Page 32 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        22







                                            2.1.6) ทางระบายน้ า (Waterway) ทางระบายน้ าเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้น
                       เพื่อรับน้ าจากพื้นที่ต่างๆ ซึ่งถูกเบนมาเพื่อให้ไหลไปยังแหล่งที่ต้องการ เช่น อ่างเก็บน้ า ทุ่งหญ้าเลี้ยง
                       สัตว์ และแหล่งน้ าธรรมชาติ เป็นต้น ทางระบายน้ าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (กรมพัฒนาที่ดิน, 2544)
                       คือ

                                                  (1) Mechanical Waterways เป็นทางระบายน้ าที่สร้างขึ้นด้วยวัสดุ
                       ถาวร เช่น สร้างด้วยอิฐ หิน และคอนกรีต
                                                  (2) Vagetated Waterways เป็นทางระบายน้ าที่สร้างขึ้นด้วยการปู
                       แต่งพื้นร่องน้ าด้วยหญ้าหรือพืชชนิดอื่นๆ

                                       2.2) มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าโดยวิธีพืช (Vegetative Measures) คือ วิธีการ
                       อนุรักษ์ดินและน้ า โดยวิธีทางการพืชโดยการปลูกพืชหรือใช้ส่วนใดๆ ของพืชท าให้เป็นแถบหรือเป็น
                       แนว หรือปกคลุมผิวดินหรืออื่นๆ เพื่อป้องกันเม็ดฝนมิให้กระทบผิวดินโดยตรง และลดการชะล้าง
                       ผิวหน้าดิน เพิ่มอินทรียวัตถุในดินและปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพ ช่วยควบคุมวัชพืช และช่วย

                       ปรับสภาพแวดล้อมบริเวณที่ปลูกพืชให้เหมาะสม มาตรการที่นิยมใช้ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2544) ได้แก่
                                            2.2.1)  การปลูกพืชตามแนวระดับ (Contour  Cultivation)  เป็นการไถ
                       พรวนและปลูกพืชตามแนวระดับเป็นการไถพรวน หว่าน ปลูก และเก็บเกี่ยวพืชไปตามแนวระดับขวาง

                       ความลาดเทของพื้นที่ เพื่อเพิ่มการซาบซึมน้ าของดิน และรักษาความชุ่มชื้นในดิน  และเพื่อควบคุม
                       การไหลบ่าของน้ าและการชะล้างพังทลายของดิน  ประสิทธิภาพของการปลูกพืชตามแนวระดับนี้
                       ขึ้นอยู่กับลักษณะของดิน ความลาดเท ลมฟ้าอากาศ และลักษณะการใช้ที่ดิน โดยทั่วไปแล้ว การปลูก
                       พืชตามแนวระดับที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดนั้น ควรปฏิบัติบนพื้นที่ที่มีความลาดเทอยู่ในระหว่างร้อยละ
                       2-7 และระยะของความลาดเทไม่ควรเกิน 100 เมตร ประโยชน์ของการปลูกพืชในแนวระดับ ช่วย

                       สงวนดินจากการเซาะกร่อนประมาณ 0.12–16.72 ตันต่อไร่ต่อปี สงวนน้ าไว้ในดินประมาณ 12.3–
                       482.6 มิลลิเมตรต่อปี ผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ป้องกันกล้าพืชและเมล็ดพืชมิให้ถูกน้ าชะ
                       พาไป

                                            2.2.2) การปลูกพืชสลับ (Strip  Cropping)  หมายถึง การปลูกพืชที่ให้การ
                       คุ้มกันดินสลับกับพืชที่ไม่ให้การคุ้มกันดิน หลักการปลูกพืชเป็นแถบสลับ คือ เมื่อฝนตกลงมาบนพื้นที่
                       ที่มีความลาดเทก็จะเกิดน้ าไหลบ่าบนผิวดินที่ไม่ได้คุ้มกันดิน อัตราการไหลของน้ าที่ไหลบ่าจะเป็นไป
                       ตามธรรมชาติ แต่เมื่อน้ าที่ไหลบ่ามาถึงแถบที่ปลูกพืชคุ้มกันดินจะท าให้อัตราการไหลของน้ าที่ผิวดิน

                       ลดลง การปลูกพืชสลับเป็นการลดอัตราการเกิด sheet  erosion  และการป้องกันการเกิดการ
                       พังทลายที่เป็นร่องน้ าขนาดใหญ่ การปลูกพืชเป็นแถบสลับ มีอยู่ 4 ชนิด ดังต่อไปนี้

                                                  (1) Field Strip Cropping ได้แก่ การปลูกพืชเป็นแถบสลับที่มีความ
                       กว้างของแถบสม่ าเสมอกัน โดยวางให้แถบของพืชขวางกับทิศทางของความลาดเทโดยไม่ค านึงถึง

                       ระดับของพื้นที่ การปลูกพืชแบบนี้นิยมปฏิบัติบนพื้นที่ที่มีความลาดเทไม่สม่ าเสมอ ในบางแห่งการ
                       ปลูกพืชสลับวิธีนี้ ร่วมกับ wind strip cropping จะให้ผลดีในการควบคุมการพังทลายของดิน
                                                    (2) Contour  Strip  Cropping  ได้แก่ การปลูกพืชเป็นแถบสลับไป
                       บนแนวระดับ และวางแถบของพืชตั้งฉากหรือขวางกับทิศทางของความลาดเท โดยปลูกพืชหมุนเวียน

                       ประเภทคุ้มกันดิน
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37