Page 41 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
P. 41
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
31
แร่และอินทรียวัตถุผสมคลุกเคล้ากัน เมื่อมีอากาศและน้ าเป็นปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยในการยังชีพ
และการเจริญเติบโตของพืช (คณะอาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2544)
ดินเป็นที่อยู่ของรากพืชซึ่งท าหน้าที่ดูดน้ าและอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของล าต้นที่อยู่
เหนือดิน รากพืช ต้องใช้พลังงานซึ่งได้จากการหายใจในการดูดน้ าและอาหารจากดิน ดังนั้น ดินที่
เหมาะสมต่อการปลูกพืชจะต้องเป็นดินที่มีการระบายน้ าและถ่ายเทอากาศดี (การแลกเปลี่ยน
ออกซิเจนระหว่างอากาศในดินและอากาศเหนือดินเกิดขึ้นได้ดี) และมีธาตุอาหารที่เพียงพอต่อการ
เจริญเติบโตของพืช นอกจากนี้ยังควรมีระดับความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและ
การละลายได้ของธาตุอาหารที่จ าเป็นต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืช ถ้าพืชมีการ
เจริญเติบโตไม่ดี ปัจจัยแรกที่ควรพิจารณาคือระบบรากของพืช ควรตรวจดูว่ารากมีการเจริญเติบโต
เป็นอย่างไร มีปัจจัยแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการท างานของรากหรือไม่
โครงสร้างของดินและความสมบูรณ์ของดินมีผลต่อการเจริญเติบโตและการท างานของรากพืชเป็น
อย่างมาก โครงสร้างดิน เป็นสมบัติที่เปลี่ยนแปลงสภาพได้ โครงสร้างดินจะเสื่อมลงในดินที่มีการปลูก
พืชมานานและมีการจัดการดินที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากปริมาณอินทรียวัตถุในดินลดลง หรือเกิดความ
แน่นทึบเนื่องจากการไถพรวนด้วยเครื่องจักรขนาดใหญ่ เครื่องมือเกษตรกรรมอื่นๆ และจากเม็ดฝนที่
ตกลงมา การวิเคราะห์ดินจะบอกได้ว่าดินนี้เหมาะสมต่อการปลูกพืชหรือไม่ ควรปรับปรุงดินอย่างไรให้
เหมาะสมกับความต้องการของพืชที่จะปลูก นอกจากนี้การวิเคราะห์ดินยังสามารถบอกถึงปริมาณธาตุ
อาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน ท าให้ทราบว่าควรต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มแก่พืชหรือไม่ และควรจะใส่ปุ๋ยอะไร ใน
ปริมาณเท่าไร (นันทรัตน์, 2558)
3.5.1 ส่วนประกอบของดินที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช (คณะอาจารย์ภาควิชา
ปฐพีวิทยา, 2544)
ดินประกอบด้วยส่วนที่เป็นของแข็ง และส่วนที่เป็นช่องว่างอย่างละ 50 เปอร์เซ็นต์
โดยปริมาตร และมีองค์ประกอบหลัก 4 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นของแข็งประกอบด้วยอนินทรียสาร 45
เปอร์เซ็นต์ และอินทรียสาร 5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เป็นช่องประกอบด้วยน้ าหรือของเหลว 25 เปอร์เซ็นต์
และอากาศ 25 เปอร์เซ็นต์ ส าหรับสัดส่วนของน้ าและอากาศนั้นจะผันแปรตามสภาพการให้น้ าหรือ
การตกของฝน และความสามารถในการระบายน้ าหรือดูดยึดน้ าของดิน เช่น หลังการให้น้ าหรือฝนตก
ใหม่ๆ ส่วนของน้ าจะมีมากกว่าส่วนของอากาศ แต่เมื่อดินแห้งส่วนของอากาศจะมีมากกว่าส่วนที่เป็น
น้ าเป็นต้น องค์ประกอบต่างๆ ของดินเหล่านี้มีคุณสมบัติหรือหน้าที่แตกต่างกันดังนี้ คือ
1) อนินทรียสาร เป็นแหล่งก าเนิดของธาตุอาหารของพืชและจุลินทรีย์ดิน และเป็น
ส่วนที่ควบคุมลักษณะเนื้อดิน
2) อินทรียสาร เป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ดิน และเป็นส่วนที่ควบคุมโครงสร้าง
ของดิน
3) น้ าให้น้ าแก่พืชและเป็นตัวท าละลายธาตุอาหารต่างๆในดินเพื่อให้รากพืชดูดไปใช้
ประโยชน์ได้
4) อากาศ ให้ออกซิเจนแก่รากพืชใช้ในการหายใจและช่วยในขบวนการย่อยสลาย
ของวัสดุอินทรีย์โดยจุลินทรีย์ดิน ดินที่มีน้ าขัง ดินที่มีปริมาณอนุภาคดินเหนียวที่มีการพองตัวมากจน