Page 42 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
P. 42
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
32
ช่องอากาศเล็กลงเมื่อดินเปียก และขบวนการย่อยสลายวัสดุอินทรีย์เป็นสาเหตุส าคัญที่ท าให้ออกซิเจน
ในดินลดลง
3.5.2 หน้าที่ของดินต่อการเจริญเติบโตของพืช
1) เป็นที่ยึดเกาะของรากพืช
2) เป็นที่เก็บน้ าเพื่อการเจริญเติบโตของพืช
3) ให้อากาศแก่รากพืชเพื่อการหายใจ
4) ให้อาหารแก่รากพืชเพื่อการเจริญเติบโต
3.5.3 ดินปัญหาที่พบในพื้นที่จัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ า (กรมพัฒนาที่ดิน, 2552)
1) ดินที่มีปฏิกิริยาเป็นกรด จะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ต่ ากว่า 7 แต่อย่างไรก็ตาม
ระดับความเป็นกรดที่มีปัญหาต่อการเพาะปลูกพืช และการเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมทางดินจะ
เกิดอย่างรุนแรง เมื่อค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินต่ ากว่า 5.5 ดังนั้น ในทางวิชาการปัญหาดินกรด
จึงนิยามว่าเป็นดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ ากว่า 5.5 ซึ่งจากข้อมูลพื้นที่ชุดดินที่มีโอกาสจะพัฒนา
เป็นดินกรดรุนแรง พบว่า มีพื้นที่สูงถึง 143,940,000 ไร่ และยังพบว่า มีดินที่มีแนวโน้มจะเป็นกรด
รุนแรงเพิ่มมากขึ้นตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน
สภาพปัญหาของดินกรด มีความเป็นกรดสูงเกินไป ท าให้เกิดการขาดแคลนธาตุ
อาหารที่ส าคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ฟอสฟอรัส และโมลิบดินัม นอกจากนี้ยังท าให้
ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมีต่ า ธาตุอาหารพืชถูกชะละลายออกไปจากดินได้ง่าย เช่น แคลเซียม
แมกนีเซียม และโพแทสเซียม สภาพที่เป็นกรดสูงยังท าให้ธาตุเหล็ก อะลูมินัม และแมงกานีส ละลาย
ออกมาอยู่ในดินมากจนถึงระดับที่เป็นพิษต่อพืชที่ปลูก และเกิดการระบายของเชื้อโรคพืช โดยเฉพาะ
เชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่า
การปรับปรุงดินกรด ใช้วัสดุปูนเพื่อลดความเป็นกรดของดิน เพิ่มอินทรียวัตถุ
ให้กับดินร่วมกับการใช้วัสดุปรับปรุงดิน วัสดุปรับสภาพดิน ปรับปรุงปริมาณธาตุอาหารพืชในดินให้
พอเพียงและมีประสิทธิภาพ ใช้วัสดุคลุมดินเพื่อป้องกันการชะละลายและการกร่อนผิวหน้าดิน ร่วมกับ
ระบบการปลูกพืชหมุนเวียน รวมถึงระบบอนุรักษ์ต่างๆ ในพื้นที่ที่มีความลาดเท ลดความเป็นกรดของ
ดินใต้ชั้นไถพรวน โดยใช้วัสดุปรับสภาพดิน เช่น ยิปซัม หรือฟอสโฟยิปซัม ที่มีคุณสมบัติในการละลาย
และสามารถแทรกซึมลงไปในดินล่าง ลดความเป็นพิษของอะลูมินัมได้ดี
2) ดินบนพื้นที่ลาดชันสูง หรือพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน หมายถึง พื้นที่ที่มีความลาดชัน
มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ เป็นพื้นที่ที่เมื่อน าไปใช้ประโยชน์ จะเกิดปัญหาการกร่อนหรือการชะล้าง
พังทลายของดินสูง สภาพปัญหาของพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ถึงแม้โดยทั่วไปพื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ที่มิ
สมควรท าการเกษตร เพราะสามารถเกิดการกร่อนหรือชะล้างพังทลายของดินได้ง่าย ประกอบกับพื้นที่
เหล่านี้ส่วนใหญ่มักเป็นแหล่งต้นน้ า แต่สภาพในปัจจุบันพื้นที่ลาดชันเหล่านี้ได้ถูกบุกรุกเพื่อท า
การเกษตรไปเป็นจ านวนมาก โดยเฉพาะส่วนใหญ่ใช้พื้นที่เพื่อท าการเกษตรแบบไร่เลื่อนลอยท าให้
เกิดผลกระทบต่อเนื่องต่อระบบนิเวศ และพิบัติภัยทางธรรมชาติต่างๆ อย่างรุนแรงตามมา เช่น น้ าป่า
ทะลักน้ าท่วมฉับพลัน ดินโคลนถล่ม รวมถึงปัญหาการขาดแคลนน้ าในฤดูแล้ง เป็นต้น
การปรับปรุงพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ต้องใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าทั้งวิธีกล
และวิธีพืช ได้แก่ ท าแนวคันดินเบนน้ า คูรับน้ าขอบเขา ปรับพื้นที่แบบขั้นบันได รวมถึงปรับระบบการ