Page 94 - ผลสัมฤทธิ์ของการบูรณาการงานในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำเข็ก อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 94

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        63







                                      การปฏิบัติรักษาในบริเวณนี้ก็คือควรท าการปลูกพืชในแนวระดับ เพื่อป้องกันการ
                       สูญเสียหน้าดิน มีการปลูกพืชคลุมดินในระหว่างแถวไม้หลักเพื่อคลุมดินเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุและ
                       เพิ่มแร่ธาตุอาหารบางชนิดแก่พืชหลักได้อีกด้วย


                       3.4 การอนุรักษ์ดินและน้ า

                              การอนุรักษ์ดินและน้ า (Soil and Water Conservation) หมายถึงการกระท าใดๆที่มุ่ง
                       ให้เกิดการระวังองกันรักษาดินและที่ดินไมให้เกิดความเสื่อมโทรมสูญเสียรวมถึงการปรับปรุงความ

                       อุดมสมบูรณของดินและการรักษาน้ าในดินหรือบนผิวดินให้คงอยู่เพื่อรักษาดุลธรรมชาติให้
                       เหมาะสม (กรมพัฒนาที่ดิน, 2544)
                              3.4.1 ประโยชน์ของการอนุรักษ์ดินและน้ า ได้แก่
                                    1) ลดการชะล้างพังทลายดินเพื่อให้อัตราการสูญเสียดินใกล้เคียงกับอัตราการเกิดดิน

                       และพยายามรักษาให้อยู่ในสภาพที่สมดุล
                                    2) รักษาปริมาณธาตุอาหารและระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินรวมถึงการป้องกัน
                       การสูญเสียและการเพิ่มส่วนที่สูญเสียไปโดยวิธีการหนึ่ง

                                    3) รักษาระดับอินทรียวัตถุในดินและควบคุมอัตราการสลายตัวเพิ่มซากพืชและสัตว์
                       ให้แก่ดิน
                                    4) รักษาสมบัติทางกายภาพและเคมีของดินให้มีสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
                       ของพืชรวมถึงการปรับปรุงบ ารุงดินให้ดินมีสมบัติที่ดีขึ้น
                                    5) รักษาน้ าและความชื้นในดินรวมถึงการใช้ทรัพยากรน้ าในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์

                       สูงสุด
                              3.4.2  วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ าที่ส าคัญ ในทางการเกษตรประกอบด้วย2 มาตรการได้แก่
                       (กรมพัฒนาที่ดิน, 2544)

                                    1) มาตรการวิธีกล (Mechanical measures) ที่ใช้เป็นหลักได้แก่
                                       (1)  การสร้างคันดินกั้นน้ า (Terrace)    กั้นน้ าหรือขวางความลาดเขาของพื้นที่มี
                       ประโยชน์ลดปริมาณการสูญเสียเนื้อดินป้องกันการเกิดร่องน้ าเป็นการสงวนน้ าไว้ใช้ในดินในบริเวณที่
                       ขาดแคลนน้ าและท าให้การใช้ดินเป็นไปอย่างกว้างขวางปราศจากอันตรายจากการสูญเสียดินโดยชนิด

                       ของการท าคันดินคือ
                                             (1.1)  คันดินบันไดคือขั้นบันไดซึ่งสร้างขึ้นโดยการท าคันดินหรือหินไปตาม
                       แนวระดับท าเป็นขั้นๆแคบๆสร้างเมื่อความลาดเทเกินกว่าร้อยละ15
                                             (1.2) คันดินฐานกว้าง (Broadbase  terrace)  เป็นคันดินที่มีลักษณะ

                       คล้ายคลึงกับคันดินขั้นบันไดแต่มีความกว้างของขั้นบันไดกว้างกว่าโดยปกติสร้างขึ้นในบริเวณที่มี
                       ความลาดชันน้อยหรือที่เกือบราบ
                                       (2) การสร้างคูรับน้ ารอบเขา (Hillside  ditch)    คือคูระบายน้ าที่สร้างไว้ในสวน
                       ผลไม้โดยระยะห่างระหว่างคูรับน้ า 2 คูขึ้นกับความเหมาะสมทางด้านการเพาะปลูกซึ่งได้แก่ขนาดทรง

                       พุ่มและระยะแถวของไม้ผลรวมทั้งความต้องการในการใช้คูรับน้ าชายเขาเป็นพื้นที่ล าเลียงขนส่งหรือ
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99