Page 46 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
P. 46

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        36







                       ส่วนสัมพันธ์กับพืชอย่างแท้จริง  รวมถึงต้องผ่านการทดสอบผลของการวิเคราะห์ซ้ าหลายๆ ครั้ง จน
                       เกิดความเชื่อมั่นในแบบจ าลองนั้นจริงๆ ในปัจจุบันมีการใช้โปรแกรมการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
                       เกิดขึ้นหลายโปรแกรม เพื่อสะดวกต่อการใช้งาน ในส่วนของกรมพัฒนาที่ดินได้มีการพัฒนาโปรแกรม
                       การจัดการดินและปุ๋ยรายแปลง  เพื่อการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ  และสะดวกต่อการใช้งาน  ซึ่ง

                       ผู้ใช้งานต้องระบุชุดดิน ระบุชนิดของพืชที่ต้องการปลูก (โปรแกรมนี้สามารถเลือกชนิดพืชได้ 14 ชนิด
                       ได้แก่ ข้าว (ไวแสงหรือไม่ไวแสง) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย (ปลูกหรือตอ) มันส าปะหลัง ยางพารา ปาล์ม
                       น้ ามัน  สับปะรด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ลิ้นจี่ ล าไย ทุเรียน และมังคุด)  พร้อมค่าวิเคราะห์ดินซึ่ง
                       หากไม่สามารถวิเคราะห์ได้ในภาวะปัจจุบัน โปรแกรมจะน าข้อมูลวิเคราะห์ดินจากค่าเฉลี่ยของชุดดิน

                       นั้นๆ  มาท าการวิเคราะห์เพื่อหาค าแนะน าที่เหมาะสมในการจัดการการปลูกพืชในพื้นที่นั้นๆ  โดยใน
                       ค าแนะน านั้นจะประกอบไปด้วย
                                   - วันปลูกที่เหมาะสม
                                   - ผลผลิตที่คาดคะเน (กิโลกรัมต่อไร่)

                                   - ค าแนะน าการใช้ปุ๋ยเคมี พร้อมการเปรียบเทียบราคาปุ๋ย ที่ค านวณจากปริมาณธาตุ
                       อาหารที่แนะน า
                                   - ค าแนะน าการจัดการดิน ข้อจ ากัดการใช้ประโยชน์ การใช้วัสดุปูนในการปรับความ

                       เป็นกรดของดิน ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีระบบตรวจสอบข้อมูลค าแนะน าการจัดการ พร้อมระดับความเชื่อมั่น
                       ของค าแนะน า เพื่อประกอบการตัดสินใจส าหรับน าไปปฏิบัติต่อไป
                              3.6.4 การเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ ก่อนการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์
                                   1) ข้อควรค านึง
                                      1.1)    ตัวอย่างดินที่เก็บมาวิเคราะห์  เป็นตัวแทนอย่างแท้จริงของพื้นที่ที่ต้องการ

                       ตรวจสอบธาตุอาหารพืช
                                      2.2) ขนาดของพื้นที่ไม่ควรเกิน 25 ไร่ต่อตัวอย่างดิน 1 ตัวอย่าง
                                      2.3) หากพื้นที่ไม่สม่ าเสมอ มีความแตกต่างกันในรูปแบบต่างๆ ทั้งสภาพพื้นที่ การ

                       ใช้ประโยชน์ การจัดการใช้ปุ๋ย ฯลฯ ควรแบ่งพื้นที่เป็นแปลงย่อย และเก็บตัวอย่างดิน 1 ตัวอย่างเป็น
                       ตัวแทนของแต่ละแปลงย่อยนั้น
                                   2) วิธีการเก็บตัวอย่างดิน
                                      2.1) สุ่มตัวอย่างดิน 15-20 จุดให้ทั่วในแต่ละแปลงย่อย เก็บตัวอย่างดินใส่กระป๋อง

                       รวมกัน  คลุกเคล้าให้ทั่ว  แบ่งดินออกเป็น  4  ส่วน  และสุ่มมาประมาณ  0.5-1.0  กิโลกรัมเพื่อน าไป
                       วิเคราะห์ ถ้าดินยังเปียกอยู่ให้ผึ่งในที่ร่ม (ไม่ควรตากแดด)
                                      2.2) การเก็บตัวอย่างดิน ในกรณีพื้นที่นาข้าว ใช้ความลึก 10 เซนติเมตร พืชไร่ใช้
                       ความลึก 15 เซนติเมตร ส่วนไม้ผลหรือไม้ยืนต้น เก็บดินที่บริเวณรัศมีทรงพุ่ม ใน 2 ระดับความลึก คือ

                       0-20 เซนติเมตร และ 30-50 เซนติเมตร
                                     ในปัจจุบันเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว  เกษตรกรสามารถวิเคราะห์ตัวอย่างดินได้
                       ง่ายๆ  โดยใช้ชุดตรวจดินอย่างง่าย  เพื่อท าการวิเคราะห์หาปริมาณอินทรียวัตถุ  ฟอสฟอรัส
                       โพแทสเซียม  และค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน  ซึ่งจะแสดงผลของปริมาณธาตุอาหารในดิน

                       ออกมาในระดับต่างๆ ได้แก่ ระดับสูง ระดับปานกลาง ระดับต่ า และระดับต่ ามาก
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51