Page 100 - ผลสัมฤทธิ์ของการบูรณาการงานในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำเข็ก อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 100

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        69







                                             (1.2) การปลูกหญ้าแฝกอนุรักษ์ดินและน้ านอกพื้นที่การเกษตรโดยปลูก
                       เป็นแถวเดี่ยวขวางความลาดชันของพื้นที่เป็นช่วงๆเพื่อเป็นก าแพงชะลอความเร็วและดักตะกอนดิน
                       ไม่ให้ไหลลงสู่พื้นที่ตอนล่างพื้นที่เหล่านี้ได้แก่พื้นที่ป่าไม้พื้นที่ปลูกป่าล าธารคลองแม่น้ าอ่างเก็บน้ าและ

                       ถนน
                                      (2) การใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในการปรับปรุงบ ารุงดินการปลูกหญ้าแฝกมีบทบาท
                       ส าคัญในการปรับปรุงบ ารุงดินทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งทั้งใบและรากหญ้าแฝกเมื่อ
                       ย่อยสลายสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองแก่ดินรากหญ้าแฝกช่วยให้ดินร่วนซุย

                       เนื่องจากรากหญ้าแฝกหยั่งลึกลงดินมีการดูดธาตุอาหารจากดินล่างขึ้นมาหมุนเวียนและมีจุลินทรีย์ที่
                       เป็นประโยชน์หลายชนิดอาศัยบริเวณรากหญ้าแฝกเมื่อรากหญ้าแฝกตายลงเกิดช่องว่างส าหรับน้ า
                       และอากาศถ่ายเทได้สะดวกเป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือช่วยให้ปุ๋ยที่ใส่ลงดิน
                       ซึมลงดินได้มากขึ้น

                                      (3)  การใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในการรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม คุณสมบัติหญ้าแฝก
                       ที่มีล าต้นตั้งตรงระบบรากลึก ชอนไชในดินได้ดีปรับตัวและเจริญเติบโตในสภาพดินและสภาพอากาศ
                       ในช่วงกว้างสามารถช่วยดูดซับสารต่างๆ ได้ดี


                       3.5 การปรับปรุงบ ารุงดิน
                              การปรับปรุงบ ารุงดินที่มีความสามารถในการให้ผลผลิตพืชสูงจะต้องมีการปฏิบัติพรอมๆกัน
                       ไปกับการอนุรักษ์ดินหรือควบคุมการสูญเสียเนื้อดินออกไปจากแปลงปลูก หลักการในประเด็นนี้นับว่า
                       เป็นมาตรการที่ส าคัญมาก ในทางปฏิบัติวิธีการปรับปรุงบ ารุงดินให้ดีขึ้นพรอมๆ กันไปกับการป้องกัน

                       เสื่อมโทรมของดิน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548)
                              3.5.1 ความอุดมสมบูรณ์ของดินส าหรับเพาะปลูกพืช
                                    1) ความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                                      ความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นสภาพความเหมาะสมของดินที่จะใช้ปลูกพืชชนิดหนึ่ง
                       ชนิดใดให้เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดี พืชต่างชนิดกันอาจจะต้องการความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                       ต่างกัน ความอุดมสมบูรณ์ของดินถูกก าหนดจากเกณฑ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้
                                      (1) ความสามารถที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่จ าเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชได้

                       สูง
                                      (2) คุณสมบัติทางกายภาพต่าง ๆ ของดินเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
                                      (3) การมีหรือไม่มีสารประกอบอินทรีย์และอนินทรีย์ที่จะเป็นพิษต่อพืช
                                      ส าหรับธาตุที่มีความส าคัญต่อกระบวนการทางชีววิทยาของพืชมีอยู่ทั้งหมด 13 ธาตุ

                       โดยมีที่มาต่างๆ กัน 3 แหล่งคือ จากอากาศ น้ า และองค์ประกอบของดินเอง ในจ านวนนี้จะเป็นธาตุ
                       อาหารที่จ าเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง (Essential  element)  นั่นคือจ าเป็นต่อการ
                       เจริญเติบโตและพัฒนาการของพืช พืชต้องการใช้ธาตุนั้นในลักษณะเฉพาะเจาะจง ธาตุอื่นใช้แทน
                       ไม่ได้ เช่น เป็นธาตุมีหน้าที่เฉพาะอย่างในกระบวนการทางสรีรวิทยา มีอยู่เพียง 16 ธาตุ คือ คาร์บอน

                       ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ก ามะถัน เหล็ก
                       แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105