Page 97 - ผลสัมฤทธิ์ของการบูรณาการงานในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำเข็ก อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 97

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        66







                              3.4.3  การอนุรักษ์ดินไว้ด้วยวิธีการต่างๆตามประโยชน์ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2544)  แบ่ง
                       ออกเป็น
                              1) การป้องกันการพังทลายและสูญเสียหน้าดินท าได้หลายวิธีคือ

                                      (1) การเพาะปลูกพืชอย่างถูกวิธีได้แก่
                                             (1.1)  การใช้วัสดุคลุมดิน (Mulching)  คือการใช้พวกเศษซากพืชพลาสติก
                       มูลสัตว์ฯลฯคลุมหน้าดินไว้เพื่อป้องกันการชะล้างเพิ่มอินทรียวัตถุและรักษาความชื้นในดินไว้
                                             (1.2) การปลูกพืชคลุมดิน (Cover  cropping)  เป็นการปลูกพืชที่มีรากมา

                       กรากลึกใบแผ่แน่นและโตเร็วเช่นหญ้าแฝกยึดหน้าดินไว้เพื่อป้องกันการชะล้างและช่วยรักษาความชื้น
                       นอกจากนี้ซากพืชยังท าให้ดินร่วนซุยและอุ้มน้ าได้ดีขึ้นอีกด้วย
                                             (1.3) การปลูกพืชสลับเป็นแถบ (Strip cropping) คือการปลูกพืชต่างชนิด
                       กันสลับเป็นแถบตามที่ราบหรือขวางความลาดเทของพื้นที่ที่ลาดชันประมาณร้อยละ 2-12 เพื่อลด

                       ความรุนแรงของการไหลของน้ า
                                             (1.4) การปลูกพืชตามแนวระดับ (Contour cropping) ได้แก่การปลูกพืช
                       ขวางความลาดเทของพื้นที่ตามเส้นแนวระดับหรือเส้นแนวขอบเนิน (contour line) เพื่อจะลดความ

                       รุนแรงของการไหลของน้ าในพื้นที่ซึ่งมีความลาดเทร้อยละ3-8
                                             (1.5) การปลูกพืชตามขั้นบันได (Terracing) คือการท าดินเป็นขั้นขวางตาม
                       แนวลาดชันเพื่อเก็บกักน้ าลดความเร็วของน้ าและกักแร่ธาตุที่ถูกชะล้างไว้ให้กับดิน
                                             (1.6)  การปลูกพืชบังลม (Windbreak)  เป็นการปลูกพืชที่มีกิ่งใบแน่นไม่
                       โค่นล้มง่ายขวางทางลมไว้เพื่อลดความแรงของลมและลดการระเหยของน้ าที่ผิวหน้าดิน

                                      (2) การควบคุมการไหลของน้ าในแหล่งน้ าท าได้หลายวิธีเช่น
                                             (2.1)  การสร้างเขื่อนและฝายเพื่อเก็บกักและลดอัตราการไหล    ของน้ า
                                             (2.2)  การสร้างก าแพงกั้นตามชายฝั่งน้ าเพื่อป้องกันตลิ่งพังทลาย

                                             (2.3)  การสร้างแนวก าแพงหรือปักหลักไม้ (หลักรอ) เพื่อบังคับทิศทางการ
                       ไหลของน้ าโดยไม่ก่อปัญหาการพังทลายของดินตามชายฝั่ง
                                      (3) ไถพรวนเชิงอนุรักษ์ (Conservation tillage) เพื่อลดการสูญเสียดินและน้ า
                                             (3.1)  ไถดินไม่ให้แตกร่วนมากเกินไป

                                             (3.2)  ไถดินให้เป็นร่องลึกมากกว่าไถให้เป็นร่องกว้าง
                                             (3.3)  ไถโดยปล่อยให้เศษซากพืชตกค้างตามผิวและใต้ดิน
                                             (3.4)  ไถดินน้อยๆครั้งเพื่อลดการรบกวนเดิม
                              2) การป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารพืชและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                                      (1) ป้องกันการเผาป่าหรือการเกิดไฟไหม้ป่าเพราะความร้อนของไฟจะท าลายฮิวมัส
                       (Humus) ซึ่งเป็นอินทรีย์สารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุอาหารพืช
                                      (2) ไม่ท าไร่เลื่อนลอยเพราะจะขาดการจัดการดินจึงท าให้หน้าดินเสื่อมโทรม
                                      (3) การปลูกพืชหมุนเวียน (Crop rotation) เป็นการปลูกพืชสองชนิดหรือมากกว่า

                       ในพื้นที่เดียวกันโดยปลูกไม่พร้อมกันเพื่อให้ธาตุอาหารพืชที่อยู่ในความลึกระดับต่างๆถูกพืชน าไปใช้
                       และควรเลือกปลูกพืชตระกูลถั่วด้วยเพราะถั่วจะช่วยเพิ่มแร่ธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102