Page 47 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
P. 47
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
37
3.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.7.1 ด้านการอนุรักษ์ดินและน้ า
ไชยสิทธิ์ และอุทิศ (2538) ได้ศึกษาการจัดการพื้นที่ลาดชันเพื่อการเกษตรแบบยั่งยืน
ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งได้ด าเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 - 2537 ณ พื้นที่โครงการพัฒนา
ดอยตุง จังหวัดเชียงราย พบว่า มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า โดยใช้แถบของกระถินผสมมะแฮะ (Alley
cropping) และมาตรการจัดท าคูรับน้ าขอบเขา (Hillside ditch) สามารถลดอัตราน้ าไหลบ่าได้ 52
และ 64 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการที่ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า (ปริมาณน้ าไหลบ่า
108 และ 78 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ต่อปี เปรียบเทียบกับ 222.8 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ต่อปี) สามารถลด
ปริมาณการสูญเสียดินได้ 82 และ 84 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการที่ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดิน
และน้ า (ปริมาณการสูญเสียดิน 4.8 และ 1.5 ตันต่อไร่ต่อปี เปรียบเทียบกับ 27.4 ตันต่อไร่ต่อปี) ส่วน
ผลผลิตของข้าวไร่ที่ปลูกในพื้นที่ที่มีการจัดท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าทั้ง 2 มาตรการ ไม่แตกต่าง
กันทางสถิติกับวิธีการที่ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า ถึงแม้จะมีการสูญเสียพื้นที่ไปบางส่วนในการ
จัดท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า และจากการเปรียบเทียบมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า โดยใช้แถบ
ของกระถินผสมมะแฮะ และคูรับน้ าขอบเขา พบว่า ปริมาณน้ าไหลบ่า ปริมาณการสูญเสียดิน และ
ผลผลิตของข้าวไร่ จากทั้งสองมาตรการไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
อุทิศ และสวัสดี (2547) ได้ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าบนพื้นที่ลาด
ชันสูง พบว่ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า โดยการจัดท าขั้นบันไดไม้ผลแบบระดับ (Orchard hillside
terrace) การจัดท าคูรับน้ าขอบเขาแบบระดับ (Level hillside ditch) การจัดท าคูรับน้ าขอบเขาแบบ
ลดระดับ (Graded hillside ditch) และการจัดท าแถบหญ้าแฝก (Vetiver grass strip) สามารถลด
การสูญเสียดินได้ 81 81 68 และ 58 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการที่ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดิน
และน้ า (ปริมาณการสูญเสียดิน 220 237 778 และ 1,053 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี เปรียบเทียบกับ 2,502
กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี) และผลผลิตของข้าวโพดที่ปลูกในพื้นที่มีการจัดท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าใน
วิธีการต่างๆ จะไม่แตกต่างกันทางสถิติ ถึงแม้ว่ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่ท าการศึกษา จะท าให้มี
การสูญเสียพื้นที่ เพื่อจัดท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า 13 ถึง 17 เปอร์เซ็นต์ และจะมีผลผลิต
ข้าวโพดน้อยกว่าวิธีการที่ไม่มีการเสียพื้นที่ เพื่อการจัดท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า แต่จะมีผลผลิต
น้อยกว่าเพียง 7 ถึง 11 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น การจัดท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า จะมีผลดีต่อการใช้
ประโยชน์ที่ดินต่อเนื่องต่อไปในระยะยาว การจัดท าระบบอนุรักษ์ดินและน้ า โดยเฉพาะมาตรการวิธีกล
จะสามารถใช้พื้นที่ที่สูญเสียไปจากการท ามาตรการฯ น ามาปลูกไม้ผลอยู่บนระบบอนุรักษ์ดินและน้ าได้
อีก และการเจริญเติบโตของไม้ผล (ต้นพลับ) ด้านต่างๆ จะดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการที่ไม่มี
มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า การปลูกพืชไร่หรือพืชเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น พืชผักและไม้ผลในพื้นที่ที่ได้
จัดท ามาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า การปลูกพืชที่มีอายุสั้นและมีผลตอบแทนที่ดีและสามารถปลูกได้
หลายครั้งต่อปี ประกอบกับการปลูกไม้ผลที่สามารถให้ผลผลิตได้รวดเร็วในระยะสั้นและเป็นไม้ผลที่
สามารถดูแลรักษาได้ง่าย มีความทนทานมาปลูกเสริมในระบบอนุรักษ์ดินและน้ า จะท าให้มี
ผลตอบแทนต่อพื้นที่ที่ดีขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ศรัญณุพงศ์ (2557) ได้ศึกษาประสิทธิภาพของแถบพืชเป็นมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า
เพื่อการปลูกข้าวโพดบนพื้นที่ดอนพื้นที่จังหวัดพะเยา พบว่า การปลูกน้อยหน่าร่วมกับเศษพืช มี