Page 101 - ผลสัมฤทธิ์ของการบูรณาการงานในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำเข็ก อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 101

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        70









                                    2) การประเมินความสมบูรณ์ของดิน

                                       การประเมินความสมบูรณ์ของดินว่ามีปริมาณธาตุอาหารพืชมากน้อยแค่ไหน
                       สามารถท าได้หลายวิธีแล้วแต่ความสะดวกเหมาะสม เช่น
                                      (1) การสังเกตลักษณะอาการที่พืชแสดงออก (Symptom of plant) การประเมิน
                       โดยวิธีนี้กระท าได้ง่ายแต่ต้องอาศัยความรู้และความช านาญในการที่จะแยกแยะลักษณะที่ของพืชที่

                       ปรากฏจากการขาด หรือได้รับธาตุอาหารต่างๆ มากจนเกินไป
                                      (2) การวิเคราะห์พืช (Plant analysis) เพื่อให้ทราบว่าพืชมีธาตุอาหารชนิดไหนอยู่
                       ในปริมาณมากน้อยเท่าใด ปริมาณธาตุอาหารในพืชจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับปริมาณที่มีอยู่ใน
                       ดิน การวิเคราะห์ธาตุอาหารในพืชอาจท าได้หลายวิธี เช่นวิเคราะห์เนื้อเยื่อพืช (Tissue test) เป็นการ

                       ทดสอบอย่างง่ายจากเพียงบางส่วนของพืช เช่นการคั้นเอาน้ าในเนื้อเยื่อของพืชมาผสมกับน้ ายาท าให้
                       เกิดสีต่างๆ แล้วเปรียบเทียบกับสีมาตรฐานที่ระบุถึงระดับของธาตุอาหารนั้นๆ หรืออาจใช้วิธีการ
                       วิเคราะห์พืชทั้งหมด (Total analysis) โดยการน าเอาส่วนหนึ่งส่วนใดหรือพืชทั้งต้นที่มีขนาดเล็กไป

                       วิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารในห้องปฏิบัติการ
                                      (3) การทดสอบทางชีวภาพ (Biological test) คือการเปรียบเทียบการเจริญเติบโต
                       ของพืชที่ได้รับปริมาณธาตุอาหารต่างๆ กัน ในแปลงทดลอง หรือเรือนกระจกทดลอง
                                      (4) การวิเคราะห์ดิน (Soil analysis) โดยการเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์หาปริมาณ
                       ธาตุอาหารในห้องปฏิบัติการ

                              3.5.2 การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                                      การปลูกพืชซ้ าในดินเดิมอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการปรับปรุงบ ารุงดิน จะท าให้ดิน
                       สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไปอย่างรวดเร็ว ดินจะแข็ง ไม่ร่วนซุย ดูดซับน้ าและธาตุอาหารได้น้อยลง

                       และที่ส าคัญคือจะท าให้การใช้ปุ๋ยเคมีไม่ได้รับผลดีเท่าที่ควร การใช้ปุ๋ยเคมีที่ได้ผล จะต้องใช้ควบคู่ไป
                       กับการปรับปรุงบ ารุงดิน หากใช้ปุ๋ยเคมีแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการปรับปรุงบ ารุงดินติดต่อกันเป็น
                       เวลานาน จะท าให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ท าให้ผลผลิตลดลง ต้องใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้น เป็นการเพิ่ม
                       ต้นทุนการผลิตให้สูงขึ้น การปรับปรุงบ ารุงดินท าได้โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ซึ่งจะท าให้ได้รับ

                       ประโยชน์ดังนี้ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2533)
                                      1) ท าให้ดินจับตัวกันเป็นก้อนเล็กๆ ร่วนซุยไถพรวนง่าย ระบายน้ าและอากาศได้ดี
                       รากพืชก็จะเจริญเติบโตได้ดี
                                      2) ท าให้ดินทนทานต่อการชะล้างดีขึ้น

                                      3) ท าให้ดินอุ้มน้ าได้มากขึ้นและลดการระเหยน้ าออกจากดิน
                                      4) ท าให้ดินดูดซับธาตุอาหารพืชไว้เป็นประโยชน์แก่พืชได้มากขึ้น
                                      5) อินทรียวัตถุจะสลายตัวปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืช
                                      6) ท าให้ธาตุอาหารพืชในดินละลายออกมาเป็นประโยชน์มากขึ้น

                                      7) เพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงไปในดินให้เป็นประโยชน์แก่พืชมากขึ้น และ
                       ลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้ในระยะยาว
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106