Page 40 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
P. 40
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
30
(1.4) จุลินทรีย์ส่วนใหญ่สร้างสปอร์ ท าให้ทนต่อสภาพแวดล้อมและ
เก็บรักษาได้นาน
(1.5) สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ าในเวลาสั้นและได้คุณภาพ
(1.6) ช่วยให้พืชแข็งแรง ต้านทานต่อการเข้าท าลายของโรคหรือ
แมลง
(2) การผลิตและการใช้น้ าหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2
สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการย่อย
สลายวัสดุการเกษตรในลักษณะสด อวบน้ า หรือมีความชื้นสูง เพื่อผลิตน้ าหมักชีวภาพ โดยด าเนิน
กิจกรรมทั้งในสภาพที่ไม่มีอากาศและมีอากาศ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 5 สายพันธุ์
(2.1) วัสดุส าหรับผลิตน้ าหมักชีวภาพจ านวน 50 ลิตร ประกอบด้วย
- ผักผลไม้ 40 กิโลกรัม
- กากน้ าตาล 10 กิโลกรัม
- น้ าสะอาด 10 ลิตร
- สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จ านวน 1 ซอง
(2.1.1) วิธีท า โดยการละลายสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ในน้ า
10 ลิตร ผสมให้เข้ากัน 5 นาที ผสมวัสดุที่ตัด หั่นและสับพร้อมกากน้ าตาลลงในถังหมัก แล้วเท
สารละลายซุปเปอร์ พด.2 ผสมลงในถังหมักคลุกเคล้าให้ส่วนผสมเข้ากันอีกครั้ง ปิดฝาไม่ต้องสนิท คน
วัสดุหมักทุกวัน เพื่อระบายความร้อนจากการหมักและเร่งปฏิกิริยาของจุลินทรีย์ ใช้เวลาหมัก 7 ซึ่ง
พิจารณาจากการเจริญของจุลินทรีย์น้อยลง โดยคราบเชื้อที่พบในช่วงแรกจะลดลง ไม่พบฟองก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ กลิ่นแอลกอฮอล์ลดลง ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 3–4 จากนั้น
กรองเอาแต่น้ าไปใช้
(2.1.2) วิธีใช้ โดยใช้น้ าหมักชีวภาพที่ได้จากการหมักผลไม้และ
ผัก โดยก่อนใช้ผสมน้ าหมักชีวภาพเข้มข้น 1 ลิตร ต่อน้ าสะอาด 500 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบและล าต้น พืชผัก
ไม้ผล นาข้าวและถั่วเหลือง 10 วันต่อครั้ง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มการขยายตัวของใบ และ
การยืดตัวของล าต้น ท าให้ออกดอกและติดผลดีขึ้น และใช้น้ าหมักชีวภาพเข้มข้น 5 ลิตรต่อไร่ ผสมน้ าราด
ในแปลงนาข้าวในตอนตีเทือกเพื่อช่วยย่อยสลายฟางข้าว (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
3.5 การจัดการดิน
การจัดการดินเป็นการท าให้ดินเหมาะสมกับพืชทั้งก่อนและหรือหลังปลูก การจัดการอาจ
เป็นการเตรียมการก่อนปลูกหรือหลังปลูกก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ปลูก การปลูกพืชล้มลุกหรือพืช
อายุสั้น ควรใช้วิธีการเตรียมการก่อนปลูก ส่วนการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นอาจใช้การเตรียมการก่อน
ปลูกหรือการจัดการหลังปลูกก็ได้ แต่ดีที่สุดคือควรมีการจัดการทั้งก่อนและหลังปลูกตามความ
เหมาะสม (นันทรัตน์, 2558)
ดินในแง่ของการก าเนิดดิน หมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติ (Natural Body) ที่ปกคลุมผิวโลก
อยู่บางๆ เกิดจากผลการผุพังของหินและแร่และอินทรียวัตถุผสมคลุกเคล้ากัน ส่วนในแง่ของสมบัติดิน
และการผลิตพืช หมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติที่ปกคลุมผิวโลกอยู่บางๆ เกิดจากผลการผุพังของหินและ