Page 44 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
P. 44
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
34
4) เกรดปุ๋ย (fertilizer grade) หมายถึง การรับประกันปริมาณต่ าสุดของธาตุอาหาร
ปุ๋ยที่มีอยู่ในปุ๋ยชนิดนั้น โดยจะบอกเป็นเปอร์เซ็นต์โดยน้ าหนักของไนโตรเจนทั้งหมด (total N)
ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (available P O ) และโพแทสเซียมที่ละลายน้ าได้ (water soluble K O)
2 5
2
5) สัดส่วนปุ๋ย (fertilizer ratio) หมายถึง สัดส่วนของ N: P O : K O ที่เป็นเกรดของ
2
2 5
ปุ๋ยแต่ละชนิด เช่น ปุ๋ยเกรด 15-15-15 จะมีสัดส่วนปุ๋ยเป็น 1:1:1 เป็นต้น
6) ปุ๋ยสมบูรณ์และปุ๋ยไม่สมบูรณ์ (complete and incomplete fertilizers)
หมายถึง ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารปุ๋ยครบทั้ง 3 ธาตุ และปุ๋ยที่มีธาตุอาหารปุ๋ยไม่ครบทั้ง 3 ธาตุ เช่น อาจมี
เพียง 1 หรือ 2 ธาตุ ตามล าดับ
7) ตัวเติมในปุ๋ย (filler) หมายถึง วัสดุหรือสารใดๆ ที่ใช้ผสมลงไปในปุ๋ยผสมเพื่อให้ปุ๋ย
ผสมมีน้ าหนักครบตามต้องการ สารที่เติมลงไปต้องไม่ท าปฏิกิริยากับวัสดุปุ๋ยหรือธาตุอาหารปุ๋ยที่ใช้
เช่น ทรายละเอียด ขี้เลื่อย หรือสารสังเคราะห์อื่นๆ
3.6.2 หลักในการใช้ปุ๋ย (ปิยะ, 2538)
การใช้ปุ๋ยโดยเฉพาะปุ๋ยเคมีเพื่อการผลิตพืชจะต้องค านึงถึงผลประโยชน์สูงสุดที่พืชจะ
ได้รับและปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม โดยมีหลักในการใส่ปุ๋ย ดังนี้
1) พิจารณาถึงลักษณะดิน โดยเฉพาะเนื้อดิน โครงสร้างของดิน และความร่วนซุยของ
ดิน เช่น ถ้าเป็นดินทรายควรแบ่งใส่ทีละน้อย หลายๆ ครั้ง
2) ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินจะต้องอยู่ในบริเวณที่รากพืชดูดไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยทั่วไป
จะสังเกตจากบริเวณที่ปลายรากพืชกระจายอยู่หนาแน่น และมีน้ าท าละลายปุ๋ยเพียงพอ
3) ก าหนดวิธีการใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับลักษณะของการปลูกพืช ได้แก่
3.1) การหว่าน (broad cast application) เป็นวิธีการใส่ปุ๋ยให้กับพืชที่ปลูกไม่เป็น
แถวเป็นแนว หรือพืชที่มีระบบรากแพร่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ปลูก เช่น ข้าว แปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ หญ้า
สนาม เป็นต้น การหว่านปุ๋ยควรหว่านให้กระจายไปทั่วอย่างสม่ าเสมอโดยแบ่งการหว่านออก 2 ครั้ง
ครั้งแรกตามแนวทิศเหนือ-ใต้ และครั้งที่ 2 ตามแนวทิศตะวันออก-ตก
3.2) การโรยเป็นแถวขนานกับแถวของพืช (row or band application) เป็น
วิธีการใส่ปุ๋ยให้พืชที่ปลูกเป็นแถวเป็นแนว โดยการโรยปุ๋ยเป็นแถบในบริเวณที่รากพืชกระจายออกไป
อยู่หนาแน่นที่สุด
3.3) การใส่ปุ๋ยในหลุมที่ขุดเป็นจุด (hole application) เป็นวิธีการใส่ปุ๋ยที่ลดการ
กระจายของปุ๋ยในพื้นที่ เช่น การใส่ปุ๋ยให้ยางพาราอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป
3.4) การใส่ปุ๋ยลงไปตามร่องที่ไถ (plow-sow placement) ท าได้โดยการใช้ไถเปิด
ร่องน าไปก่อนแล้วโรยปุ๋ยตามลงไปในร่อง การใส่ปุ๋ยวิธีนี้จะลดการสูญเสียธาตุอาหารในปุ๋ยได้ดี
3.5) การฉีดพ่นปุ๋ยเหลวให้ทางใบ (foliar spray application) โดยการฉีดปุ๋ยเหลว
ให้กับพืช มักใช้กับพืชที่แสดงอาการขาดธาตุอาหารหรือต้องการเร่งการเจริญเติบโตแก่พืช
3.6) การโรยปุ๋ยรอบทรงพุ่มต้นตามแนวพุ่มใบ (ring application) วิธีนี้มักใช้กับไม้
ผล ไม้ยืนต้นที่มีทรงพุ่มกว้างโดยจะให้ปุ๋ยตามแนวทรงพุ่มใบซึ่งถือเป็นบริเวณที่มีรากอ่อนอยู่มาก