Page 35 - บทบาทของหญ้าแฝกในการบำบัดสารปนเปื้อนในน้ำและสิ่งแวดล้อม
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       30







                       175 มิลลิกรัมต่อลิตร จากการทดลองจะเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรและการตอบสนอง
                       ต่อการบ าบัดมีนัยส าคัญหรือมีแนวโน้มเป็นไปตามทฤษฎี จึงสรุปได้ว่าหญ้าแฝกมีประสิทธิภาพในการ
                       บ าบัดน้ าเสียจากอุตสาหกรรมน้ ามัน


                            4.  วิเคราะห์สรุปผลแนวทางการน้าไปใช้และการจัดการที่เหมาะสม
                            จากการวิเคราะห์และศึกษาผลงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้หญ้าแฝกในการบ าบัดน้ าเสีย สามารถ
                       สรุปผลแนวทางการน าไปใช้และการจัดการที่เหมาะสม ได้ดังนี้

                               4.1 หญ้าแฝกลุ่มมีประสิทธิภาพในการบ าบัดน้ าเสีย สามารถบ าบัดน้ าเสียในเขตเทศบาล
                       ทั้งในระบบบ าบัดน้ าเสียแบบแอกติเวทเต็ดสลัดจ์ (Biological  Nutrient  Removal  Activated
                       Sludge  ;BNRAS)  หรือระบบบ าบัดน้ าเสียแบบบึงประดิษฐ์ที่ปลูกหญ้าแฝกเป็นพืชในชั้นกรอง
                       (Vegetated Submerged Bed Constructed Wetlands ;VSBCW) พบอีกว่าการบ าบัดน้ าเสียใน

                       เขตเทศบาลเมืองที่มีการใช้ระบบบ าบัดน้ าเสียแบบบึงประดิษฐ์ที่มีการปลูกหญ้าแฝกในชั้นกรองใต้น้ า
                       ร่วมกับระบบบ าบัดน้ าเสียแบบแอกติเวทเต็ดสลัดจ์ นั้นมีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้ระบบบ าบัดน้ าเสีย
                       แบบแบบแอกติเวทเต็ดสลัดจ์เพียงอย่างเดียว
                               4.2 หญ้าแฝกมีความสามารถพิเศษที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายสภาวะที่มี

                       ความเครียดสูง เช่น สภาวะที่มีความเค็มจัด เป็นกรด เป็นด่างและ/หรือสภาวะที่มีโลหะ ซึ่งในโรงแรม
                       ชั้นน ามีปริมาณน้ าเสียที่ต้องการบ าบัดเป็นจ านวนมากต่อวัน และระบบบ าบัดน้ าเสียด้วยหญ้าแฝก
                       สามารถลดค่าบีโอดีได้ 80-85 เปอร์เซ็นต์  ลดค่าซีโอดีได้ 85-90 เปอร์เซ็นต์  และสามารถลดจ านวน

                       แบคทีเรีย E.coli ได้ถึง 85 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งตัวชี้วัดคุณภาพน้ าที่ถูกบ าบัดทั้งหมดอยู่ภายใต้มาตรฐาน
                       ของ IS2292, 1992
                               4.3 หญ้าแฝกสามารถบ าบัดน้ าทิ้งจากโรงนมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยปลูกใน
                       ลักษณะแพลอยน้ า โดยพันธุ์ศรีลังกา และแหล่งพันธุ์สุราษฎร์ธานีในการบ าบัดน้ าทิ้งร่วมกันจะมี
                       ประสิทธิภาพในการบ าบัดน้ าเสียได้ดีที่สุด และการปลูกหญ้าแฝกด้วยเทคนิคแท่นลอยน้ า เพื่อบ าบัด

                       น้ าเสียชุมชนสามารถใช้ในการบ าบัดได้ดี
                               4.4 หญ้าแฝกมีศักยภาพในการบ าบัดน้ าเสียที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรม (โรงงานนม
                       โรงงานแบตเตอร์รี่ โรงงานผลิตโคมไฟ และโรงงานหมึกพิมพ์ อุตสาหกรรมน้ ามันปาล์ม) โดยสามารถ

                       ลดปริมาณค่าบีโอดีและซีโอดีของน้ าทิ้งที่ได้เป็นอย่างดี
                               4.5 หญ้าแฝกมีประสิทธิภาพในการบ าบัดน้ าเสียในรูปซีโอดี แอมโมเนียไนโตรเจน และ
                       ไนโตรเจน ด้วยระบบบ าบัดน้ าเสียขั้นสูงโดยการผสมผสานบึงประดิษฐ์แบบน้ าไหลใต้ผิวชั้นกรองใน
                       แนวดิ่งกับหญ้าแฝก
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40