Page 34 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
P. 34
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
24
2.3) มาตรการผสมผสาน หรือมาตรการวิธีกลร่วมกับวิธีพืช มาตรการที่นิยมมาก
ที่สุด คือ การปลูกหญ้าแฝกเป็นแถบตามแนวคันดิน ดังนี้
2.3.1) การสร้างคันคูรับน้ า (Hillside-Ditch) ร่วมกับการปลูกหญ้าแฝก
(Vetiver hedgerow) ในพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 35% .จะสร้างคันคูรับน้ าขอบเขาหรือคันดิน
แบบ 6 จากนั้นจะมีการปลูกหญ้าแฝกเป็นแถบบริเวณปลายสันคันดิน ซึ่งเป็นมาตรการร่วมกันวิธีกล
และวิธีพืช (แถบหญ้าแฝก) เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันชะล้างการพังทลายของดิน
คันคูรับน้ าขอบเขาจะเป็นตัวชะลอการไหลของน้ าและเบนน้ าออกจากแปลง ในส่วนของแถบหญ้าแฝก
จะช่วยในการยึดดินในบริเวณปลายของคันดินไว้ไม่ให้ไหลลงไป เมื่อมีฝนตกลงมา และแถบหญ้าแฝก
ยังช่วยในการรักษาความชุ่มชื้นในดินได้ดีอีกด้วย
2.2.3) การปลูกหญ้าแฝกตามไหล่ทางช่วยป้องกันดินขอบทางล าเลียง
พังทลายการปลูกเป็นแถวปลูกห่างจากขอบไหล่ทางประมาณ 50-100 เซนติเมตร และปลูกตามแนว
ระดับขวางความลาดเทจ านวนแถวขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์และความยาวของความลาดเทใช้ระยะห่างแต่
ละแถวตามแนวดิ่ง 50 เซนติเมตร วิธีการปลูกแบบรากเปลือยเป็นแถวแนวเดี่ยวระยะต้น 5-10
เซนติเมตร ปลูกหญ้าแฝกช่วงวันที่ 30 พฤษภาคมถึง 30 กรกฎาคม เป็นช่วงที่ปลูกหญ้าแฝกเหมาะสม
ที่สุด (วิชัย และคณะ, 2542) อย่างไรก็ตามการปลูกหญ้าแฝกยังช่วยการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินค่า
ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) โดยก่อนปลูกความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 4.5-5.7 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
เป็น 4.5-5.8 ปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นจากระหว่างร้อยละ 0.21-0.51 เป็นร้อยละ 0.76-1.01
นอกจากนี้ปริมาณธาตุฟอสฟอรัส โพแทสเซียมก่อนปลูกหญ้าแฝกอยู่ระหว่าง 4.00-8.67, 100.00-
166.67 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลังปลูกเพิ่มขึ้นเป็น 6.67-12.67, 506.66-582.67 มิลลิกรัมต่อ
กิโลกรัมตามล าดับ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2555)
(1) สายพันธุ์หญ้าแฝก
(1.1) พันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม (Vetiveria zizanioides) เป็นสายพันธุ์ที่มี
ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี และค่อนข้างเร็ว บางพันธุ์น าเข้ามาจาก
ต่างประเทศ พันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎรธานี ก าแพงเพชร 2 ศรีลังกา และสงขลา 3
(1.2) พันธุ์หญ้าแฝกดอน (Vetiveria nemoralis) เป็นสายพันธุ์ที่พบ
ในที่ค่อนข้างแห้งหรือดินที่ระบายน้ าดี สามารถขึ้นได้ดีที่แดดจัดและที่ร่มร าไร ใบปรกลงคล้ายกอตระ
ไคร้ไม่ตั้งมากเหมือนหญ้าแฝกลุ่ม สายพันธุ์หญ้าดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด
ก าแพงเพชร 1 นครสวรรค์ และเลย
(2) การใช้ประโยชน์ของหญ้าแฝกในการพัฒนาที่ดินแบ่งได้ 3 ประเภท
(2.1) การใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ า ในพื้นที่ลาด
ชันหรือบนพื้นที่สูงมักมีปัญหาการชะล้างพังทลายดิน ซึ่งมีผลกระทบต่อทรัพยากรที่ดินและ
สภาพแวดล้อมท าให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตพืชลดลง แหล่งน้ าตื้นเขินหญ้าแฝกช่วย
ป้องกันปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่งแนวทางการน าระบบหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ได้ดังนี้
(2.1.1) การปลูกหญ้าแฝกอนุรักษ์ดินและน้ าในพื้นที่การเกษตร ใน
พื้นที่ลาดชันปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวขวางความลาดเทของพื้นที่เป็นช่วงๆ ภายในแถวหญ้าแฝกจะปลูก
ชิดติดกันเป็นก าแพงเพื่อช่วยชะลอความเร็วของน้ าไหลบ่าหน้าดินเก็บกักตะกอนดินไม่ให้ไหลลงสู่