Page 98 - ผลสัมฤทธิ์ของการบูรณาการงานในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำเข็ก อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 98

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        67







                                      (4)  ไถกลบซากพืชรวมทั้งการท าปุ๋ยพืชสดซึ่งเป็นการปลูกพืชตระกูลถั่วแล้วไถกลบ
                       ลงไปในดินในช่วงที่ก าลังออกดอกเพื่อเพิ่มธาตุอาหารพืชและอินทรียวัตถุแก่ดิน
                                      (5) ใส่ปุ๋ยปุ๋ยอินทรีย์เช่นปุ๋ยหมักจะให้ผลในเชิงอนุรักษ์ดีกว่าปุ๋ยเคมี

                                      (6)  ไม่ควรปลูกพืชที่ใช้ธาตุอาหารพืชมากเกินไปหรือพืชท าลายดินพืชเหล่านี้ได้แก่
                       ข้าวโพดอ้อยมันส าปะหลังและยูคาลิปตัส
                              3)  การปรับปรุงดินได้แก่การปรับความเป็นกรดด่างเค็มหรือสภาพทางกายภาพของดินให้
                       สามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นเช่น

                                      (1) การใส่ปูนขาว (แคลเซียมไฮดรอกไซด์หรือแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์)  หรือใสปูน
                       มาร์ลเพื่อแก้ไขดินกรด
                                      (2) การใส่ยิปซัมเพื่อแก้ไขดินด่าง
                                      (3) การทดน้ าเพื่อชะล้างเกลือหรือกรดออกจากดิน

                                      (4)  การใส่แกลบเพื่อดูดซับเกลือที่จะซึมขึ้นมายังผิวดินเดิมการใส่อินทรียวัตถุเช่น
                       หญ้าฟางข้าวเถาถั่วฯลฯลงในดินเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ท าให้ดินเหนียวมีลักษณะร่วนขึ้นดินทราย
                       เกาะตัวกันได้ดีขึ้นและช่วยให้ดินด่างมีความเป็นกรดมากขึ้น

                              4) การแก้ปัญหาการขาดแคลนพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยและประกอบอาชีพ
                                      (1) เพิ่มประสิทธิภาพผลการวางแผนครอบครัว
                                      (2) เพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ที่ดินเช่นส่งเสริมให้เกษตรกรท าการเกษตรแผนใหม่
                       ซึ่งใช้พื้นที่จ ากัดแต่ได้รับผลผลิตสูงใช้แรงงานตลอดทั้งปีและมีรายได้อย่างต่อเนื่องหรือท าการเกษตร
                       ตามแนวทฤษฏีใหม่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเมื่อปี พ.ศ. 2532 เพื่อแก้ปัญหาฝน

                       แล้งความยากจนและการมีหนี้สินของเกษตรกรโดยมุ่งเน้นให้เกษตรกรใช้พื้นที่เพียง10 ถึง 15  ไร่ใน
                       อัตราส่วน30ต่อ 30 ต่อ 30 ต่อ 10 นั่นคือจัดเป็นแหล่งน้ าเพื่อการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์น้ าร้อยละ30
                       แปลงปลูกพืชยืนต้นพืชผักพืชไร่และพืชสมุนไพรร้อยละ30  นาข้าวร้อยละ30  และจัดเป็นพื้นที่บ้าน

                       เลี้ยงสัตว์โรงเรือนหรือสิ่งอ านวยความสะดวกร้อยละ10 ทฤษฏีนี้ท าให้รูปแบบในการพัฒนาเกษตรกร
                       รายย่อยของไทยชัดเจนขึ้นอันจะน าไปสู่เศรษฐกิจแบบพอเพียงและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้
                                      (3) ใช้ระบบวนเกษตรเช่นการจัดสรรพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัยและ
                       ปลูกป่าหรือไม้ยืนต้นหรือให้ใช้พื้นที่ป่าแต่ต้องช่วยรักษาต้นไม้หรือป่าไม้ไว้

                                      (4) สร้างที่อยู่อาศัยในพื้นที่จ ากัดให้รองรับประชาชนได้มากขึ้น
                                      (5)  พัฒนาพื้นที่ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้นเช่นการปรับปรุงดินเปรี้ยวให้
                       สามารถท าการเกษตรได้หรือสูบดินทรายจากแหล่งน้ าขึ้นมาถมพื้นที่เพื่อจัดสรรเป็นที่อยู่อาศัย
                              5)  การวางแผนและใช้ที่ดินอย่างเหมาะสมได้แก่การจัดท าผังเมืองและการแบ่งเขตการใช้

                       ที่ดิน  (Zoning)  ตามความเหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์เช่นแบ่งเป็นเขตที่อยู่อาศัยการศึกษา
                       เกษตรกรรมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและเขตพื้นที่ปลูกไม้ยืนต้น
                              3.4.4 วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ าด้วยหญ้าแฝก (กรมพัฒนาที่ดิน, 2557)
                                      หญ้าแฝก (Vetiver grass) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลเดียวกับข้าวโพดข้าวฟ่างอ้อย

                       พบกระจายทั่วไปตามธรรมชาติหญ้าแฝกเป็นพืชที่เจริญเป็นกอขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง50-90
                       เซนติเมตรมีระบบรากเจริญลงดินในแนวดิ่งมากกว่าด้านข้างรากหยั่งลึกลงดิน1.50-3.00เมตรบริเวณ
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103