Page 37 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
P. 37
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
27
ดอกเป็นแบบราซีม (Racemes) ซึ่งอยู่ปลายกิ่งก้านสาขา ประกอบด้วยดอกย่อย 8-20 ดอก ดอกสี
เหลือง มีการผสมข้าม ฝักเป็นทรงกระบอกยาว 3-6 เซนติเมตร กว้าง 1-2 เซนติเมตร หนึ่งฝักมี
ประมาณ 6 เมล็ด เมื่อเขย่าฝักแก่จะมีเสียงดังเนื่องจากเมล็ดกระทบกัน เมล็ดมีรูปร่างคล้ายหัวใจสี
น้ าตาลหรือด า เมล็ดหนึ่งกิโลกรัมจะมีเมล็ดจ านวน 40,000-50,000 เมล็ด หรือหนึ่งลิตรจะมีประมาณ
34,481 เมล็ด
(1.1) ลักษณะทางพืชไร่ของปอเทือง ขณะนี้มีอยู่เพียงพันธุ์เดียวที่ใช้
ประโยชน์อยู่ในประเทศไทย สามารถขึ้นได้ดีในสภาพอากาศทั่วๆ ไป ทนแล้ง สภาพพื้นที่เป็นที่ดอน
การระบายน้ าดี ในกรณีที่ปลูกเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดในรูปแบบของพืชหมุนเวียนสลับกับพืชหลัก จะ
ปลูกในช่วงต้นฤดูฝนก่อนปลูกพืชหลักประมาณ 2.0-2.5 เดือน ในระบบพืชแซมจะปลูกพืชหลัก
ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ในระบบพืชเหลื่อมฤดูจะปลูกปอเทืองในระยะใกล้หรือรอการเก็บเกี่ยว แต่ใน
กรณีที่ปลูกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์จ าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องก าหนดช่วงปลูกให้เหมาะสม มิฉะนั้นจะได้
ผลผลิตน้อยหรือไม่ได้เลย โดยทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะปลูกเดือนสิงหาคม-กันยายน ใน
ภาคกลางควรปลูกปลายฤดูฝนช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม
(1.2) การปลูกเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด ควรท าการไถพรวนดินก่อนแล้วจึง
ปลูก การปลูกที่ใช้ปฏิบัติกันมี 3 วิธี ดังนี้
(1.2.1) ปลูกแบบหว่าน เป็นวิธีที่สะดวก ประหยัดเวลาและ
แรงงาน โดยการน าเอาเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้หว่านลงไปในแปลงให้ทั่ว ในอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่
(1.2.2) ปลูกแบบโรยเป็นแถว โดยใช้เมล็ดโรยลงในแถว ระยะ
ระหว่างแถว 75 เซนติเมตร เมื่อโรยเมล็ดลงในแถวแล้วกลบเมล็ดด้วยดินบางๆ ใช้อัตราเมล็ด 3-5
กิโลกรัมต่อไร่ การปลูกด้วยวิธีนี้ค่อนข้างช้าและสิ้นเปลืองแรงงานกว่าวิธีแรก แต่ได้ปอเทืองที่ขึ้นเป็น
แถวอย่างมีระเบียบ
(1.2.3) ปลูกแบบหยอดเป็นหลุม วิธีนี้ล่าช้าและไม่สะดวก
ในทางปฏิบัติ อีกทั้งสิ้นเปลืองแรงงาน ไม่เป็นที่นิยม ใช้ในกรณีที่มีเมล็ดพันธุ์จ ากัดมาก ใช้ระยะปลูก
50x100 เซนติเมตร หยอดเมล็ด 2-3 เมล็ดต่อหลุม ใช้อัตราเมล็ด 1-3 กิโลกรัมต่อไร่
การปลูกเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด นิยมปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในสภาพพื้นที่
ดอน โดยปลูกในรูปแบบของพืชหมุนเวียน โดยหว่านหรือโรยเมล็ด ก่อนการปลูกพืชหลัก เช่น ข้าวโพด
มันส าปะหลัง อ้อย เป็นต้น อย่างน้อย 2.0-2.5 เดือน แล้วไถกลบปอเทืองที่อายุประมาณ 50-60 วัน
ในขณะที่ดินยังมีความชื้นแล้วทิ้งไว้ 7-10 วัน ก่อนปลูกพืชหลัก หรืออาจปลูกในรูปแบบของพืชแซม
โดยปลูกระหว่างแถวพืชหลัก ปลูกหลังจากพืชหลักประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือในรูปแบบการปลูกพืช
เหลื่อมฤดู โดยปลูกปอเทืองเป็นพืชที่สอง ระหว่างแถวของพืชหลักในระหว่างที่พืชหลักยังไม่ได้เก็บ
เกี่ยว แต่ใกล้ระยะเวลาหรือรอเก็บเกี่ยว เพื่อเป็นการประหยัดเวลาต่อเนื่องระหว่างการปลูกปอเทือง
เพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดกับพืชหลัก สามารถปลูกพืชหลักในเวลาถัดไปได้ทันฤดู ในขณะดินมีความชื้นอยู่
และปอเทืองจะเป็นพี่เลี้ยงให้กับพืชหลักที่ปลูกในระยะแรกเริ่ม ปอเทืองให้น้ าหนักสดประมาณ 1.5-
3.0 ตันต่อไร่ ให้ธาตุไนโตรเจนประมาณ 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ เทียบกับปุ๋ยยูเรียและแอมโมเนียม
ซัลเฟตได้ประมาณ 23-48 และ 47-95 กิโลกรัม หรือมีเปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ