ าบัดสูงสุด โดยชุดทดลองที่ได้รับน้ าเสียความเข้มข้นสูงมีประสิทธิภาพการบ าบัด
                       บีโอดี ทีเคเอ็น ฟอสฟอรัสทั้งหมด และฟอสเฟตทั้งหมดสูงสุด มีค่าอยู่ในช่วง 90.54-91.46    61.01-
                       62.48  17.78-35.87  และ 15.40-23.46 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ และชุดทดลองที่ได้รับน้ าเสียความ

                       เข้มข้นต่ า มีประสิทธิภาพการบ าบัดแอมโมเนียไนโตรเจนสูงสุด มีค่าอยู่ในช่วง 50.22-58.62
                       เปอร์เซ็นต์ แต่ประสิทธิภาพการบ าบัดของหญ้าแฝกต่างกลุ่มพันธุ์ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญ
                       ทางสถิติ อย่างไรก็ตามพบว่าชุดทดลองที่ปลูกหญ้าแฝกมีประสิทธิภาพการบ าบัดสูงกว่าชุดควบคุม
                       (ไม่ปลูกพืช) ส าหรับการเจริญเติบโตของหญ้าแฝกพบว่า หญ้าแฝกทั้ง 2 กลุ่มพันธุ์มีการเจริญเติบโตดี

                       และมีแนวโน้มว่าหญ้าแฝกพันธุ์สุราษฏร์ธานีมีการเจริญเติบโตของรากดีกว่าพันธุ์สงขลา  3  และ
                       พบหญ้าแฝกพันธุ์สงขลา  3  มีมวลชีวภาพเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อได้รับน้ าเสียความเข้มข้นสูง ขณะที่กลุ่ม
                       พันธุ์สุราษฏร์ธานี มีมวลชีวภาพเพิ่มสูงสุด เมื่อได้รับน้ าเสียความเข้มข้นต่ า ส าหรับการสะสมธาตุอาหาร
                       ในต้น และรากของหญ้าแฝก พบว่าโดยทั่วไปการสะสมธาตุอาหารมีค่าแปรผันตามระดับความเข้มข้น

                       ของน้ าเสีย และเมื่อใช้ระยะเวลากักเก็บ 7 วัน หญ้าแฝกมีการสะสมธาตุอาหารในรากได้สูงสุด ดังนั้น
                       ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าการปลูกหญ้าแฝกด้วยเทคนิคแท่นลอยน้ าเพื่อบ าบัดน้ าเสียชุมชน
                       ควรใช้ระยะเวลากักเก็บ 7  วัน และใช้หญ้าแฝกกลุ่มพันธุ์สุราษฏร์ธานี แต่หากน้ าเสียมีบีโอดี และธาตุ

                       อาหารสูงสามารถใช้ หญ้าแฝกกลุ่มพันธุ์สงขลา 3 ได้
                            ทัศนี และคณะ (2557) ศึกษาการบ าบัดน้ าเสียในชุมชนเทศบาลเมืองมหาสารคามโดยใช้ระบบ
                       พืชปลูกบนแพลอยน้ า ได้แก่ หญ้าแฝกพันธุ์ประจวบคีรีขันธ์ หญ้าแฝกพันธุ์สุราษฎร์ธานี และ
                       ผักตบชวา โดยวางแผนแบบ Randomized Completely Block Design (RCBD) ทั้งหมด 9 บล็อก
                       ท าการทดลองในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม 2556  รวมระยะเวลา  6  เดือน โดยเก็บตัวอย่าง

                       ทุกวันที่  1 ของเดือน พบว่าภายหลังการบ าบัดน้ าเสียมีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ในช่วง7.4  ±0.1  ถึง
                       8.5±0.1 บล็อกที่เป็นผักตบชวาทั้งหมด มีประสิทธิภาพในการบ าบัดน้ าเสียสูงสุดโดยมีค่า บีโอดี ทีเคเอ็น
                       และฟอสฟอรัสทั้งหมดเฉลี่ยร้อยละ 69.0±1  67.63±1.53  69.75±1  ตามล าดับ และในบล็อกที่เป็น

                       หญ้าแฝกพันธุ์สุราษฎร์ธานีทั้งหมดมีประสิทธิภาพในการบ าบัดบีโอดี ทีเคเอ็น และฟอสฟอรัสทั้งหมด
                       รองลงมาเฉลี่ยที่ร้อยละ 65.33±1  61.36±1  และ 65.23±1  จากรูปแบบการบ าบัดแบบจัดเรียงพืช
                       3  ชนิด สลับกัน พบว่ารูปแบบที่มีการบ าบัดได้ดีที่สุด ประกอบด้วยหญ้าแฝกพันธุ์ประจวบคีรีขันธ์
                       หญ้าแฝกพันธุ์สุราษฎร์ธานี และผักตบชวา เนื่องจากหญ้าแฝกอาศัยรากที่ยาวท าหน้าที่ในการเป็น

                       ตัวกลางในการยึดเกาะของจุลินทรีย์ และสามารถดูดสารอินทรีย์มาเป็นอาหาร และมีจุลินทรีย์
                       ที่สามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ได้ ท าให้การย่อยสลายสารอินทรีย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                       ในขณะที่ผักตบชวามีประสิทธิภาพสามารถดูดซับฟอสฟอรัสทั้งหมด และทีเคเอ็นได้ดี
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32