Page 48 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
P. 48
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
38
ปริมาณการสูญเสียดินต่ าสุดเท่ากับ 132 กิโลกรัมต่อไร่ โดยต่ ากว่าวิธีของเกษตรกร ซึ่งไม่มีระบบ
อนุรักษ์ดินและน้ า (390 กิโลกรัมต่อไร่) อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ในด้านผลผลิตของข้าวโพด การ
ปลูกน้อยหน่า มะนาว กาแฟ และชา ร่วมกับเศษพืช เป็นแถบพืชอนุรักษ์ดิน ให้ผลผลิตข้าวโพดเฉลี่ย
ใกล้เคียงกัน คือ 1,017 945 884 และ 840 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ และไม่แตกต่างกันทางสถิติ
กับวิธีเกษตรกรที่ไม่มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ า (841 กิโลกรัมต่อไร่)
ทนงศักดิ์ และคณะ (2557) ได้ศึกษาระยะห่างที่เหมาะสมของคูรับน ้าขอบเขาเพื่อการ
อนุรักษ์ดินและน ้าบนพื้นที่สูง ชุดดินหนองมด (Nm) กลุ่มชุดดินที่ 29 อ าเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
พบว่าคันคูรับน้ าขอบเขาระยะห่างในแนวดิ่ง 4.5 เมตร มีการสูญเสียตะกอนดินมากที่สุดคิดเป็น
ปริมาณธาตุอาหารเท่ากับ 62.29 กิโลกรัม รองลงมาคือ ระยะห่างในแนวดิ่งเท่ากับ 4.0 3.5 เมตร
และ 3.0 เมตร ตามล าดับ มีปริมาณธาตุอาหารที่สูญเสียไปเท่ากับ 29.88 23.67 และ 11.95 กิโลกรัม
ตามล าดับ ส่วนผลผลิตข้าวไร่พบว่า ระยะห่างในแนวดิ่งของคันคูรับน้ าขอบเขาระยะห่างในแนวดิ่ง
4.0 เมตร มีผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตข้าวไร่
สุนีย์รัตน์ (2557) ได้ศึกษาผลของการไถพรวนในระบบปลูกพืชเพื่อการอนุรักษ์ดิน
และน ้าที่มีต่อการสูญเสียดินบนพื้นที่ดอน ชุดดินหนองมด (Nm) กลุ่มชุดดินที่ 29 อ าเภอเวียงป่าเป้า
จังหวัดเชียงราย พบว่า การปลูกข้าวโพดโดยไม่ไถพรวนดินร่วมกับระบบอนุรักษ์ดินและน้ าและแถบ
หญ้าแฝก เป็นวิธีการที่ดีที่สุด เนื่องจากให้ผลผลิตไม่แตกต่างจากวิธีการอื่น ลดต้นทุนในการไถเตรียม
พื้นที่ มีปริมาณการสูญเสียดินน้อยที่สุด วิธีการนี้จึงเหมาะสมในการแก้ปัญหาการชะล้างพังทลายของ
ดินบนพื้นที่ความลาดชันสูงได้
อานุช และคณะ (2554) ได้ศึกษาการสูญเสียดินและธาตุอาหารจากการพังทลายของ
ดินในพื้นที่ปลูกยางพาราที่มีอายุ 15-20 ปี ซึ่งมีความลาดชันเฉลี่ยเท่ากับ 32.23 46.89 และ 52.69
เปอร์เซ็นต์ โดยวิธีปักหมุด Erosion stake เป็นเวลา 1 ปี พบว่า สวนยางที่มีความลาดชันเฉลี่ย 52.69
เปอร์เซ็นต์ มีอัตราการสูญเสียดินระดับสูงตามเกณฑ์ของกรมพัฒนาที่ดินคือมีค่าเท่ากับ 137.6 ตัน
ต่อเฮกแตร์ต่อปี รองลงมา คือ สวนยางที่มีความลาดชันเฉลี่ย 46.89 และ 32.23 เปอร์เซ็นต์ มีอัตรา
การสูญเสียดินระดับปานกลางคือมีค่าเท่ากับ 80.2 และ 60.2 ตันต่อเฮกแตร์ต่อปี ตามล าดับ ส่วน
การสูญเสียธาตุอาหารรวม (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และโซเดียม)
เฉลี่ยเท่ากับ 238.31 14.9 และ 86.26 กิโลกรัมต่อเฮกแตร์ต่อปี ตามล าดับ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าทาง
เศรษฐกิจเท่า 3,097.50 1,933.01 และ 1,111.95 บาทต่อเฮกแตร์ต่อปี ตามล าดับ
ยุทธศาสตร์ และคณะ (2559) ได้ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณการสูญเสียดินในลุ่ม
น้ าย่อยบางตราน้อย และห้วยทราย อ าเภอชะอ า จังหวัดเพชรบุรี โดยการประเมิน 4 วิธีการ ได้แก่
การใช้สมการทางคณิตศาสตร์ (Y=(64x 2.134 )/320696887)*A) การใช้แบบจ าลอง MMF (โปรแกรม
ThaiEROSION MMF) การใช้บ่อดักตะกอน และวิธีการ Erosion pin พบว่า การใช้ Erosion pin มี
การสูญเสียดินมากที่สุด 6.93 และ 1.56 ตันต่อไร่ ตามล าดับ รองลงมาได้แก่ บ่อดักตะกอน มีการ
สูญเสียดิน 1.30 และ 0.60 ตามล าดับ แบบจ าลอง MMF มีการสูญเสียดิน 0.09 และ 0.03
ตามล าดับ และสมการทางคณิตศาสตร์ 0.02 และ 0.02 ตามล าดับ
นิลภัทร และคณะ (2559) ได้ศึกษาการเคลื่อนย้ายของตะกอนดินที่มีผลต่อระดับ
ความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนจากการปลูกข้าวโพดมาเป็น