Page 43 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
P. 43
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
33
ปลูกพืช จากไร่เลื่อนลอยเป็นปลูกไม้ยืนต้น ท าการเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกพืชขวางแนวลาดเทและ
ใช้วัสดุคลุมดิน
3.6 การจัดการปุ๋ย
การจัดการปุ๋ย คือ การใส่ปุ๋ยให้ตรงกับความต้องการของพืชและหรือสอดคล้องกับผล
วิเคราะห์ดิน (นันทรัตน์, 2558)
ปุ๋ย ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 หมายถึง สารอินทรีย์ อินทรีย์สังเคราะห์
อนินทรีย์ หรือจุลินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือท าขึ้นก็ตาม ส าหรับใช้เป็นธาตุอาหารพืชได้
ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี กายภาพ หรือชีวภาพในดินเพื่อบ ารุงความ
เติบโตแก่พืช ซึ่งได้แก่ ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยที่ได้จากการน าจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือ
ช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช มาใช้ในการปรับปรุงบ ารุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพหรือทาง
ชีวเคมีและให้หมายความรวมถึงหัวเชื้อจุลินทรีย์ ดังนี้
ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้หรือท ามาจากวัสดุอินทรีย์ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีท าให้ชื้น สับ
หมัก บด ร่อน สกัดหรือด้วยวิธีการอื่น และวัสดุอินทรีย์ถูกย่อยสลายสมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์ แต่ไม่ใช่
ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพ
ปุ๋ยเคมี หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์หรืออินทรีย์สังเคราะห์ รวมถึงปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิง
ผสม ปุ๋ยเชิงประกอบ และปุ๋ยอินทรีย์เคมี
ปุ๋ยเชิงเดี่ยว หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารหลักธาตุเดียว ได้แก่ ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยฟอสเฟต
หรือปุ๋ยโพแทส
ปุ๋ยเชิงผสม หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่ได้จากการผสมปุ๋ยเคมีชนิดหรือประเภทต่างๆ เข้าด้วยกัน
เพื่อให้ได้ธาตุอาหารตามต้องการ
ปุ๋ยเชิงประกอบ หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่ท าขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมีและมีธาตุอาหารหลักอย่าง
น้อยสองธาตุขึ้นไป
ปุ๋ยอินทรีย์เคมี หมายถึง ปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารรับรองแน่นอนโดยมีปริมาณอินทรียวัตถุ
ตามที่รัฐมนตรีก าหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงปูนขาว ดินมาร์ล ปูนปลาสเตอร์ ยิปซัม โดโลไมต์หรือสารอื่น และ
สารอนินทรีย์ หรืออินทรีย์ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือท าขึ้นก็ตามที่มุ่งหมายส าหรับใช้ในการ
อุตสาหกรรมหรือกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีก าหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3.6.1 รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับปุ๋ย (ปิยะ, 2538)
1) ธาตุอาหารปุ๋ย (Fertilizer Element) หมายถึง ธาตุอาหารที่มีอยู่ในปุ๋ย เช่น ธาตุ
อาหารไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K)
2) วัสดุปุ๋ย (Fertilizer Material) หมายถึง วัสดุใดๆ ที่มีธาตุอาหารที่จ าเป็นส าหรับพืช
อยู่ตั้งแต่หนึ่งธาตุขึ้นไป และสามารถน าไปใช้เป็นปุ๋ยได้ เช่น ยูเรีย เป็นวัสดุปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจน
3) ปุ๋ยผสม (Mixed fertilizer) หมายถึง วัสดุใดๆ ที่มีวัสดุปุ๋ยตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปผสม
กันและมีธาตุอาหารปุ๋ยตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไปเป็นองค์ประกอบหลักของวัสดุนั้น