Page 93 - ผลสัมฤทธิ์ของการบูรณาการงานในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำเข็ก อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 93

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        62







                       อยู่ใกล้ผิวดิน หรือเป็นดินที่มีวัตถุที่ไม่ยอมให้น้ าซึมผ่านได้อยู่ใกล้กับผิวดิน เมื่อท าการปรับระดับพื้น
                       ที่ดิน ปริมาณของผลผลิตของพืชจะลดลงอย่างมาก และเพิ่มอุปสรรคในการระบายน้ า หรือเพิ่ม
                       ค่าใช้จ่ายในการผลิตมากขึ้น

                                              1.4.3)  ต าแหน่งของพื้นที่ พิจารณาถึงเมื่อที่ดินแยกเป็นที่สูง และที่ต่ าซึ่ง
                       จะท าให้เพิ่มค่าใช้จ่ายในการพัฒนาที่ดินหรือในการปฏิบัติงาน ระดับของความเหมาะสมของที่ดินที่
                       เป็นหย่อมๆ เช่นนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการให้น้ าชลประทาน และการใช้เครื่องจักรกลใน   ไร่นา
                                              1.4.4)  ขนาดและรูปร่างของที่ดิน ขนาด รูปร่าง และที่ตั้งของที่ดินต้อง

                       พิจารณาในด้านความสามารถที่จะท าพื้นที่ดินให้เป็นไร่นาขนาดใหญ่ได้ ในด้านประสิทธิภาพของการ
                       ให้การชลประทาน และผลตอบแทนต้องได้รับในอัตราที่เหมาะสมกับที่ดินชั้นนั้นๆ นอกจากนี้ยังใช้
                       พิจารณาถึงชนิดของการชลประทานที่จะใช้ด้วย
                                              1.4.5)  สิ่งปกคลุมดินพืชพรรณหรือก้อนกรวดก้อนหินต่างๆ ที่ปกคลุมอยู่

                       บนพื้นผิวดิน ต้องน าเอาออกก่อนการท าเขตกรรม ซึ่งท าให้เสียค่าใช้จ่ายในการพัฒนาที่ดิน แต่ไม่เอา
                       สิ่งปกคลุมดินเหล่านี้ออกไปเสียก่อนการท าเขตกรรม จะท าให้ความสามารถในการผลิตของดินลดลง
                       หรือเพิ่มค่าใช้จ่ายในการผลิต สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีผลต่อการจัดแบ่งชั้นของที่ดิน

                                      1.5)  ปัจจัยของการระบายน้ า การระบายน้ าที่มากเกินไปออกจากพื้นที่ดินท าได้ 2
                       วิธี คือ
                                                1.5.1)  การระบายน้ าบนผิวดิน ได้แก่ การระบายน้ าออกจากพื้นที่ตาม
                       พื้นผิวดิน โดยน้ าหลากแผ่ซ่าน (sheet) และทางธารน้ า (stream flow)
                                                1.5.2) การระบายน้ าภายในหรือใต้ผิวดิน เป็นการระบายน้ าที่มีมากเกิน

                       พอภายในดิน โดยการไหลลงสู่ส่วนกลางของหน้าตัดดินหรือไหลซึมทางด้านข้าง ผ่านชั้นดิน ดินชั้นล่าง
                       และชั้นหินใต้ดิน
                              2) แผนการใช้ที่ดินในเขตที่อาศัยน้ าฝน ซึ่งแบ่งเป็นเขตย่อยได้ดังนี้ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2535)

                                      2.1) เขตท านา มีเนื้อที่ 10,581,939 ไร่หรือร้อยละ 3.30 ของเนื้อที่ประเทศบริเวณ
                       นี้ส่วนใหญ่เป็นบริเวณที่ราบลุ่ม ส่วนใหญ่ใช้พื้นที่ท านาแต่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องน้ าเนื่องจากจ าเป็นต้อง
                       อาศัยน้ าฝนซึ่งมีความเสี่ยงมากบางพื้นที่ท าการปลูกแล้วฝนมาไม่ต้องตามฤดูกาลก็อาจต้องท าการปลูก
                       ใหม่หรือบางบริเวณมีน้ าท่วมขังสูงก็ท าให้ข้าวเสียหายได้

                                      2.2)  เขตปลูกพืชไร่มีเนื้อที่ 85,716,928 ไร่ หรือร้อยละ 26.73 ของเนื้อที่ประเทศ
                       ได้แก่ บริเวณที่ดอน ดินตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยได้ดี ถ้ามีการแพร่กระจายของฝนดีอาจปลูกพืชไร่ได้
                       มากกว่า 2 ครั้ง พืชที่ปลูกได้แก่ ฝ้าย ข้าวโพด อ้อย มันส าปะหลัง นอกจากนี้ยังสามารถปลูกไม้ผล
                       เช่น มะม่วง มะขามหวาน มะขามเปรี้ยวได้

                                      2.3)  เขตปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น มีเนื้อที่ 4,471,389 ไร่ หรือร้อยละ 1.39 ของเนื้อที่
                       ประเทศ ได้แก่บริเวณที่ดอนที่มีความลาดชันเป็นส่วนใหญ่เป็นต้นค่อนข้างลึก จะพบเศษหิน กรวด
                       หรือลูกรังระหว่าง 50 เซนติเมตรถึง 1 เมตร แนะน าให้ใช้พื้นที่นี้น ามาปลูกไม้ผล ซึ่งการปลูกจะต้อง
                       ท าการขุดหลุมให้กว้างและลึกมีการรองก้นหลุมด้วยอินทรียวัตถุ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หินฟอสเฟต และ

                       เอาหน้าดินกลบลงก้นหลุม ส่วนดินล่างเอากลบไว้หน้าดินสลับกัน นอกจากนี้ควรมีแหล่งน้ าที่สามารถ
                       ให้น้ าแก่ไม้ผลได้ตลอดด้วย
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98